เมนู

ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว เป็นอันภิกษุทั้งหลายให้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้
บ้าง. ก็การให้ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยหลาย
วัดมีสีมาเดียวกัน แต่ต่างลาภ ต่างอุปจาระกัน. ส่วนในวัดที่ต่างสีมากัน การ
ถือเสนาสนะย่อมระงับ. เพราะเหตุนั้น สิ้นแห่งจีวรในวัดนั้น ย่อมไม่ถึง
(แก่เธอ). แต่สิ่งของที่เหลือทั้งหมด มีอามิสและเภสัชเป็นต้น ย่อมถึงแก่
ภิกษุผู้อยู่ภายในสีมา ในวัดที่มีสีมาเดียวกัน และวัดที่มีสีมาต่าง ๆ กันทั้งปวง.

ว่าด้วยคิลานุปัฏฐาก


สองบทว่า มญฺจเก นิปาเตสุํ มีความว่า ครั้นล้างแล้วอย่างนั้น
นุ่งผ้ากาสาวะผืนอื่นให้แล้ว จึงให้นอนบนเตียน; ก็แลพอให้นอนแล้ว พระ-
อานนท์ผู้มีอายุ ได้ซักผ้ากาสาวะที่เปื้อนมูตรและกรีสแล้วได้ทำการชำระล้าง
ที่พื้น.
ข้อว่า โย ภิกฺขเว มํ อุปฏฺฐเหยฺย โส คิลานํ อุปฏฺฐเหยฺย มี
ความว่า ภิกษุใด พึงอุปัฏฐากเราด้วยทำตามโอวาทานุศาสนี, ภิกษุนั้น พึง
อุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธเถิด.
ในข้อนี้ มีเนื้อความดังนี้ว่า ภิกษุผู้ทำตามโอวาทของเรา พึงอุปัฏ-
ฐากภิกษุผู้อาพาธ และในข้อนี้ ไม่ควรถือเอาเนื้อความอย่างนี้ว่า การอุปัฏฐาก
พระผู้มีพระภาคเจ้า กับอุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธเป็นเช่นเดียวกัน.
ข้อว่า สงฺเฆน อุปฏฺฐาเปตพฺโพ มีความว่า ภิกษุเหล่านี้อุปัช-
ฌาย์เป็นต้น ของภิกษุใด ไม่มีในวัดนั้น ภิกษุใดเป็นอาคันตุกะเที่ยวไปรูป
เดียว, ภิกษุนั้น เป็นภาระของภิกษุสงฆ์ เพราะเหตุนั้น เธออันสงฆ์พึงอุปัฏฐาก
ถ้าไม่อุปัฏฐาก เป็นอาบัติแก่สงฆ์ทั้งสิ้น.
ก็แล ในภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งวาระพยาบาล ภิกษุใด ไม่พยาบาลในวาระ
ของตน เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น. แม้พระสังฆเถระก็ไม่พ้นจากวาระ.

ถ้าสงฆ์ทั้งสิ้นไว้ภาระแก่ภิกษุรูปหนึ่ง หรือภิกษุผู้บริบูรณ์ด้วยวัตรรูป
หนึ่ง รับรองว่า ข้าพเจ้าจักพยาบาลเอง แล้วปฏิบัติอยู่ สงฆ์พ้นจากอาบัติ.
ในข้อว่า อภิกฺกนฺตํ วา อภิกฺกมติ เป็นอาทิ พึงเห็นใจความ
อย่างนี้ว่า:-
ภิกษุผู้อาพาธไม่ชี้แจงอาพาธอันกำเริบอยู่ตามจริงว่า เมื่อข้าพเจ้า
บริโภคยาชื่อนี้ อาพาธกำเริบ เมื่อข้าพเจ้าบริโภคยาชื่อนี้ อาพาธค่อยทุเลา
เมื่อข้าพเจ้าบริโภคยาชื่อนี้ อาพาธทรงอยู่.
บทว่า นาลํ มีความว่าผู้ไม่เหมาะ คือไม่สมควรเพื่อพยาบาล.
สองบทว่า เภสชฺชํ สํวิธาตุํ มีความว่า เป็นผู้ไม่สามารถเพื่อ
ประกอบยา.
บทว่า อามิสนฺตโร มีวิเคราะห์ว่า อามิสเป็นเหตุของภิกษุนั้น
เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อผู้มีอามิสเป็นเหตุ. เหตุท่านเรียกว่า อนฺตรํ ความว่า
ภิกษุผู้มีอามิสเป็นเหตุ ปรารถนายาคู ภัต บาตร และจีวร จึงพยาบาล.
บทว่า กาลกเต คือ เพราะทำกาลกิริยา.
วินิจฉัยในข้อว่า คิลานุปฏฺฐาถานํ ทาตุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
บาตรและจีวร ของภิกษุผู้ทำกาลกิริยานั้น อันสงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้
พยาบาล ด้วยกรรมวาจาที่ตรัสเป็นลำดับไปก็ดี อปโลกน์ให้ก็ดี ย่อมเป็นอัน
ให้เหมือนกัน, ควรทั้งสองอย่าง.
ในข้อว่า ยํ ตตฺถ ลหุภณฺฑํ ยํ ตตฺถ ครุภณฺฑํ ข้าพเจ้าจัก
พรรณนาความกระทำต่างกันแห่งลหุภัณฑ์และครุภัณฑ์ข้างหน้า.

วินิจฉัยในลาภของภิกษุผู้พยาบาลไข้



ส่วนในลาภของภิกษุผู้พยาบาลไข้ มีวินิจฉัยตั้งแต่ต้น ดังต่อไปนี้:-
หากภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นพยาบาล ภิกษุไข้ทำกาลกิริยา, เป็นเจ้าของ
ทั้งหมด.
หากว่า บางพวกทำเวร. บางพวกไม่ทำเวรเลย, ภิกษุไข้ทำกาลกิริยา,
ในกาลกิริยาอย่างนั้นของภิกษุนั้น อาจารย์บางพวกกล่าวว่าภิกษุแม้ทั้งปวง พึง
ทำในวาระที่ถึงคน, เพราะฉะนั้นภิกษุแม้ทั้งปวงเป็นเจ้าของ
บางพวกกล่าวว่า ภิกษุไข้นั้น อันภิกษุเหล่าใดพยาบาล ภิกษุเหล่า
นั้นเท่านั้น ย่อมได้, ภิกษุนอกจากนั้น ไม่ได้.
ถ้าว่า เมื่อสามเณรแม้ทำกาลกิริยา จีวรของเธอมีอยู่. พึงให้แก่ผู้
พยาบาลไข้, ถ้าจีวรไม่มี, สิ่งใดมี พึงให้สิ่งนั้น. เมื่อบริขารอื่นมีอยู่ พึงทำ
ให้เป็นส่วนแห่งจีวรให้.
ทั้งภิกษุและสามเณร ถ้าว่าพยาบาลเท่ากัน, พึงให้ส่วนเท่ากัน
หากว่า สามเณรเท่านั้นพยาบาล, กิจสักว่าช่วยจัดแจงเท่านั้นเป็นของ
ภิกษุ พึงให้ส่วนใหญ่แก่สามเณร.
ถ้าว่า สามเณรต้มยาคูด้วยน้ำที่ภิกษุนำมา ทำกิจสักว่าให้รับประเคน
เท่านั้น, ภิกษุพยาบาล, พึงให้ส่วนใหญ่แก่ภิกษุ.
ภิกษุหลายรูป เป็นผู้พร้อมเพรียงช่วยกันพยาบาลทั้งหมด, พึงให้ส่วน
เท่ากัน แก่เธอทั่วกัน.
ก็ในภิกษุเหล่านี้ รูปใดพยาบาลโดยพิเศษ, พึงให้ส่วนพิเศษแก่ภิกษุ
นั้น.
อนึ่ง ผู้ใดหุงต้มยาคูและภัตให้ หรือจัดแจงอาบน้ำ โดยเนื่องด้วยผู้
พยาบาลไข้ วันหนึ่ง, แม้ผู้นั้น ก็จัดว่า ผู้พยาบาลไข้เหมือนกัน.