เมนู

ให้ออกจากวัด ด้วยปัพพาชนียกรรม, เพราะฉะนั้น ปัพพาชนียกรรมนั้น ท่าน
จึงเรียกว่า นิสสารณา. ก็เพราะเหตุที่ไม่เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล. บุคคลนั้น
จึงไม่ถึงปัพพาชนียกรรมนั้น. ด้วยลักษณะแผนกหนึ่ง. แต่ว่า เพราะเหตุที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สงฆ์หวังอยู่พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่บุคคลนั้น
ดังนี้ บุคคลนั้น จึงจัดว่า เป็นผู้อันสงฆ์ขับออกด้วยดีแล้ว.

นิสสารณา


ข้อว่า ตญฺเจ สงฺโฆ นิสฺสาเรติ มีความว่า หากสงฆ์ขับออก
ด้วยอำนาจแห่งตัชชนียกรรมเป็นต้นไซร้ บุคคลนั้น ชื่อว่า ถูกขับออกด้วย
ดี เพราะเหตุที่ในวินัยว่าด้วยตัชชนียกรรมเป็นต้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตนิสสารณาด้วยองค์แม้อันหนึ่งอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์จำนง
อยู่พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ 3 พวก คือ เป็นผู้ทำความบาดหมาง เป็นผู้
ทำการทะเลาะ เป็นผู้ทำการวิวาท เป็นผู้ทำการอื้อฉาว เป็นผู้ก่ออธิกรณ์ใน
สงฆ์ พวกหนึ่ง, เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร พวก
หนึ่ง, อยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอัน ไม่สมควร พวกหนึ่ง.

โอสารณา


กิริยาที่เรียกเข้าหมู่ ชื่อโอสารณา.
ในเรื่องโอสารณานั้น ข้อว่า ตญฺเจ สงฺโฆ โอสาเรติ ได้แก่
เรียกเข้าหมู่ ด้วยอำนาจอุปสมบทกรรม.
บทว่า โทสาริโต มีความว่า บุคคลนั้น สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วแม้
ตั้งพันครั้ง ก็คงเป็นอนุปสัมบันนั่นเอง. ฝ่ายอาจารย์และอุปัชฌาย์ย่อมมีโทษ
การกสงฆ์ที่เหลือก็เหมือนกัน, ใคร ๆ ไม่พ้นจากอาบัติ. อภัพพบุคคล 11