เมนู

วินิจฉัยในลาภของภิกษุผู้พยาบาลไข้



ส่วนในลาภของภิกษุผู้พยาบาลไข้ มีวินิจฉัยตั้งแต่ต้น ดังต่อไปนี้:-
หากภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นพยาบาล ภิกษุไข้ทำกาลกิริยา, เป็นเจ้าของ
ทั้งหมด.
หากว่า บางพวกทำเวร. บางพวกไม่ทำเวรเลย, ภิกษุไข้ทำกาลกิริยา,
ในกาลกิริยาอย่างนั้นของภิกษุนั้น อาจารย์บางพวกกล่าวว่าภิกษุแม้ทั้งปวง พึง
ทำในวาระที่ถึงคน, เพราะฉะนั้นภิกษุแม้ทั้งปวงเป็นเจ้าของ
บางพวกกล่าวว่า ภิกษุไข้นั้น อันภิกษุเหล่าใดพยาบาล ภิกษุเหล่า
นั้นเท่านั้น ย่อมได้, ภิกษุนอกจากนั้น ไม่ได้.
ถ้าว่า เมื่อสามเณรแม้ทำกาลกิริยา จีวรของเธอมีอยู่. พึงให้แก่ผู้
พยาบาลไข้, ถ้าจีวรไม่มี, สิ่งใดมี พึงให้สิ่งนั้น. เมื่อบริขารอื่นมีอยู่ พึงทำ
ให้เป็นส่วนแห่งจีวรให้.
ทั้งภิกษุและสามเณร ถ้าว่าพยาบาลเท่ากัน, พึงให้ส่วนเท่ากัน
หากว่า สามเณรเท่านั้นพยาบาล, กิจสักว่าช่วยจัดแจงเท่านั้นเป็นของ
ภิกษุ พึงให้ส่วนใหญ่แก่สามเณร.
ถ้าว่า สามเณรต้มยาคูด้วยน้ำที่ภิกษุนำมา ทำกิจสักว่าให้รับประเคน
เท่านั้น, ภิกษุพยาบาล, พึงให้ส่วนใหญ่แก่ภิกษุ.
ภิกษุหลายรูป เป็นผู้พร้อมเพรียงช่วยกันพยาบาลทั้งหมด, พึงให้ส่วน
เท่ากัน แก่เธอทั่วกัน.
ก็ในภิกษุเหล่านี้ รูปใดพยาบาลโดยพิเศษ, พึงให้ส่วนพิเศษแก่ภิกษุ
นั้น.
อนึ่ง ผู้ใดหุงต้มยาคูและภัตให้ หรือจัดแจงอาบน้ำ โดยเนื่องด้วยผู้
พยาบาลไข้ วันหนึ่ง, แม้ผู้นั้น ก็จัดว่า ผู้พยาบาลไข้เหมือนกัน.

