เมนู

ฝ่ายบริขารทั้งหลายที่ภิกษุไข้ไม่ได้ให้แก่บุคคลเหล่าอื่น เก็บไว้ในที่
ไกล ย่อมเป็นของสงฆ์ในที่นั้น ๆ เท่านั้น.
ถ้าเป็นของ 2 เจ้าของมิได้แบ่งกัน, เมื่อฝ่ายหนึ่งทำกาลกิริยา อีก
ฝ่ายหนึ่งย่อมเป็นเจ้าของ, ในของแม้มากเจ้าของ ก็นัยนี้แล.
เมื่อเจ้าของมรณภาพ ทั้งหมด ย่อมเป็นของสงฆ์.
ถึงหากว่า ภิกษุผู้เป็นเจ้าของเหล่านั้น ไม่แบ่งกัน ให้แก่นิสิตทั้งหลาย
มีสัทธิวิหาริกเป็นต้น, ไม่เป็นอันให้เลย, ต่อสละให้แล้วจึงเป็นอันให้ด้วยดี,
เมื่อภิกษุผู้เป็นเจ้าของเหล่านั้น แม้มรณภาพแล้วย่อมเป็นของนิสิตทั้งหลาย มี
สัทธิวิหาริกเป็นต้น เท่านั้น, ไม่เป็นของสงฆ์.

ว่าด้วยจีวรที่ไม่ควร


วินิจฉัยในจีวรคากรองเป็นอาทิ. พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อกฺถนาลํ ได้แก่ จีวรที่ทำด้วยก้านรัก.
ผ้าที่ทำด้วยปอ เรียกว่าผ้าเปลือกไม้. ผ้าที่เหลือ ได้กล่าวไว้แล้วใน
อรรถกถาแห่งปฐมปาราชิก.1
ในผ้าเหล่านั้น เฉพาะผ้าเปลือกไม้ ปรับทุกกฏ ในผ้าที่เหลือปรับ
ถุลลัจจัย.
ส่วนผ้าเปลือกรัก ผ้ากาบกล้วยและผ้าเปลือกละหุ่ง มีคติอย่างผ้า
เปลือกไม้เหมือนกัน.
จีวรมีสีเขียวล้วนเป็นต้น พึงสำรอกสีเสีย ย้อมใหม่แล้วจึงใช้ ถ้า
เป็นของที่ไม่อาจสำรอกสีได้, พึงให้กระทำเป็นผ้าปูลาดหรือพึงแทรกไว้ใน
ท่ามกลางจีวรสองขัน.

1. สมนฺต. ปฐม. 279.

ความเป็นต่าง ๆ กันแห่งสีของจีวรเหล่านั้น มีนัยดังกล่าวแล้วใน
รองเท้านั่นแล.
ผ้าทั้งหลายที่มีชายไม่ได้ตัดและมีชายยาว พึงตัดชายเสียแล้ว จึงใช้.
ภิกษุได้เสื้อแล้วเลาะออกย้อมใช้ ย่อมควร. แม้ในผ้าโพกก็นัยนี้แล.
ส่วนหมวกเป็นของที่ทำด้วยเปลือกไม้ จะทำหมวกนั้น ให้เป็นของ
สำหรับเช็ดเท้าก็ควร.

ว่าด้วยผู้ควรรับจีวรเป็นต้น


สองบทว่า ปฏิรูเป คาหเก มีความว่า ถ้าภิกษุบางรูปรับเอาด้วย
กล่าวว่า เรารับแทนภิกษุนั้น พึงให้. ด้วยประการอย่างนี้แล บรรดาบุคคล
23 คน เหล่านั้น ไม่ได้ 16 คน ได้ 7 คน ฉะนี้แล.
สองบทว่า สงฺโฆ ภิชฺชติ มีความว่า ภิกษุทั้งหลายแตกกันเป็น
2 ฝ่าย เหมือนภิกษุชาวเมืองโกสัมพี.
สองบทว่า เอกสฺมึ ปกฺเข มีความว่า ชนทั้งหลายถวายน้ำทักขิโณทก
และวัตถุมีของหอมเป็นต้นในฝ่ายหนึ่ง. ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง.
บทว่า สงฺฆสฺเสเวตํ มีความว่า จีวรนั้น ย่อมเป็นของสงฆ์ทั้งสิ้น
คือ ของทั้งสองฝ่าย, ทั้งสองฝ่ายพึงตีระฆังแล้วแบ่งด้วยกัน.
บทว่า ปกฺขสฺเสเวตํ มีความว่า เมื่อชนทั้งหลายถวายอย่างนั้น น้ำ-
อันเขาถวายแล้วแก่ฝ่ายใด, น้ำนั่นแลย่อมเป็นของฝ่ายนั้น จีวรอันถวายแล้ว
แก่ฝ่ายใด จีวรย่อมเป็นของฝ่ายนั้นเท่านั้น.
ในมหาอรรถกถาแก้ว่า ก็ในที่ใด น้ำทักขิโณทกเป็นประมาณ ในที่
นั้น ฝ่ายหนึ่งย่อมได้จีวร เพราะคนได้น้ำทักขิโณทก ฝ่ายหนึ่งก็ย่อมได้