เมนู

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า ธรรมดาอวิปปวาสสีมา
ประมาณตั้ง 3 โยชน์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุผู้ดังอยู่ใน 3 โยชน์จักรับลาภได้.
ผู้ตั้งอยู่ใน 3 โยชน์ จักพึงบำเพ็ญอาคันตุกวัตรเข้าสู่อาราม, ผู้เตรียมจะไปจัก
เดินทาง 3 โยชน์ จึงจักบอกมอบเสนาสนะ, สำหรับผู้ปฏิบัตินิสัย ๆ จักระงับ
ต่อเมื่อล่วง 3 โยชน์ไป, ผู้อยู่ปริวาส จักพึงก้าวล่วง 3 โยชน์แล้ว รับอรุณ.
ภิกษุณีตั้งอยู่ในระยะ 3 โยชน์ จักพึงบอกเล่าการที่จะเข้าสู่อาราม กิจนี้ทั้ง
หมดสมควรทำด้วยอำนาจแดนกำหนดแห่งอุปจารสีมาเท่านั้น, เพราะเหตุนั้น
สงฆ์ตั้งอยู่ในอุปจารสีมาเท่านั้นพึงแบ่งกัน.

ถวายตามกติกา


บทว่า กติกาย ได้แก่ กติกา มีลาภเสมอกัน. ด้วยเหตุนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อาวาสมากหลายมีลาภเสมอกัน
ในหลายอาวาสมีลาภเสมอกันนั้น พึงดังกติกาอย่างนี้:-
ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในวิหารหนึ่ง ระบุชื่อวัดที่ตนมีประสงค์จะ
สงเคราะห์ ปรารถนาจะทำให้เป็นแดนมีลาภเสมอกัน กล่าวเหตุอย่างใดอย่าง
หนึ่งว่า วัดโน้น เป็นวัดเก่า หรือว่า วัดโน้น เป็นที่พระพุทธเจ้าเคยอยู่
หรือว่า วัคโน้น มีลาภน้อย แล้วประกาศ 3 ครั้งว่า การที่ทำวัดนั้นกับวัด
แม้นี้ ให้เป็นแดนมีลาภอันเดียวกัน พอใจสงฆ์ ดังนี้.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุแม้นั่งแล้วในวัดนั้น เธอย่อมเป็นเหมือน
นั่งแล้วในวัดนี้, อันสงฆ์แม้ในวัดนั้น พึงทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ ภิกษุแม้นั่งแล้วในวัดนี้, เธอย่อมเป็นเหมือนผู้นั่งแล้วในวัดนั้น.
เมื่อแบ่งลาภกันอยู่ในวัดหนึ่ง, อันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอีกวัดหนึ่ง สมควรได้รับส่วน
แบ่งด้วย. วัดแม้มาก ก็พึงกระทำให้เป็นที่มีลาภอันเดียวกันกับวัดอันหนึ่ง
โดยอุบาอย่างนั้น.

ถวายในที่ซึ่งตกแต่งภิกษา


บทว่า ภิกขาปญฺญตฺติยา ได้แก่ ในสถานเป็นที่ตกแต่งทานบริจาค
ของตน. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทานบริจาคที่ประจำ
อันตนทำแก่สงฆ์ในวัดใด.
พึงทราบเนื้อความแห่งคำนั้น ดังนี้:-
ภัตทานของสงฆ์ ซึ่งเป็นของทายกผู้ถวายจีวรนี้ เป็นไปในวัดใดก็ดี,
ทายกทำภิกษุทั้งหลายในวัดใด ให้เป็นภาระของตน นิมนต์ให้ฉันในเรือนทุก
เมื่อก็ดี, ในวัดใดเขาสร้างที่อยู่ไว้ก็ดี, ในวัดใดเขาถวายสลากภัตเป็นต้นเป็น
นิตย์ก็ดี, แต่วัดแม้ทั้งสิ้นอันทายกใดสร้าง, ในวัดนั้น ของทายกนั้น ไม่มีคำ
ที่จะพึงกล่าวเลย. ภัตบริจาคเหล่านี้ จัดเป็นภัตบริจาคประจำ, เพราะเหตุนั้น
ถ้าเขากล่าวว่าภัตบริจาคประจำของข้าพเจ้ากระทำอยู่ในวัดใด, ข้าพเจ้าถวายใน
วัดนั้น หรือว่า ท่านจงให้ในวัดนั้น แม้หากว่า มีภัตบริจาคประจำในที่หลาย
แห่ง, จีวรนั้นเป็นอันเขาถวายทั่วทุกแห่งทีเดียว.
ก็ถ้าว่า ในวัดหนึ่งมีภิกษุมากกว่า, ภิกษุเหล่านั้น พึงบอกว่า ในวัด
ที่มีภัตบริจาคเป็นประจำของพวกท่าน วัดหนึ่งมีภิกษุมาก วัดหนึ่งมีภิกษุน้อย.
ถ้าหากเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาตามจำนวนภิกษุเถิด สมควรแบ่งถือ
เอาตามนั้น.
ก็ในคำว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาตามจำนวนภิกษุเถิด นี้ ผ้าและเภสัช
เป็นต้น แม้น้อย ย่อมแบ่งกันได้โดยง่าย, แต่ถ้าว่าเตียงหรือตั่งมีตัวเดียวเท่านั้น,
พึงถามเขาแล้ว พึงให้สำหรับวัดหรือเสนาสนะแม้ในวัดหนึ่งที่เขาสั่ง ถ้าเขา
กล่าวว่า ภิกษุโน้นจงถือเอา ดังนี้ควรอยู่.