เมนู

เพราะค่าที่จีวรนั้นแลตนได้แล้ว, เพราะฉะนั้น สองฝ่ายพึงเป็นผู้พร้อมกัน
แจกกันตามลำดับผู้แก่.
ได้ยินว่า นี่เป็นลักษณะในสมุทรอื่น1 (คือชมพูทวีป)
ส่วนในข้อว่า ตสฺมึเยว ปกฺเข นี้ มีความว่า ฝ่ายนอกนี้ไม่เป็น
ใหญ่เลยทีเดียว.
เรื่องส่งจีวรไปชัดเจนแล้วแล.

มาติกา 8 แห่งความเกิดขั้นแห่งจีวร


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นต้นว่า อฏฺฐิมา ภิกฺขเว
มาติกา
เพื่อแสดงเขตเป็นที่ได้จีวรที่ตรัสแล้ว จำเติมแต่ต้น.
คำว่า สีมาย เทติ เป็นอาทิ ตรัสโดยนัยปุคคลาธิษฐาน.
ก็บรรดามาติกาเหล่านี้ การถวายแก่สีมา เป็นมาติกาที่ 1. การถวาย
ตามกติกา เป็นมาติกาที่ 2, การถวายในที่ซึ่งตกแต่งภิกษา เป็นมาติกาที่ 3,
การถวายแก่สงฆ์ เป็นมาติกาที่ 4, การถวายแก่สงฆ์ 2 ฝ่าย เป็นมาติกาที่ 5,
การถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา เป็นมาติกาที่ 6, การถวายจำเพาะ เป็นมาติกาที่
7, การถวายแก่บุคคลเป็นมาติกาที่ 8.
วินิจฉัยในมาทิกาเหล่านั้น พึงทราบดังนี้:-
เมื่อทายกถวายพาดพิงถึงสีมาอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สีมา ชื่อถวาย
แก่สีมา. ในมาติกาทั้งปวงก็นัยนี้แล.

ถวายแก่สีมา


ก็ในมาติกาที่ 1 นี้ว่า ถวายแก่สีมา ในมาติกานิทเทสต้นที่ว่า ทายก
ถวายแก่สีมา, ภิกษุมีจำนวนเท่าใดอยู่ภายในสีมา ภิกษุเหล่านั้นพึงแจกกัน
ดังนี้ พึงทราบสีมา 15 ชนิดก่อน คือ:-

1. ปรสมุทฺเทติ ชมฺพูทีเปติ สารตฺถ จ วิมติ จ.

ขัณฑสีมา อุปจารสีมา สมานสังวาสสีมา อวิปปวาสสีมา ลาภสีมา
คามสีมา นิคมสีมา นครสีมา อัพภันตรสีมา อุทกุกเขปสีมา ชนปทสีมา รัฐสีมา
รัชสีมา ทีปสีมา จักกวาฬสีมา.
บรรดาสีมาเหล่านั้น ขัณฑสีมา ได้กล่าวแล้วในสีมากถา. อุปจารสีมา
เป็นแดนที่กำหนดด้วยเครื่องล้อมแห่งวัดที่ล้อม ด้วยที่ควรแก่การล้อมแห่งวัด
ที่ไม่ได้ล้อม.
อีกอย่างหนึ่ง จากสถานที่ภิกษุประชุมกันเป็นนิตย์ หรือจากโรงฉัน
อันตั้งอยู่ริมเขตวัด หรือจากอาวาสที่อยู่ประจำ ภายใน 2 ชั่วเลฑฑุบาต ของ
บุรุษผู้มีแรงปานกลางเข้ามา พึงทราบว่าเป็นอุปจารสีมา. ก็อุปจารสีมานั้น
เมื่ออาวาสขยายกว้างออกไป ย่อมขยายออก เมื่ออาวาสร่นแคบเข้า ย่อม
แคบเข้า.
แต่ในมหาปัจจรีแก้ว่า อุปจารสีมานั้น เมื่อภิกษุเพิ่มขึ้น ย่อมกว้าง
ออก เนื่องด้วยลาภ, ถ้าภิกษุทั้งหลายนั่งเต็ม 100 โยชน์ติดเนื่องเป็นหมู่เดียว
กับพวกภิกษุผู้ประชุมในวัด. แม้ที่ตั้ง 100 โยชน์ ย่อมเป็นอุปจารสีมาด้วย,
ลาภย่อมถึงแก่ภิกษุทั่วกัน. แม้สมานสังวาลสีมาและอวิปปวาสสีมาทั้ง 2 มีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่น และ.
ชนชื่อว่า ลาภสีมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหาได้ทรงอนุญาตไม่, พระ
ธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายก็ไม่ได้ตั้งไว้, ก็แต่ว่าพระราชาและมหาอมาตย์ของ
พระราชาให้สร้างวัดแล้ว กำหนดพื้นที่โดยรอบคาวุตหนึ่งบ้าง กึ่งโยชน์บ้าง
โยชน์หนึ่งบ้าง ปักเสาจารึกชื่อว่า นี้เป็นลาภสีมาสำหรับวัดของเรา แล้วปัก
แดนไว้ว่า สิ่งใดเกิดขึ้นภายในเขตนี้, สิ่งนั้นทั้งหมด เราถวายแก่วัดของเรา
นี้ชื่อว่า ลาภสีมา. ถึงคามสีมา นิคมสีมา นครสีมา อัพภันตรสีมา และ
อุทกุกเขปสีมา ก็ได้กล่าวแล้วเหมือนกัน.

