เมนู

อรรถกถาจัมเปยยขันธกะ


วินิจฉัยในจัมเปยยขันธกะ


วินิจฉัยในจัมเปยยขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
หลายบทว่า คคฺคราย โปกฺขรณิยา ตีเร คือที่ฝั่งแห่งสระโบกรณี
ซึ่งหญิงมีชื่อว่าคัคคราสร้าง.
บทว่า ตนฺติพทฺโธ มีความว่า ชื่อผู้เนื่องเฉพาะในความขวนขวาย
เพราะข้อที่ความขวนขวายเป็นกิจอันเธอพึงทำในอาวาสนั้น.
วินิจฉัยในข้อว่า อุสฺสุกฺกมฺปิ อกาสิ ยาคุยา เป็นอาทิ พึงทราบ
ดังนี้:-
สมควรทำความขวนขวายแต่ในที่ซึ่งชนทั้งหลายสั่งไว้ว่า เมื่อภิกษุ
อาคันตุกะมา ท่านพึงบอก, ไม่สมควรทำในที่ซึ่งเขาไม่ได้สั่งไว้.
ข้อว้า คจฺฉ ตวํ ภิกฺขุ มีความว่า พระศาสดาได้ทรงเห็นว่า
เสนาสนะในอาวาสนั้นนั่นแลของภิกษุนั้น เป็นที่สบาย, ด้วยเหตุนั้นแล จึง
ตรัสว่า เธอจงสำเร็จการอยู่ในวาสภคามนั้นแล.
ความกระทำต่างแห่งคำว่า อธมฺเมน วคฺคกมฺมํ ถโรนฺติ เป็น
อาทิ จักมาในบาลีข้างหน้าเป็นแท้.
ข้อว่า อญฺญตราปิ ธมฺมา กมฺมํ กโรนฺติ มีความว่า ภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ ทำกรรม เว้นจากธรรมบ้าง; อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้เองเป็นบาลี;
กรรมที่ทำด้วยวัตถุเป็นจริง จัดเป็นกรรมที่ทำตามธรรม; ความว่า ภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ ไม่ทำอย่างนั้น.

แม้ในข้อว่า อญฺญตฺราปิ วินยา กมฺมํ อฌฺญตฺราปิ สตฺถุ-
สาสนา กมฺมํ
ก็นัยนี้แล. ก็ในวินัยและสัตถุศาสนานี้ การโจทและการประกาศ
ชื่อวินัย. ญัตติสัมปทาและอนุสาวนสัมปทา ชื่อสัตถุศาสนา, ความว่า ภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ทำกรรมเว้นจากการโจท การประกาศญัตติสัมปทา และอนุสาวน
สัมปทาเหล่านั้น.
บทว่า ปฏิกฺกฏฺฐกตํ ได้แก่ กรรมที่ถูกคัดค้านและอันเธอขืนทำ.
กรรมใด อันภิกษุขืนทำในเมื่อภิกษุเหล่าอื่นคัดค้านอยู่, กรรมนั้นจัดเป็น กรรม
ที่ถูกคัดค้านและอันภิกษุขืนทำ; ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรมเช่นนั้นบ้าง.

กรรมหก


ก็ในคำว่า ฉยิมานิ ภิกฺขเว กมฺมานิ อธมฺมกมฺมํ เป็นอาทิ
คำว่า ธรรม เป็นชื่อแห่งบาลี. เพราะเหตุนั้น กรรมใดสงฆ์ไม่ทำโดยบาลี
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้. กรรมนั้น พึงทราบว่า กรรมไม่เป็นธรรม.
ความสังเขปในฉกัมมาธิการนี้ เท่านี้. ส่วนความพิสดารมาแล้วในบาลีนั่นแล.
ก็ความพิสดารนั้นแล มาแล้วด้วยอำนาจแห่งญัตติทุติยกรรมและญัตติ
จตุตถกรรมเท่านั้น. อันในญัตติกรรมไม่มีความลดหย่อนหรือความทำโดย
ประการอย่างอื่น เหมือนในญัตติทุติยกรรมและญัตติจตุตถกรรม, ส่วนอป-
โลกนกรรมอันภิกษุย่อมทำเพียงสวดประกาศ; เพราะฉะนั้นญัตติกรรมและ
อปโลกนกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงแสดงไว้ในบาลี. ข้าพเจ้า
จักพรรณนาวินิจฉัยแห่งกรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดข้างหน้า.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ปญฺจ สงฺฆา เป็นอาทิ เพื่อ
แสดงประเภทแห่งสงฆ์ทั้งหลาย ผู้จะพึงทำกรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรม ซึ่ง
เป็นที่หก.