เมนู

สองบทว่า ทิสฺวา อายตนุปฺปาทํ ได้แก่ เห็นความเกิดและความ
ดับแห่งอายตนะทั้งหลาย.
หลายบทว่า สมฺมา จิตฺตํ วิมุจฺจติ มีความว่า จิตย่อมหลุดพ้น
ด้วยอำนาจผลสมาบัติ เพราะข้อปฏิบัติเครื่องเห็นแจ้งนี้ โดยชอบคือตามเหตุ
ตามนัย ได้แก่ น้อมไปในนิพพานเป็นอารมณ์.
บทว่า สนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ มีจิตเยือกเย็น.
บทว่า ตาทิโน คือจัดว่าผู้คงที่ เพราะไม่หวั่นไหว ด้วยความยินดี
ยินร้าย ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์.
สองบทว่า อญฺญํ พฺยากโรนฺติ ได้แก่ พยากรณ์อรหัต.
สองบทว่า อตฺโถ จ วุตฺโต มีความว่า ตนอันผู้อื่นจะทราบว่า
เป็นอรหันต์ ด้วยเนื้อความใด เนื้อความนั้น อันกุลบุตรทั้งหลายกล่าวแล้ว.
ส่วนเนื้อความแห่งสูตร พึงถือเอาจากวรรณนาแห่งสุตตันตะเถิด.
สองบทว่า อตฺตา จ อนุปนีโต มีความว่า ทั้งไม่น้อมตนเข้าไป
ด้วยอำนาจพยัญชนะอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเป็นอรหันต์.
หลายบทว่า อถ จ ปนิเธกจฺเจ โมฆปุริสา มีความว่า ฝ่ายบุรุษ
เปล่าเหล่าอื่น ทำที่เหมือนสนุก พยากรณ์อรหัตผลซึ่งไม่มีเลย ทำให้มีด้วยเหตุ
สักว่าถ้อยคำ.

ว่าด้วยรองเท้า


บทว่า เอกปลาสิกํ ได้แก่ ชั้นเดียว.
วินิจฉัยในคำว่า อสีติสกฏวาเห นี้ พึงทราบดังนี้:-
สองเล่มเกวียน พึงทราบว่าเป็นหนึ่งวาหะ.
วินิจฉัยในคำว่า สตฺตหตฺถิกญฺจ อนีกํ นี้ พึงทราบดังนี้:-