ชนปทสีมา นั้น ชนบทเป็นอันมาก มีภายในแคว้นกาสีและโกศล
เป็นต้น, ในชนบทเหล่านั้น แดนกำหนดแห่งชนบทอันหนึ่ง ๆ ชื่อชนปทสีมา.
แดนกำหนดแห่งแคว้นกาสีและโกศลเป็นต้น ชื่อรัชสีมา.1
สถานเป็นที่เป็นไปแห่งอาณาของพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่ง ๆ อย่างนี้
คือ พหิโภค โจลโภค เกรฏฺฐโภค ชื่อรัช สีมา.
เกาะใหญ่ และเกาะเล็ก ซึ่งกำหนดด้วยสมุทรเป็นที่สุด ชื่อทีปสีมา
แดนที่กำหนดด้วยภูเขาจักรวาลเท่านั้น ชื่อจักกวาฬสีมา.
ในสีมาเหล่านั้น ที่กล่าวแล้วด้วยประการอย่างนี้ เมื่อทายกเห็นสงฆ์
ประชุมกันในขัณฑสีมา ด้วยกรรมบางอย่าง จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์
ในสีมานี้เท่านั้น ดังนี้. ภิกษุมีจำนวนเท่าใดอยู่ภายในขัณฑสีมา ภิกษุเหล่า
นั้น พึงแบ่งกัน. เพราะว่าจีวรนั้นย่อมถึงแก่ภิกษุเหล่านั้นเท่านั้น, ไม่ถึงแก่
ภิกษุเหล่าอื่น แม้ผู้ตั้งอยู่ที่สีมันตริก หรือที่อุปจารสีมา. แค่ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้
ตั้งอยู่บนต้นไม้หรือบนภูเขา ซึ่งขึ้นอยู่ในขัณฑสีมา หรือผู้อยู่ท่ามกลางแผ่นี้
ดินภายใต้ขัณฑสีมา เป็นแท้.
อนึ่ง จีวรที่ทายกถวายว่า ถวายแก่สงฆ์ในอุปจารสีมานี้ ย่อมถึงแม้แก่
ภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในขัณฑสีมาและสีมันตริก.
ส่วนจีวรที่ทายกถวายว่า ถวายแก่สมานสังวาสสีมา ย่อมไม่ถึงแก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในขัณฑสีมาและสีมันตริก.
จีวรที่ทายกถวายในอวิปปวาสสีมา และลาภสีมา ย่อมถึงแก่ภิกษุทั่ง
หลายผู้อยู่ร่วมในสีมาเหล่านั้น.

1. สทฺธมฺมปฺปชโชติกา ปฐม 16 ว่า รฏฐนฺติ ชนปเทกเทสํ ฯ ชนปโทติ กาสีโกสลาทิชนปโท ?
ถือเอาความว่า รัฐ เล็กกว่าชนบท ชนบทคือประเทศ. แต่ตามที่แก้ในที่นี้ กลับตรงกันข้าม จึง
ขอฝากนักศึกษาไว้ด้วย.

