เมนู

แม้ในข้อว่า อญฺญตฺราปิ วินยา กมฺมํ อฌฺญตฺราปิ สตฺถุ-
สาสนา กมฺมํ
ก็นัยนี้แล. ก็ในวินัยและสัตถุศาสนานี้ การโจทและการประกาศ
ชื่อวินัย. ญัตติสัมปทาและอนุสาวนสัมปทา ชื่อสัตถุศาสนา, ความว่า ภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ทำกรรมเว้นจากการโจท การประกาศญัตติสัมปทา และอนุสาวน
สัมปทาเหล่านั้น.
บทว่า ปฏิกฺกฏฺฐกตํ ได้แก่ กรรมที่ถูกคัดค้านและอันเธอขืนทำ.
กรรมใด อันภิกษุขืนทำในเมื่อภิกษุเหล่าอื่นคัดค้านอยู่, กรรมนั้นจัดเป็น กรรม
ที่ถูกคัดค้านและอันภิกษุขืนทำ; ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรมเช่นนั้นบ้าง.

กรรมหก


ก็ในคำว่า ฉยิมานิ ภิกฺขเว กมฺมานิ อธมฺมกมฺมํ เป็นอาทิ
คำว่า ธรรม เป็นชื่อแห่งบาลี. เพราะเหตุนั้น กรรมใดสงฆ์ไม่ทำโดยบาลี
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้. กรรมนั้น พึงทราบว่า กรรมไม่เป็นธรรม.
ความสังเขปในฉกัมมาธิการนี้ เท่านี้. ส่วนความพิสดารมาแล้วในบาลีนั่นแล.
ก็ความพิสดารนั้นแล มาแล้วด้วยอำนาจแห่งญัตติทุติยกรรมและญัตติ
จตุตถกรรมเท่านั้น. อันในญัตติกรรมไม่มีความลดหย่อนหรือความทำโดย
ประการอย่างอื่น เหมือนในญัตติทุติยกรรมและญัตติจตุตถกรรม, ส่วนอป-
โลกนกรรมอันภิกษุย่อมทำเพียงสวดประกาศ; เพราะฉะนั้นญัตติกรรมและ
อปโลกนกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงแสดงไว้ในบาลี. ข้าพเจ้า
จักพรรณนาวินิจฉัยแห่งกรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดข้างหน้า.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ปญฺจ สงฺฆา เป็นอาทิ เพื่อ
แสดงประเภทแห่งสงฆ์ทั้งหลาย ผู้จะพึงทำกรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรม ซึ่ง
เป็นที่หก.