ภิกษุใดไม่เข้าใกล้ ส่งแต่ยาและข้าวสารเป็นต้นบ้าง, ภิกษุนี้ไม่จัดว่า
ผู้พยาบาลไข้.
ฝ่ายภิกษุใด แสวงหาให้อนุปสัมบันถือมา, ภิกษุนี้จัดเป็นผู้พยาบาลไข้
แท้, พึงให้ส่วนแม้แก่ภิกษุนั้น.
รูปหนึ่งพยาบาลด้วยเพ่งวัตรเป็นใหญ่, รูปหนึ่งพยาบาลด้วยหวังลาภ
ในเวลาที่ภิกษุไข้มรณภาพ เธอทั้งสองจำนง, พึงให้แก่เธอทั้งสองรูป
รูปหนึ่งพยาบาลแล้ว ไปในที่ไหน ๆ เสีย ด้วยธุระของภิกษุไข้ หรือ
ด้วยธุระของตน คิดว่า เราจักมาพยาบาลอีก แม้ภิกษุนี้ก็ควรให้.
รูปหนึ่งพยาบาลอยู่นานแล้ว ทอดธุระไปเสียว่า บัดนี้ เราไม่สามารถ
แม้ถ้าว่า ภิกษุไข้มรณภาพในวันนั้นเอง ไม่พึงให้ส่วนแห่งผู้พยาบาล.
ขึ้นชื่อว่า ผู้พยาบาลไข้ เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็นบรรพชิต หรือโดย
ที่สุด แม้เป็นมาตุคามก็ตามที ทุกคนย่อมได้ส่วน. หากว่าของภิกษุนั้น มี
แต่สักว่าบาตรและจีวรเท่านั้น, ของอื่นไม่มี. บาตรและจีวรทั้งหมด พึงให้แก่
ผู้พยาบาลไข้เท่านั้น, แม้หากว่า จะตีราคาตั้งพัน.
แค่ผู้พยาบาลเหล่านั้น ย่อมไม่ได้บริขารแม้มากอย่างอื่น บริขาร
อย่างอื่น ย่อมเป็นของสงฆ์เท่านั้น. สิ่งจองที่เหลือมากและมีราคามาก ไตร
จีวรมีราคาน้อย, บริขารคือไตรจีวรพึงถือเอาจากสิ่งของที่เหลือนั้นให้. ก็
บาตรไตรจีวรนั้นทั้งหมดอันผู้พยาบาลไข้ ย่อมได้จากของสงฆ์เทียว
ก็ถ้าว่า ภิกษุไข้นั้น ยังเป็นอยู่ทีเดียว ได้ปลงบริขารของตนทั้งหมด
ให้แก่ใคร ๆ เสีย, หรือว่าใคร ๆ ได้ถือวิสาสะเอาเสีย, ของนั้นเธอให้แล้วแก่
ผู้ใด, และอันผู้ใดถือเอาแล้ว, ย่อมเป็นของผู้นั้น เท่านั้น, ผู้พยาบาลไข้ย่อมได้
ด้วยความชอบใจของผู้นั้นเท่านั้น.

ฝ่ายบริขารทั้งหลายที่ภิกษุไข้ไม่ได้ให้แก่บุคคลเหล่าอื่น เก็บไว้ในที่
ไกล ย่อมเป็นของสงฆ์ในที่นั้น ๆ เท่านั้น.
ถ้าเป็นของ 2 เจ้าของมิได้แบ่งกัน, เมื่อฝ่ายหนึ่งทำกาลกิริยา อีก
ฝ่ายหนึ่งย่อมเป็นเจ้าของ, ในของแม้มากเจ้าของ ก็นัยนี้แล.
เมื่อเจ้าของมรณภาพ ทั้งหมด ย่อมเป็นของสงฆ์.
ถึงหากว่า ภิกษุผู้เป็นเจ้าของเหล่านั้น ไม่แบ่งกัน ให้แก่นิสิตทั้งหลาย
มีสัทธิวิหาริกเป็นต้น, ไม่เป็นอันให้เลย, ต่อสละให้แล้วจึงเป็นอันให้ด้วยดี,
เมื่อภิกษุผู้เป็นเจ้าของเหล่านั้น แม้มรณภาพแล้วย่อมเป็นของนิสิตทั้งหลาย มี
สัทธิวิหาริกเป็นต้น เท่านั้น, ไม่เป็นของสงฆ์.

ว่าด้วยจีวรที่ไม่ควร


วินิจฉัยในจีวรคากรองเป็นอาทิ. พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อกฺถนาลํ ได้แก่ จีวรที่ทำด้วยก้านรัก.
ผ้าที่ทำด้วยปอ เรียกว่าผ้าเปลือกไม้. ผ้าที่เหลือ ได้กล่าวไว้แล้วใน
อรรถกถาแห่งปฐมปาราชิก.1
ในผ้าเหล่านั้น เฉพาะผ้าเปลือกไม้ ปรับทุกกฏ ในผ้าที่เหลือปรับ
ถุลลัจจัย.
ส่วนผ้าเปลือกรัก ผ้ากาบกล้วยและผ้าเปลือกละหุ่ง มีคติอย่างผ้า
เปลือกไม้เหมือนกัน.
จีวรมีสีเขียวล้วนเป็นต้น พึงสำรอกสีเสีย ย้อมใหม่แล้วจึงใช้ ถ้า
เป็นของที่ไม่อาจสำรอกสีได้, พึงให้กระทำเป็นผ้าปูลาดหรือพึงแทรกไว้ใน
ท่ามกลางจีวรสองขัน.

1. สมนฺต. ปฐม. 279.