ส่วนจีวรที่ทายกถวายในคามสีมาเป็นต้น ย่อมถึงแม้แก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน
พัทธสีมา ภายในแห่งสีมาเหล่านั้น.
จีวรที่ถวายในอัพภันตรสีมา และอุทกุกเขปสีมา ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้อยู่
ภายในสีมาเหล่านั้นเท่านั้น.
ในชนปทสีมา รัฐสีมา รัชสีมา ทีปสีมา และจักกวาฬสีมา มีวินิจฉัย
เช่นดังกล่าวแล้วในคามสีมาเป็นต้นนั่นแล.
ก็ถ้าว่าทายกอยู่ในชมพูทวีป กล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายสงฆ์ในตามพ-
ปัณณิทวีป ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไปจากตามพปัณณิทวีป ย่อมได้เพื่อรับแทนภิกษุ
ทั้งปวง. แม้หากว่า ภิกษุผู้ชอบพอกันรูปหนึ่งในชมพูทวีปนั้นเอง จะรับส่วน
แทนภิกษุทั้งหลายที่ชอบพอกันไซร้, ไม่พึงห้ามเธอ. ในการถวายของทายก
ผู้ถวายของพาดพิงถึงสีมา พึงทราบวินิจฉัยอย่างนี้ก่อน.
ฝ่ายทายกใด ไม่เข้าใจที่จะพูดว่า ในสีมาโน้น รู้แต่เพียงคำว่า สีมา
อย่างเดียวเท่านั้น มาวัดกล่าวว่า ถวายแก่สีมา หรือว่า ถวายสงฆ์ผู้ตั้งอยู่ใน
สีมา ดังนี้.
พึงถามทายกนั้นว่า ขึ้นชื่อว่าสีมา มีหลายอย่าง, ท่านพูดหมายเอา
สีมาอย่างไหน ?
ถ้าเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้จักว่า สีมาชนิดโน้น ๆ สงฆ์ผู้ตั้งอยู่ในสีมา
จงแบ่งกันถือเอาเถิด ดังนี้.
สงฆ์ในสีมาไหน จะพึงแบ่งกัน ?
ได้ยินว่า พระมหาสิวัตเถระกล่าวว่า สงฆ์ในอวิปปวาสสีมาพึงแบ่ง
กัน.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า ธรรมดาอวิปปวาสสีมา
ประมาณตั้ง 3 โยชน์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุผู้ดังอยู่ใน 3 โยชน์จักรับลาภได้.
ผู้ตั้งอยู่ใน 3 โยชน์ จักพึงบำเพ็ญอาคันตุกวัตรเข้าสู่อาราม, ผู้เตรียมจะไปจัก
เดินทาง 3 โยชน์ จึงจักบอกมอบเสนาสนะ, สำหรับผู้ปฏิบัตินิสัย ๆ จักระงับ
ต่อเมื่อล่วง 3 โยชน์ไป, ผู้อยู่ปริวาส จักพึงก้าวล่วง 3 โยชน์แล้ว รับอรุณ.
ภิกษุณีตั้งอยู่ในระยะ 3 โยชน์ จักพึงบอกเล่าการที่จะเข้าสู่อาราม กิจนี้ทั้ง
หมดสมควรทำด้วยอำนาจแดนกำหนดแห่งอุปจารสีมาเท่านั้น, เพราะเหตุนั้น
สงฆ์ตั้งอยู่ในอุปจารสีมาเท่านั้นพึงแบ่งกัน.

ถวายตามกติกา


บทว่า กติกาย ได้แก่ กติกา มีลาภเสมอกัน. ด้วยเหตุนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อาวาสมากหลายมีลาภเสมอกัน
ในหลายอาวาสมีลาภเสมอกันนั้น พึงดังกติกาอย่างนี้:-
ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในวิหารหนึ่ง ระบุชื่อวัดที่ตนมีประสงค์จะ
สงเคราะห์ ปรารถนาจะทำให้เป็นแดนมีลาภเสมอกัน กล่าวเหตุอย่างใดอย่าง
หนึ่งว่า วัดโน้น เป็นวัดเก่า หรือว่า วัดโน้น เป็นที่พระพุทธเจ้าเคยอยู่
หรือว่า วัคโน้น มีลาภน้อย แล้วประกาศ 3 ครั้งว่า การที่ทำวัดนั้นกับวัด
แม้นี้ ให้เป็นแดนมีลาภอันเดียวกัน พอใจสงฆ์ ดังนี้.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุแม้นั่งแล้วในวัดนั้น เธอย่อมเป็นเหมือน
นั่งแล้วในวัดนี้, อันสงฆ์แม้ในวัดนั้น พึงทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ ภิกษุแม้นั่งแล้วในวัดนี้, เธอย่อมเป็นเหมือนผู้นั่งแล้วในวัดนั้น.
เมื่อแบ่งลาภกันอยู่ในวัดหนึ่ง, อันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอีกวัดหนึ่ง สมควรได้รับส่วน
แบ่งด้วย. วัดแม้มาก ก็พึงกระทำให้เป็นที่มีลาภอันเดียวกันกับวัดอันหนึ่ง
โดยอุบาอย่างนั้น.