เมนู

ตอบว่า วัตถุมีระเบียบและของหอมเป็นต้น ควรยกวางไว้ที่พระเจดีย์
ก่อน ผ้าพึงใช้ทำธงแผ่นผ้า น้ำมันพึงใช้ตามประทีป ส่วนบิณฑบาตและ
เภสัชมีน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น พึงให้แก่บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่
ผู้รักษาพระเจดีย์เป็นประจำ เมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเป็นประจำ สนควรจะ
ตั้งไว้ดังภัตที่ตนเองนำมากระทำวัตรแล้วฉัน. ในเวลากระชั้น ฉันเสียแล้ว
จึงทำวัตรต่อภายหลัง ก็ควรเหมือนกัน . ก็เมื่อเขากล่าว ขอท่านทั้งหลายจง
นำสิ่งนี้ไปทำการบูชาพระเจดีย์ ดังนี้. บรรดาวัตถุมีระเบียบและของหอมเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ในที่ไกล ก็ควรนำไปบูชา แม้เมื่อเขากล่าวว่า ขอจง
นำไปเพื่อภิกษุสงฆ์ ควรนำไป. ก็หากว่าเมื่อภิกษุกล่าวว่า เราจักเที่ยวบิณฑ-
บาต ที่อาสนศาลามีภิกษุ เธอทั้งหลายจักนำไป เขากล่าวว่า ท่านผู้เจริฐ
ข้าพเจ้าถวายท่านนั้นแล สมควรฉัน. ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุกำลังนำไปตั้งใจว่า
จักถวายภิกษุสงฆ์ เวลาจวนเสียในระหว่างทางเทียว สมควรให้ถึงแก่ตนแล้ว
ฉันเถิด.

ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา


ข้อว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา มีความว่า ทายกเข้าไปยังวิหารแล้ว
ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรเหล่านี้ แก่สงฆ์ผู้จำพรรษา.
ข้อว่า ยาวติกา ภิกฺขู ตสฺมึ อาวาเส วสฺสํ วุตฺถา มีความว่า
ภิกษุมีจำนวนเท่าไร จำพรรษาแรก ไม่ทำให้ขาดพรรษา ภิกษุเหล่านั้น พึง
แจกกัน; จีวรนั้นไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่าอื่น. เมื่อผู้รับแทนมี พึงให้แม้แก่ภิกษุ
ผู้หลีกไปสู่ทิศจนกว่าจะรื้อกฐิน. พระอาจารย์ทั้งหลายผู้เข้าใจลักษณะกล่าวว่า
แต่เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ก็แลจีวรที่เขาบอกถวายอย่างนั้น ในภายในเหมันตฤดู
ย่อมถึงแม้แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาหลัง. ส่วนในอรรถกถาทั้งหลาย หา

ได้สอดส่องข้อนี้ไว้ไม่. ก็ถ้าว่า ทายกตั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมากล่าวว่า ข้าพเจ้า
ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา, จีวรนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งปวงผู้มาถึงเข้า. ถ้าเขา
กล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาในวัดโน้น. ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำ
พรรษาในวัดนั้นเท่านั้น จนกว่าจะรื้อกฐิน. ก็ถ้าว่าเขากล่าวอย่างนั้น จำเดิม
แต่วันต้นแห่งคิมหฤดูไป ย่อมถึงแก่ภิกษุทั่งปวงผู้พร้อมหน้ากันในวัดนั้น.
เพราะเหตุไร ? เพราะจีวรนั้นเกิดขึ้นภายหลังสมัย. เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่
ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา ดังนี้ ในภายในพรรษาทีเดียว ภิกษุผู้ขาดพรรษา
ย่อมไม่ได้ เฉพาะภิกษุผู้จำพรรษาตลอดจึงได้. ส่วนในจีวรมาส เมื่อเขา
กล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา. ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำ
พรรษาในปัจฉิมพรรษาเท่านั้น ไม่ถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในปุริม-
พรรษาและผู้ขาดพรรษา. จำเดิมแต่จีวรมาสไปจนถึงวันสุดท้ายแห่งเหมันตฤดู
เมื่อเขากล่าวว่า ถวายผ้าจำนำพรรษา, กฐินจะได้กรานหรือไม่ได้กรานก็ตามที่
ผ้านั้นย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาที่ล่วงไปแล้วเท่านั้น.
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวจำเดิมแต่วันต้นแห่งคิมหฤดูไป. พึงยกมาติกาขึ้นว่า
สำหรับกาลจำพรรษาที่เป็นอดีต ล่วงไปแล้ว 5 เดือน กาลจำพรรษาที่เป็น
อนาคต ต่อล่วงไป 4 เดือน จึงจักมี ท่านให้แก่สงฆ์ผู้จำพรรษาไหน. ถ้าเขา
กล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาที่ล่วงไปแล้ว ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้ง
หลายผู้อยู่จำตลอดภายในพรรษานั้น เท่านั้น. ภิกษุผู้ชอบกัน ย่อมได้เพื่อรับ
แทนภิกษุผู้หลีกไปสู่ทิศ. ถ้าเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุผู้จำพรรษาในพรรษาที่
จะมาข้างหน้า พึงเก็บผ้านั้นไว้ ถือเอาในวันเข้าพรรษา หากว่าที่อยู่คุ้มครอง
ไม่ได้ ทั้งมีโจรภัย; เมื่อภิกษุกล่าวว่า ไม่อาจเก็บไว้ หรือไม่อาจถือเที่ยวไป
เขาบอกว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่พร้อมแล้ว พึงแจกกันถือเอา. หากว่า
เขากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ได้ถวายผ้าใด แก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา

ในพรรษาที่ 3 แต่พรรษานี้ไป ข้าพเจ้าถวายผ้านั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้จำพรรษาภายในพรรษานั้น. ถ้าภิกษุเหล่านั้นหลีกไปสู่ทิศเสียแล้ว ภิกษุอื่น
ผู้คุ้นเคยกัน จะรับแทน; พึงให้. ถ้าเหลืออยู่รูปเดียวเท่านั้น นอกจากนั้น
มรณภาพหมด ย่อมถึงแก่ภิกษุรูปเดียวนั่นแลทั้งหมด. ถ้าว่า แม้รูปเดียวก็
ไม่มี ย่อมเป็นของสงฆ์; ผ้านั้นภิกษุผู้พร้อมหน้ากัน พึงแจกกัน

ถวายจำเพาะ


ข้อว่า ถวายจำเพาะ มีความว่า เขาเจ้าจง คือกำหนดหมายถวาย.
ในบทว่า ยาคุยา เป็นอาทิ มีเนื้อความดังนี้.
เขาเจาะจงถวายในข้าวต้ม หรือข้าวสวย หรือของควรเคี้ยวหรือจีวร
หรือเสนาสนะ หรือเภสัช.
ในบทเหล่านั้น มีโยชนาดังนี้:-
ทายกนิมนต์ภิกษุด้วยข้าวต้มประจำวันนี้ หรือประจำวันพรุ่ง แล้วถวาย
ข้าวต้มแก่พวกเธอผู้เข้าสู่เรือนแล้ว ครั้นถวายเสร็จแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายฉัน
ข้าวต้มแล้วจึงถวายว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรเหล่านี้ แก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายผู้ฉัน
ข้าวต้มของข้าพเจ้า. จีวรนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ ได้ฉันข้าวต้มแล้ว
เท่านั้น ส่วนข้าวต้มอันภิกษุเหล่าใดผู้ผ่านไปทางประตูเรือน หรือผู้เข้าไปสู่เรือน
ด้วยภิกขาจารวัตรจึงได้ หรือข้าวต้มที่ชนทั้งหลายนำบาตรของภิกษุเหล่าใดมา
จากอาสนศาลาแล้วนำไปถวาย, หรือข้าวต้มอันพระเถระทั้งหลายส่งไป เพื่อ
ภิกษุเหล่าใด ย่อมไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่านั้น. แต่ถ้าว่าภิกษุแม้เหล่าอื่น กับภิกษุที่
ได้รับนิมนต์มากันมาก นั่งเต็มทั้งภายในเรือนและนอกเรือน หากทายกกล่าว
อย่างนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จะเป็นผู้ได้รับนิมนต์ หรือไม่ได้รับนิมนต์
ก็ตาม ข้าวต้มข้าพเจ้าได้ถวายแล้ว แก่พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใด ผ้าเหล่านี้ จง