เมนู

โดยธรรม โดยวินัยด้วยเถิด ดังนี้ ได้พวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็น
เคยคบกันมา เป็นฝักฝ่าย.
ครั้งนั้น พวกภิกษุที่สนับสนุนผู้ถูกยกเหล่านั้น ได้เข้าไปหาภิกษุพวก
ที่ยกแล้วได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกที่ยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั้นไม่เป็นอาบัติ
นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุนั้นต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุ
นั้นไม่ต้องถูกยก ภิกษุนั้นเป็นผู้ถูกยกหามิได้ ภิกษุนั้นถูกยกด้วยกรรมไม่เป็น
ธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ.
เมื่อภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกยก ได้
กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่น
ไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นต้องอาบัติ ไม่ต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นต้อง
ถูกยกแล้ว ไม่ต้องถูกยกหามิได้ ภิกษุนั้น ถูกยกแล้วด้วยกรรมเป็นธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายอย่าสนับสนุน อย่าตามห้อมล้อม
ภิกษุผู้ถูกยกนั้นเลย.
ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกเหล่านั้น อันภิกษุพวกยกว่ากล่าวอยู่แม้
อย่างนี้แล ก็ยังสนับสนุน ยังตามห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกยกนั้นอย่างเดิมนั่น แหละ.

ภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้ากราบทูลให้ทรงทราบ


[239] ครั้นต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นนั่งเฝ้าเรียบร้อย
แล้ว ได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุรูปหนึ่ง
ในวัดโฆสิตารามนี้ต้องอาบัติ ท่านมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ แต่
ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ ครั้นต่อมา ท่านกลับมี

ความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้น
ว่าเป็นอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจึงได้กล่าวคำนี้แก่ท่านว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติ
ท่านเห็นอาบัตินั้นหรือไม่ ท่านตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึง
เห็น ภายหลังภิกษุเหล่านั้นหาสมัครพรรคพวกได้แล้ว จึงยกท่านเสีย เพราะ
ไม่เห็นอาบัติ แท้จริง ท่านรูปนั้น เป็นผู้คงแก่เรียน ช่ำชองคัมภีร์ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาดมีปัญญา มีความละอาย รังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา จึงเข้าไปหาบรรดาภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา แล้ว
ได้กล่าวคำนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผม
ไม่ต้องอาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก ผมต้องถูกยกหามิได้
ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายจง
กรุณาเป็นฝักฝ่ายของผมโดยธรรม โดยวินัยด้วยเถิด แล้วได้พวกภิกษุที่เป็น
เพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมาเป็นฝักฝ่าย และส่งทูตไปในสำนักภิกษุชาวชนบท
ที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมาว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่น
เป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก
ผมต้องถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ
ขอท่านทั้งหลายจงกรุณาเป็นฝักฝ่ายของผมโดยธรรม โดยวินัยด้วยเถิด แล้วได้
ภิกษุพวกชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา เป็นฝักฝ่าย.
ครั้งนั้น ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยก เข้าไปหาภิกษุพวกยกแล้ว ได้
กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติ
หามิได้ ภิกษุรูปนั้น ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุนั้นต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่
ต้องถูกยก ภิกษุรูปนั้นต้องถูกยกหามิได้ ภิกษุรูปนั้นถูกยกด้วยกรรมไม่เป็น
ธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ.

เมื่อภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกยกได้กล่าว
คำนี้ แก่ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่
เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้น ต้องอาบัติ ไม่ต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นต้องถูกยก
ไม่ต้องถูกยกหามิได้ ภิกษุนั้นถูกยกด้วยกรรมเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่
ฐานะ ขอท่านทั้งหลายอย่าสนับสนุน อย่าตามห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกยกนั้นเลย.
เมื่อภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกเหล่านั้น อันภิกษุพวกยกว่ากล่าวอยู่
แม้อย่างนี้ ก็ยังสนับสนุน ยังตามห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกยกนั้นอย่างเดิมนั่นแหละ
พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงประทานพระโอวาท


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว ภิกษุ
สงฆ์แตกกันแล้ว จึงทรงลุกจากที่ประทับ เสด็จเข้าไปทางภิกษุพวกยก ครั้นถึง
แล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ครั้นพระองค์ประทับนั่งแล้วได้ตรัส
ประทานพระพุทโธวาทแก่ภิกษุพวกยกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าสำ-
คัญภิกษุอันตนพึงยกเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยนึกว่า พวกเราเฉลียวฉลาด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้วมีความเห็น
ในอาบัตินั้น ว่าไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ
ถ้าพวกเธอรู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นพหุสูต. . . ผู้ใคร่ต่อสิกขา
ถ้าพวกเราจักยกภิกษุรูปนี้ เพราะไม่เห็นอาบัติ จักทำอุโบสถร่วมกับภิกษุรูปนี้
ไม่ได้ จักต้องทำอุโบสถแยกจากภิกษุรูปนี้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ
ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแยกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การ
กำหนดแห่งสงฆ์การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์
ภิกษุทั้งหลายผู้เกรงแค่ความแตกนั้น ไม่พึงยกภิกษุนั้น เพราะไม่เห็นอาบัติ