เมนู

เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม . . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อม
เพรียงกัน โดยเทียมธรรม. . . พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.

ขอระงับอุกเขปนียกรรม


[217] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ในเรื่องนั้น
ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อ
หยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ เอา
ละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยธรรมระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น. . . พร้อม
เพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดยเทียม
ธรรม. . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม . . . พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย-
กรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเชปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ
พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น
วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูป

นั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็น
วรรคโดยเทียมธรรม. . . พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม. . . พึงแต่งจักร
เหมือนหนหลัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย-
กรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ จึงขอระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระรับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาป เอาละ
พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอ ดังนี้ แล้ว
ได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิแก่ภิกษุรูป
นั้น . . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม . . . เป็น
วรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม. . . พึงแต่งจักร
เหมือนหนหลัง.

ตัชชนียกรรม


[218] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความ
บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ
รูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้
เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่
ประชุมนั้นกล่าวดัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียง