เมนู

ข้อว่า ตสฺเสว ตานิ จีวรานิ ยาว กฐินสฺส อุพภาราย มีความ
ว่า หากว่า ได้ภิกษุครบคณะ กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้น เป็น
ของเธอตลอด 5 เดือน; ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดจีวรมาสเดือนเดียวเท่านั้น.
จีวรใด ๆ อันพวกทายกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ก็ดี ถวายว่า ข้าพเจ้า
ถวายเฉพาะสงฆ์ ก็ดี ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ก็ดี
ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายผ้าจำนำพรรษา ก็ดี ถึงแม้ว่า จีวรมรดกยิ่งมิได้แจก
ภิกษุทั้งหลายเข้าไปสู่วัดนั้น ๆ จีวรทั้งปวงนั้น ย่อมเป็นของภิกษุผู้กรานกฐินนั้น
เท่านั้น ภิกษุนั้น ถือเอาผ้าจำนำพรรษาแม้ใด จากทุนทรัพย์ไวยาวัจกร
ตั้งไว้ประกอบดอกเบี้ย เพื่อประโยชน์แก่ผ้าจำนำพรรษา หรือจากกัลปนา
สงฆ์อันเกิดในวัดนั้น ผ้าจำนำพรรษานั้นทั้งหมดเป็นอันเธอถือเอาด้วยดีแท้.
จริงอยู่ ในคำว่า ตสฺเสว ตานิ จิวรานิ ยาว กฐินสฺส อุพฺการาย
นี้ มีลักษณะดังนี้:-
ผ้าที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ด้วยอาการใด ๆ ก็ตาม ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้กราน
กฐินแล้วตลอด แก่ภิกษุไม่ได้กรานกฐิน ตลอดจีวรมาสเดือนหนึ่ง.
ส่วนผ้านี้ใดที่ทายกบอกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาในวัดนี้ หรือ
ว่า ข้าพเจ้าถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้านั้นย่อมถึงแม้แก่ภิกษุผู้มิได้กรานกฐิน
ตลอด 5 เดือน. ผ้าจำนำพรรษาที่เกิดขึ้น นอกจากผ้าที่กล่าวแล้วนั้น ภิกษุ
พึงถามดูว่า นี่เป็นผ้าจำนำพรรษาสำหรับพรรษาที่ล่วงไปแล้วหรือ ? หรือว่า
สำหรับพรรษาที่ยังไม่มา เหตุไรจึงต้องถาม ? เพราะผ้านั้นเกิดขึ้นหลังสมัย

ว่าด้วยผ้าที่เกิดขึ้นในฤดูกาล


บทว่า อุตุกาลํ ได้แก่ กาลอื่นจากฤดูฝน.
วินิจฉัยในคำว่า ตานิ จีวรานิ อาทาย สาวตฺถึ คนฺตฺวา นี้ พึง
ทราบดังนี้:-

จีวรเหล่านั้น ย่อมเป็นของสงฆ์ในที่ ๆ เธอไปถึงแล้ว ๆ เท่านั้น ผ้า
สักว่าอันภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วเท่านั้น เป็นประมาณในการถือเอาจีวรนี้: เพราะ
เหตุนั้น หากภิกษุบางพวกเดินสวนทางนา ถามว่า ไปไหนคุณ ได้ฟังเนื้อ
ความนั้นแล้วกล่าวว่า เราทั้งหลายไม่เป็นสงฆ์หรือคุณ ? แล้วแบ่งกันถือเอา
ในที่นั้นทีเดียว เป็นอันถือเอาด้วยดี. แม้ถ้าว่า ภิกษุนั้นและออกจากทาง เข้า
สู่วัดหรืออาสนศาลาบางแห่งก็ดี เมื่อเที่ยวบิณฑบาต เข้าสู่เฉพาะเรือนหลัง
หนึ่งก็ดี ก็แล ภิกษุทั้งหลายในที่นั้น เห็นเธอแล้วถามเนื้อความนั้นแล้วแบ่ง
กันถือเอา เป็นอันถือเอาด้วยดีเหมือนกัน.
วินิจฉัยในข้อว่า อธิฏฺฐาตุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
อันภิกษุผู้จะอธิษฐาน พึงรู้จักวัตร ความพิสดารว่า ภิกษุนั้นพึงที่
ระฆังประกาศเวลาแล้ว คอยหน่อยหนึ่ง ถ้าภิกษุทั้งหลายมาตามสัญญาระฆัง
หรือตามกำหนดเวลา พึงแบ่งกับภิกษุเหล่านั้น; ถ้าไม่มา พึงอธิษฐานว่า จีวร
เหล่านี้ ถึงแก่เรา เมื่ออธิษฐานแล้วอย่างนั้น จีวรทั้งปวงเป็นของเธอเท่านั้น.
ส่วนลำดับไม่คงอยู่. ถ้ายกขึ้นที่ละผืน ๆ ถือเอาอย่างนี้ว่า นี้ส่วนที่ 1 ถึง
แก่เรา นี่ส่วนที่ 2, อันจีวรทีเธอถือเอาแล้ว เป็นอันถือเอาแล้วด้วยดี; แต่
ลำดับคงตั้งอยู่. จีวรเป็นอันภิกษุผู้แม้ให้ถึงถือเอาอยู่อย่างนั้น อธิษฐานแล้ว
เหมือนกัน แต่ถ้าภิกษุดีระฆังหรือไม่ดีก็ตาม ประกาศเวลาหรือไม่ประกาศก็
ตาม ถือเอาด้วยทำในใจว่า ที่นี่มีแต่เราเท่านั้น จีวรเหล่านี้ย่อมเป็นของเฉพาะ
เรา จีวรเหล่านั้น เป็นอันถือเอาไม่ชอบ. หากเธอถือเอาด้วยทำในใจว่า ที่นี่
ไม่มีใคร ๆ อื่น จีวรเหล่านี้ย่อมถึงแก่เรา เป็นอันถือเอาด้วยดี.
สองบทว่า ปาติเต กุเส มีความว่า เมื่อสลากในส่วนอันหนึ่งสักว่า
ให้จับแล้ว แม้ถ้ามีภิกษุตั้งพันรูป จีวรชื่อว่าอันภิกษุทั้งปวงถือเอาแล้ว แท้.

ข้อว่า นากามา ภาโค ทาตพฺโพ มีความว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลาย
เป็นผู้ประสงค์จะให้ตามชอบใจของตนไซร้ จงให้เถิด. แม้ในอนุภาคก็มีนัย
อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า สจีวรานิ มีความว่า ชนทั้งหลายพูดกันว่า เราทั้งหลายจัก
ถวาย แม้ซึ่งกาลจีวรแก่สงฆ์ จากส่วนอันจะพึงถวายแก่พระเถระนี้เทียว เมื่อ
กาลจีวรนั้น อันเราทั้งหลายจัดไว้แผนกหนึ่ง จะช้าเกินไป ดังนี้แล้ว ได้ทำภัต
ทั้งหลายพร้อมทั้งจีวรโดยทันทีทีเดียว.
หลายบทว่า เถเร อาคมฺม อุปฺปนฺนานิ มีความว่า จีวรเหล่านี้
พลันเกิดขึ้นเพราะความเลื่อมใสในท่านทั้งหลาย.
ข้อว่า สงฺฆสฺส เทมาติ จีวรานิ เทนฺติ มีความว่า ชนทั้งหลาย
ถวายล่าช้าจนตลอดจีวรกาลทั้งสิ้นทีเดียว. ส่วนใน 2 เรื่องก่อน พระธรรม
สังคาหกาจารย์กล่าวว่า อทํสุ เพราะชนทั้งหลายมีการถวายอันกำหนดแล้ว
สองบทว่า สมฺพหุลา เถรา ได้แก่ พระเถระผู้เป็นหัวหน้าแห่ง
พระวินัยธรทั้งหลาย. ก็แล เรื่องนี้กับเรื่องพระเถระสองพี่น้องก่อนเกิดขึ้นเมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพานแล้ว ส่วนพระเถระเหล่านี้เป็นผู้เคยเห็นพระตถาคต
เพราะเหตุนั้น ในเรื่องก่อน ๆ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวแล้ว
ตามนัยที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้นั้นแล.
สองบทว่า คมากาวาสํ อคมาสิ มีความว่า พระอุปนันทศากย-
บุตรนั้น กำหนดแล้วเทียว ซึ่งกาลเป็นที่แบ่งจีวรว่า แม้ไฉนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อแบ่งจีวรกัน พึงทำความสงเคราะห์แก่เราบ้าง ? ดังนี้ จึงได้ไป.

บทว่า สาทิยิสฺสสิ คือ จักถือเอาหรือ ? จริงอยู่ ในเรื่องนี้ส่วน
ย่อมไม่ถึงแก่พระอุปนันทศากยบุตรนั้น แม้โดยแท้ ถึงกระนั้นภิกษุเหล่านั้น
ได้กล่าวว่า ท่านจักรับหรือ ? ดังนี้ ก็ด้วยทำในใจว่า พระเถระนี้ เป็น
ชาวกรุง เป็นธรรมกถึก มีปากกล้า.
ก็วินิจฉัยในข้อว่า โย สาทิเยยฺย, อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบ
ดังนี้.
เป็นลหุกาบัติก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น จีวรที่ถือเอาแล้ว ก็ควรคืนให้ใน
ที่ซึ่งคนถือเอา; แม้หากว่า จีวรเหล่านั้นเป็นของเสียหายไปก็ดี เก่าไปก็ดี
ย่อมเป็นสินใช้แก่ภิกษุนั้นแท้. ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงให้ เมื่อ
เธอไม่ให้ พึงให้ปรับตามราคาของในเมื่อทอดธุระ.
บทว่า เอกาธิปฺปายํ มีความว่า ท่านทั้งหลาย จงให้ส่วนเป็นที่
ประสงค์อันเดียว คือ ส่วนแห่งบุคคลผู้เดียวเท่านั้น. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จะทรงวางแบบ จึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงอาการสำหรับ
ภิกษุจะพึงให้ส่วนเฉพาะบุคคลผู้เดียวนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า สเจ อมุตฺร อุปฑฺฒํ อมุตฺร
อุปฑฺฒํ
มีความว่า หากว่า ภิกษุนั้น อยู่ในวัดตำบลละวันหนึ่งบ้าง 7 วัน
บ้าง บุคคลผู้เดียว ย่อมได้ส่วนใด ในวัดตำบลหนึ่ง ๆ พึงให้วัดละกึ่งส่วน ๆ.
จากส่วนนั้น ๆ. ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว ชื่อเป็นอันภิกษุทั้งหลายให้แล้ว
ด้วยประการฉะนี้.
ข้อว่า ยตฺถ วา ปน พหุตรํ มีความว่า ถ้าภิกษุอยู่ในวัดหนึ่งรับ
แต่อรุณเท่านั้น โดยวาระ 7 วันในวัดนอกนี้ ด้วยประการอย่างนี้เธอชื่อว่าอยู่
มากกว่าในวัดก่อน; เพราะฉะนั้น พึงให้ส่วนจากวัดที่อยู่มากกว่านั้นแก่เธอ:

ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว เป็นอันภิกษุทั้งหลายให้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้
บ้าง. ก็การให้ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยหลาย
วัดมีสีมาเดียวกัน แต่ต่างลาภ ต่างอุปจาระกัน. ส่วนในวัดที่ต่างสีมากัน การ
ถือเสนาสนะย่อมระงับ. เพราะเหตุนั้น สิ้นแห่งจีวรในวัดนั้น ย่อมไม่ถึง
(แก่เธอ). แต่สิ่งของที่เหลือทั้งหมด มีอามิสและเภสัชเป็นต้น ย่อมถึงแก่
ภิกษุผู้อยู่ภายในสีมา ในวัดที่มีสีมาเดียวกัน และวัดที่มีสีมาต่าง ๆ กันทั้งปวง.

ว่าด้วยคิลานุปัฏฐาก


สองบทว่า มญฺจเก นิปาเตสุํ มีความว่า ครั้นล้างแล้วอย่างนั้น
นุ่งผ้ากาสาวะผืนอื่นให้แล้ว จึงให้นอนบนเตียน; ก็แลพอให้นอนแล้ว พระ-
อานนท์ผู้มีอายุ ได้ซักผ้ากาสาวะที่เปื้อนมูตรและกรีสแล้วได้ทำการชำระล้าง
ที่พื้น.
ข้อว่า โย ภิกฺขเว มํ อุปฏฺฐเหยฺย โส คิลานํ อุปฏฺฐเหยฺย มี
ความว่า ภิกษุใด พึงอุปัฏฐากเราด้วยทำตามโอวาทานุศาสนี, ภิกษุนั้น พึง
อุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธเถิด.
ในข้อนี้ มีเนื้อความดังนี้ว่า ภิกษุผู้ทำตามโอวาทของเรา พึงอุปัฏ-
ฐากภิกษุผู้อาพาธ และในข้อนี้ ไม่ควรถือเอาเนื้อความอย่างนี้ว่า การอุปัฏฐาก
พระผู้มีพระภาคเจ้า กับอุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธเป็นเช่นเดียวกัน.
ข้อว่า สงฺเฆน อุปฏฺฐาเปตพฺโพ มีความว่า ภิกษุเหล่านี้อุปัช-
ฌาย์เป็นต้น ของภิกษุใด ไม่มีในวัดนั้น ภิกษุใดเป็นอาคันตุกะเที่ยวไปรูป
เดียว, ภิกษุนั้น เป็นภาระของภิกษุสงฆ์ เพราะเหตุนั้น เธออันสงฆ์พึงอุปัฏฐาก
ถ้าไม่อุปัฏฐาก เป็นอาบัติแก่สงฆ์ทั้งสิ้น.
ก็แล ในภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งวาระพยาบาล ภิกษุใด ไม่พยาบาลในวาระ
ของตน เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น. แม้พระสังฆเถระก็ไม่พ้นจากวาระ.