เมนู

ให้ออกจากวัด ด้วยปัพพาชนียกรรม, เพราะฉะนั้น ปัพพาชนียกรรมนั้น ท่าน
จึงเรียกว่า นิสสารณา. ก็เพราะเหตุที่ไม่เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล. บุคคลนั้น
จึงไม่ถึงปัพพาชนียกรรมนั้น. ด้วยลักษณะแผนกหนึ่ง. แต่ว่า เพราะเหตุที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สงฆ์หวังอยู่พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่บุคคลนั้น
ดังนี้ บุคคลนั้น จึงจัดว่า เป็นผู้อันสงฆ์ขับออกด้วยดีแล้ว.

นิสสารณา


ข้อว่า ตญฺเจ สงฺโฆ นิสฺสาเรติ มีความว่า หากสงฆ์ขับออก
ด้วยอำนาจแห่งตัชชนียกรรมเป็นต้นไซร้ บุคคลนั้น ชื่อว่า ถูกขับออกด้วย
ดี เพราะเหตุที่ในวินัยว่าด้วยตัชชนียกรรมเป็นต้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตนิสสารณาด้วยองค์แม้อันหนึ่งอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์จำนง
อยู่พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ 3 พวก คือ เป็นผู้ทำความบาดหมาง เป็นผู้
ทำการทะเลาะ เป็นผู้ทำการวิวาท เป็นผู้ทำการอื้อฉาว เป็นผู้ก่ออธิกรณ์ใน
สงฆ์ พวกหนึ่ง, เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร พวก
หนึ่ง, อยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอัน ไม่สมควร พวกหนึ่ง.

โอสารณา


กิริยาที่เรียกเข้าหมู่ ชื่อโอสารณา.
ในเรื่องโอสารณานั้น ข้อว่า ตญฺเจ สงฺโฆ โอสาเรติ ได้แก่
เรียกเข้าหมู่ ด้วยอำนาจอุปสมบทกรรม.
บทว่า โทสาริโต มีความว่า บุคคลนั้น สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วแม้
ตั้งพันครั้ง ก็คงเป็นอนุปสัมบันนั่นเอง. ฝ่ายอาจารย์และอุปัชฌาย์ย่อมมีโทษ
การกสงฆ์ที่เหลือก็เหมือนกัน, ใคร ๆ ไม่พ้นจากอาบัติ. อภัพพบุคคล 11

จำพวกเหล่านี้ สงฆ์เรียกเข้าหมู่ใช้ไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้. ส่วนบุคคล
32 จำพวก มีตนมือด้วนเป็นต้น เรียกเข้าหมู่โดยชอบ, สงฆ์ให้อุปสมบท
แล้ว ย่อมเป็นอุปสัมบันแท้, บุคคลเหล่านั้น ใคร ๆ จะว่ากล่าวอะไร ๆ
ไม่ได้. แต่อาจารย์กับอุปัชฌาย์และการกสงฆ์ย่อมไม่มีโทษ ใคร ๆ ไม่พ้น
จากอาบัติ.
เพื่อแสดงกรรมไม่เป็นธรรมด้วยอำนาจวัตถุไม่เป็นจริง และกรรมเป็น
ธรรมด้วยอำนาจวัตถุเป็นจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า อธิ ปน ภิกฺขเว
ภิกฺขุสฺส น โหติ อาปตฺติ ทฏฺฐพฺพา
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินิสฺสชฺเชตา คือ ทิฏฐิลามกอันจะ
พึงสละเสีย. กรรมเป็นธรรมและไม่เป็นธรรม ด้วยอำนาจวัตถุนั้นแล พระผู้-
มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ ในอุบาลีปัญหาก็มี. ในอุบาลีปัญหานั้น มีนัย 2
คือ นัยมีมูลอันเดียว 1 นัยมีมูลสอง 1 นัยมีมูลอันเดียวชัดเจนแล้ว. ในนัย
มีมูลสอง สติวินัยกับอมูฬหวินัย ท่านทำ ให้เป็นคำถามอันเดียวกัน ฉันใด,
แม้อมูฬหวินัยเป็นต้น กับตัสสปาปิยสิกาเป็นต้น ก็พึงทำให้เป็นคำถามอันเดียว
กันฉันนั้น. ส่วนในข้อสุดท้าย คำว่า อุปสมฺปทรหํ อุปสมฺปาเทติ ย่อม
เป็นบทอันเดียวกันแท้. ข้างหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบบทที่เหลือ
ทั้งหลายกับบทอันหนึ่ง ๆ ทำสติวินัยแม้แห่งภิกษุให้เป็นต้น.
เพื่อแสดงวิบัติในกรรม 7 อย่าง มีตัชชนียกรรมเป็นต้น พร้อมทั้ง
กิริยาที่ระงับ จัดเป็นหมวด ด้วยอำนาจบทเหล่านั้น คือ อธมฺเมน วคฺค
อธมฺเมน สมคฺคํ ธมฺเมน วคฺคํ ธมฺมปฏิรูปเกน วคฺคํ ธมฺมปฏิรูปเกน
สมคฺคํ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิธ ปน ภิกฺขเว ภิกฺขุ ภณฺฑการโก
เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนปาทาโน ได้แก่ ผู้เว้นจากมรรยาท,
อาการเป็นเครื่องกำหนด เรียกว่ามรรยาท. ความว่า ผู้เว้นจากความกำหนด
อาบัติ. เบื้องหน้าแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบาลีนั้นเอง เทียบเตียงกับ
บทว่า อกตํ กมฺมํ เป็นต้น เพื่อแสดงประเภท แห่งกรรมที่ถูกคัดค้านแล้ว
และขืนทำ. ในบาลีนั้น ใคร ๆ ไม่สามารถจะทราบคำใด ๆ โดยท่านองแห่ง
บาลีหามิได้, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่พรรณนาให้พิสดาร ฉะนั้นแล.
อรรถกถาจัมเปยยขันธกะ จบ

โกสัมพิขันธกะ


เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง


[238] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ
โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ยังมีภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติแล้ว มี
ความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่า
ไม่เป็นอาบัติ สมัยต่อมา ภิกษุรูปนั้นกลับมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็น
อาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจึง
ได้ถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติ ท่านเห็นอาบัตินั้นหรือไม่ ภิกษุ
รูปนั้น ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น ภายหลังภิกษุเหล่า
นั้นหาสมัครพรรคพวกได้ จึงยกภิกษุรูปนั้นเสียเพราะไม่เห็นอาบัติ.
แท้จริง ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้คงแก่เรียน ช่ำชองคัมภีร์ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีความละอาย รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อ
สิกขา ภิกษุรูปนั้นจึงเข้าไปหาบรรดาภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา
แล้วได้กล่าวคำนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้
ผมไม่ต้องถูกยก ผมต้องถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ
ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายจงกรุณาเป็นฝักฝ่ายของผมโดยธรรม โดยวินัย
ด้วยเถิด ภิกษุรูปนั้น ได้ภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมา เป็นฝักฝ่ายแล้ว
ได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกัน มาว่า อาวุโส
ทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้อองอาบัติ
หามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก ผมเป็นผู้ถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็น
ธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายจงกรุณาเป็นฝักฝ่ายของผม