เมนู

ไม่เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . .
พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม. . . สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า
กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรม
เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดย
เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมไม่เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอัน ทำ
กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น
สองพวกนี้เป็นธรรมวาที ฯ 5 วาระนี้ท่านย่อไว้.

ขอระงับอุกเขปนียกรรม


[235] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุก-
เขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ
แก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เอาละ
พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น
. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม... เป็นวรรค
โดยเทียมธรรม... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุม
นั้น กล่าวีคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม

กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่
ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น
พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าว
อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที ฯ 5 วาระนี้ท่านย่อไว้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย-
กรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วพระพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ
พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น
พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม . . . พร้อมเพรียง
กันโดยเทียมธรรม. . . สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค
โดยไม่เป็นธรรม การพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดย
ธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม การพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม
กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียง
กันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็น
อันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้
เป็นธรรมวาที ฯ 5 วาระนี้ท่านย่อไว้.

[236] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุก-
เขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประ-
พฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปในเรื่องนั้น ถ้า
ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาป เอาละ
พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูป
นั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม . . . เป็น
วรรคโดยเทียมธรรม .. . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม... สงฆ์ผู้อยู่ในที่
ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียง
กันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม
กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่
ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น
พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าว
อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้ เป็นธรรมวาทีฯ 5 วาระแม้นี้ท่านย่อไว้.

จัมเบปยยขันธกะ ที่ 9 จบ
ในขันธกะนี้มี 36 เรื่อง

หัวข้อประจำขันธกะ


[237] 1. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครจัมปา ภิกษุ
ผู้อยู่ในวาสภคามได้ทำความขวนขวายในสิ่งจำปรารถนาแก่พวกพระอาคันตุกะ
ครั้นทราบว่าพวกท่านชำนาญในสถานที่โคจรดีแล้ว จึงเลิกทำความขวนขวายใน
กาลนั้น แต่ต้องถูกพวกพระอาคันตุกะยกเสียเพราะเหตุที่ไม่ทำ จึงได้ไปเฝ้าพระ
ชินเจ้า 2. ภิกษุทั้งหลายในนครจัมปาทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม
พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรคโดยธรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม
พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียว ภิกษุรูปเดียวยก
ภิกษุ 2 รูป หลายรูปที่เป็นสงฆ์ก็มี ภิกษุ 2 รูป ภิกษุหลายรูปยกกันก็มี
และสงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันก็มี 3. พระสัพพัญญูผู้ประเสริฐทรงทราบแล้ว
ตรัสห้ามว่าไม่เป็นธรรม 4. กรรมใดวิบัติโดยญัตติ อนุสาวนาสมบูรณ์
วิบัติโดยอนุสาวนาสมบูรณ์ด้วยญัตติ วิบัติทั้งสองอย่าง ทำกรรมแผกจากธรรม
แผกจากวินัย แผกจากสัตถุศาสน์ กรรมที่ถูกคัดค้านกำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ
5. กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรค
โดยเทียมธรรม พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม พระตถาคตทรงอนุญาตกรรม
พร้อมเพรียงโดยธรรมเท่านั้น 6. สงฆ์มี 5 ประเภท คือสงฆ์จตุวรรค
สงฆ์ปัญจวรรค สงฆ์ทสวรรค สงฆ์วีสติวรรค และสงฆ์อดิเรกวีสติวรรค
7. ยกอุปสมบทกรรม ปวารณากรรม กับอัพภานกรรม นอกนั้น สงฆ์
จตุวรรคทำได้ 8. ยกกรรม 2 อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิมประเทศและ
อัพภานกรรม นอกนั้นสงฆ์ปัญจวรรคทำได้ทั่งสิ้น 9. ยกอัพภานกรรม
อย่างเดียวนอกนั้นสงฆ์ทสวรรคทำได้ 10. กรรมทุกอย่าง สงฆ์วีสติวรรค
ทำได้ทั้งสิ้น 11. ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา
ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม้ทำคืนอาบัติ
ฐานไม้สละทิฏฐิอันเป็นบาป บัณเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีดเดียรถีย์