เมนู

ว่าด้วยทำสัทธาไทยให้ตกเป็นต้น


วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว สทฺธาเทยฺยํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อให้แก่ญาติที่เหลือทั้งหลาย ซึ่งยังสัทธาไทยให้ตกไปแท้, ส่วน
มารดาบิดาแม้ตั้งอยู่ในความเป็นพระราชา ถ้าปรารถนา พึงให้.
บทว่า คิลาโน ได้แก่ ผู้ไม่สามารถจะถือเอาไปได้ เพราะเป็น
ผู้อาพาธ.
บทว่า วสฺสิกสงฺเกตํ ได้แก่ 4 เดือนในฤดูฝน.
บทว่า นทีปารํ ได้แก่ ภัตเป็นของอันภิกษุพึงฉันที่ฝั่งแม่น้ำ.
บทว่า อคฺคฬคุตฺติวิหาโร มีความว่า ก็กุฎีที่อยู่มีลิ่มเป็นเครื่อง
คุ้มครองเท่านั้น เป็นประมาณในความเป็นผู้อาพาธ ความกำหนด หมายความ
ว่า เป็นเดือนมีในฤาดูฝน ความไปสู่ฝั่งแม่น้ำ และความมีกฐินอันกรานแล้ว
เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว. จริงอยู่ ภิกษุเก็บไว้ในกุฎีที่อยู่ที่คุ้มครองเท่านั้น จึง
ควรไปในภายนอก เก็บไว้ในกุฎีที่อยู่ที่ไม่ได้คุ้มครองไม่ควรไป. แต่กุฎีที่อยู่
ของภิกษุผู้อยู่ป่า. ย่อมไม่เป็นกุฎีที่อยู่คุ้มครองด้วยดี อันภิกษุผู้อยู่ป่านั้น พึง
เก็บไว้ ในหม้อสำหรับเก็บของแล้วซ่อมไว้ในที่อันมิดชิดดี มีโพรงศิลา และ
โพรงไม้เป็นต้นแล้วจึงไป.

ว่าด้วยผ้าที่เกิดขั้นในจีวรกาล


ข้อว่า ตุยฺเหว ภิกฺขุ ตาหิ จีวรานิ มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้
ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใคร ๆ อื่นไม่เป็นใหญ่
แห่งจีวรเหล่านั้น.
ก็แล ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว จึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อ
แสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความรังเกียจถือเอา.

ข้อว่า ตสฺเสว ตานิ จีวรานิ ยาว กฐินสฺส อุพภาราย มีความ
ว่า หากว่า ได้ภิกษุครบคณะ กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้น เป็น
ของเธอตลอด 5 เดือน; ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดจีวรมาสเดือนเดียวเท่านั้น.
จีวรใด ๆ อันพวกทายกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ก็ดี ถวายว่า ข้าพเจ้า
ถวายเฉพาะสงฆ์ ก็ดี ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ก็ดี
ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายผ้าจำนำพรรษา ก็ดี ถึงแม้ว่า จีวรมรดกยิ่งมิได้แจก
ภิกษุทั้งหลายเข้าไปสู่วัดนั้น ๆ จีวรทั้งปวงนั้น ย่อมเป็นของภิกษุผู้กรานกฐินนั้น
เท่านั้น ภิกษุนั้น ถือเอาผ้าจำนำพรรษาแม้ใด จากทุนทรัพย์ไวยาวัจกร
ตั้งไว้ประกอบดอกเบี้ย เพื่อประโยชน์แก่ผ้าจำนำพรรษา หรือจากกัลปนา
สงฆ์อันเกิดในวัดนั้น ผ้าจำนำพรรษานั้นทั้งหมดเป็นอันเธอถือเอาด้วยดีแท้.
จริงอยู่ ในคำว่า ตสฺเสว ตานิ จิวรานิ ยาว กฐินสฺส อุพฺการาย
นี้ มีลักษณะดังนี้:-
ผ้าที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ด้วยอาการใด ๆ ก็ตาม ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้กราน
กฐินแล้วตลอด แก่ภิกษุไม่ได้กรานกฐิน ตลอดจีวรมาสเดือนหนึ่ง.
ส่วนผ้านี้ใดที่ทายกบอกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาในวัดนี้ หรือ
ว่า ข้าพเจ้าถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้านั้นย่อมถึงแม้แก่ภิกษุผู้มิได้กรานกฐิน
ตลอด 5 เดือน. ผ้าจำนำพรรษาที่เกิดขึ้น นอกจากผ้าที่กล่าวแล้วนั้น ภิกษุ
พึงถามดูว่า นี่เป็นผ้าจำนำพรรษาสำหรับพรรษาที่ล่วงไปแล้วหรือ ? หรือว่า
สำหรับพรรษาที่ยังไม่มา เหตุไรจึงต้องถาม ? เพราะผ้านั้นเกิดขึ้นหลังสมัย

ว่าด้วยผ้าที่เกิดขึ้นในฤดูกาล


บทว่า อุตุกาลํ ได้แก่ กาลอื่นจากฤดูฝน.
วินิจฉัยในคำว่า ตานิ จีวรานิ อาทาย สาวตฺถึ คนฺตฺวา นี้ พึง
ทราบดังนี้:-