เมนู

เป็นของพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงเหล่านั้น ดังนี้ ย่อมถึงทั่วกัน. ฝ่ายภิกษุเหล่าใด
ได้ข้าวต้ม จากมือพระเถระ ย่อมไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่านั้น. ถ้าเขากล่าวว่า พระ-
ผู้เป็นเจ้าเหล่าใดฉันข้าวต้มของข้าพเจ้า ผ้าเหล่านี้ จงเป็นของพระผู้เป็นเจ้า
เหล่านั้นจนทั่วกัน ดังนี้ ย่อมถึงทั่วกัน. แม้ในข้าวสวยและของควรเคี้ยว ก็
นัยนั้น แล.
บทว่า จีวเร วา มีความว่า ถ้าทายกผู้เคยถวายจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย
ซึ่งตนนิมนต์ให้จำพรรษาแม้ในกาลก่อน ให้ภิกษุฉันแล้วกล่าวว่า ในกาลก่อน
ข้าพเจ้าได้ถวายจีวรแก่พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใด จีวรนี้ก็ดี เนยใส น้ำผึ้งและน้ำ
อ้อยเป็นต้นก็ดี จงเป็นของพระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นแล ทุกอย่างย่อมถึงแก่ภิกษุ
เหล่านั้น เท่านั้น.
บทว่า เสนาสเน วา มีความว่า เมื่อเขากล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าใด
อยู่ในที่อยู่หรือในบริเวณที่ข้าพเจ้าสร้าง ผ้านี้จงเป็นของพระผู้เป็นเจ้านั้น ย่อม
เป็นของภิกษุนั้นเท่านั้น.
บทว่า เภสชฺเช วา มีความว่า เมื่อเขากล่าวว่า พวกข้าพเจ้าถวาย
เภสัชมีเนยใสเป็นต้น แก่พระเถระทั้งหลายทุกเวลา เภสัชเหล่านั้น อันพระ
เถระเหล่าใดได้แล้ว; ผ้านี้จงเป็นของพระเถระเหล่านั้นเท่านั้น ดังนี้, ย่อมเป็น
ของพระเถระเหล่านั้นเท่านั้น.

ถวายแก่บุคคล


ข้อว่า ถวายแก่บุคคล มีความว่า เขาถวายลับหลังอย่างนี้ว่าข้าพเจ้า
ถวายจีวรนี้แก่ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ หรือวางไว้แทบบาทมูลถวายต่อหน้าอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถวายจีวรนี้ แก่ท่านดังนี้ก็ดี. ก็ถ้าว่าเขากล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าถวายจีวรนี้แก่ท่านด้วย แก่อันเตวาสิกทั้งหลายของท่านด้วย ดังนี้.
ย่อมถึงแก่พระเถระและเหล่าอันเตวาสิก. ภิกษุมาเพื่อเรียนอุทเทส และผู้เรียน

แล้วจะไปมีอยู่, ย่อมถึงแม้แก่เธอ. เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุทั้ง
หลายผู้เที่ยวอยู่เป็นนิตย์กับท่าน ย่อมถึงแก่อุทเทสันเตวาสิกทั้งปวง ผู้กระทำ
วัตรเรียนอุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้นเที่ยวไปอยู่. นี้เป็นวินิจฉัยในบทนี้ว่า
ถวายแก่บุคคล. คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

อรรถกถาจีวรขันธกะ จบ

จัมเปยยขันธกะ


เรื่องพระกัสสปโคตร


[174] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ริมฝั่งสระ
โบกขรณีชื่อคัคครา เขตจัมปานคร ครั้งนั้น บ้านวาสภคามตั้งอยู่ในกาสี
ชนบท พระชื่อกัสสปโคตรเป็นเจ้าอาวาส ในวาสภคามนั้นฝักใฝ่ในการก่อสร้าง
ถึงความขวนขวายว่า ทำไฉน ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา พึงมา ที่มาแล้ว
พึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้พึงถึงความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ สมัยต่อมา
ภิกษุหลายรูป เที่ยวจาริกในกาสีชนบท ได้ไปถึงวาสภคาม พระกัสสปโคตร
ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงปูอาสนะ ดังน้ำล้างเท้า ตั่ง
รองเท้า กระเบื้องเช็คเท้า ลุกไปรับบาตรจีวร นิมนต์ให้ฉันน้ำ ได้จัดแจง
การสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร พระอาคันตุกะ
เหล่านั้น จงได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอาวาสรูปนี้ดีมาก
ได้จัดแจการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ผิฉะนั้น
พวกเราจงพักอยู่ในวาสภคามนี้แหล่ะ ครั้นแล้วได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นนั่นเอง
พระกัสสปโคตรจึงได้มีความปริวิตกว่า ความลำบากโดยฐานเป็นอาคันตุกะ
ของพระอาคันตุกะเหล่านี้ สงบหายแล้ว พระอาคันตุกะที่ไม่ชำนาญในที่โคจร
เหล่านี้ บัดนี้ชำนาญในที่โคจรแล้ว อันการทำความขวนขวายในสกุลคนอื่น
จนตลอดชีวิต ทำได้ยากมาก และการขอก็ไม่เป็นที่พอใจของคนทั้งหลาย ถ้า
กระไรเราพึงเลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ดังนี้แล้ว
ได้เลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร.