เมนู

สองบทว่า อุสฺสาโห กรณีโย ได้แก่ พึงทำการแสวงหา. แต่
เขตกำหนดไม่มี, จะแสวงหามาแม้ตั้งร้อยผืนก็ควร. จีวรนี้ทั้งหมด พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสสำหรับภิกษุผู้ยินดี.
วินิจฉัยในข้อว่า อคฺคฬํ ตุนฺนํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ท่อนผ้าที่ภิกษุยกขึ้นทาบให้ติดกัน ชื่อผ้าปะ, การเย็บเชื่อมด้วยด้าย
ชื่อการชุน.
ห่วงเป็นที่ร้อยกลัดไว้ ชื่อรังคุม. ลูกสำหรับกลัด เรียกลูกดุม.
ทัฬหีกัมมะ นั้น ได้แก่ ท่อนผ้าที่ประทับลง ไม่รื้อ (ผ้าเก่า)
ทำให้เป็นชั้นรอง.
เรื่องนางวิสาชา มีเนื้อความตื้น. เรื่องอื่นจากเรื่องนางวิสาขานั้น ได้
วินิจฉัยแล้วในหนหลังแล.
บทว่า โสวคฺคิกํ ได้แก่ ทำให้เป็นเหตุแห่งสวรรค์. ด้วยเหตุนั้น
แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์.
ทานใด ย่อมกำจัดความโศกเสีย เหตุนั้น ทานนั้น ชื่อโสกนุท
บรรเทาความโศกเสีย.
บทว่า อนามยา คือ ผู้ไม่มีโรค.
สองบทว่า สคฺคมฺหิ กายมฺหิ ได้แก่ ผู้เกิดในสวรรค์

ว่าด้วยถือวิสาสะเป็นต้น


สามบทว่า ปุถุชฺชนา ถาเมสุ วีตราคา ได้แก่ ปุถุชนผู้ได้ฌาน.
บทว่า สนฺทิฏฺโฐ ได้แก่ เพื่อนที่สักว่าเคยเห็นกัน.
บทว่า สมฺภตฺโต ได้แก่ เพื่อนผู้ร่วมสมโภค คือเพื่อนสนิท.

บทว่า อาลปิโต ได้แก่ ผู้อันเพื่อนสั่งไว้อย่างนี้ว่า ท่านต้องการ
สิ่งใดซึ่งเป็นของเรา. ท่านพึงถือเอาสิ่งนั้นเถิด.
วิสาสะย่อมขึ้นด้วยองค์ 3 เหล่านี้ คือ ยังเป็นอยู่ 1 เมื่อของนั้นอันตน
ถือเอาแล้ว เจ้าของเป็นผู้พอใจ 1 กับองค์อันใดอันหนึ่งใน 3 องค์เหล่านั้น.
บทว่า ปํสุกูลิกโต คือ ผ้าอุตราสงค์ที่ทำด้วยผ้าบังสุกุล
สองบทว่า ครุโก โหติ คือ เป็นของหนัก เพราะทาบผ้าปะในที่
ซึ่งชำรุดแล้ว ๆ.
สองบทว่า สุตฺตลูขํ กาตุํ มีความว่า เพื่อทำการเย็บตรึงด้วยด้าย
เท่านั้น.
บทว่า วิกณฺโณ คือ เมื่อชักด้ายเยีบ มุมสังฆาฏิข้างหนึ่งเป็นของ
ยาวไป.
สองบทว่า วิกณฺณํ อุทฺธริตุํ คือ เพื่อเจียนมุมที่ยาวเสีย.
บทว่า โอถิริยนฺติ คือ ลุ่ยออกจากมุมที่ตัด.
สองบทว่า อนุวาตํ ปริภณฺฑํ ได้แก่ อนุวาตและผ้าหุ้มขอบ.
สองบทว่า ปตฺตา ลชฺชนฺติ คือ ด้ายทั้งหลายที่เย็บในหน้าผ้าใหญ่
ย่อมหลุดออก คือ ผ้าลุ่ยออกจากผ้าผืนเก่านั้น .
สองบทว่า อฏฺฐปทกํ กาตุํ คือ เพื่อเย็บหน้าผ้าด้วยตะเข็บอย่าง
รอยในกระดานหมากรุก.
สองบทว่า อนฺวาธกํปิ อาโรเจตุํ คือ เพื่อเพิ่มผ้าดาม. แต่ผ้าดาม
นี้ พึงเพิ่มในเมื่อผ้าไม่พออ, ถ้าผ้าพอ ไม่ควรเพิ่มผ้าดาม พึงตัดเท่านั้น.

ว่าด้วยทำสัทธาไทยให้ตกเป็นต้น


วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว สทฺธาเทยฺยํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อให้แก่ญาติที่เหลือทั้งหลาย ซึ่งยังสัทธาไทยให้ตกไปแท้, ส่วน
มารดาบิดาแม้ตั้งอยู่ในความเป็นพระราชา ถ้าปรารถนา พึงให้.
บทว่า คิลาโน ได้แก่ ผู้ไม่สามารถจะถือเอาไปได้ เพราะเป็น
ผู้อาพาธ.
บทว่า วสฺสิกสงฺเกตํ ได้แก่ 4 เดือนในฤดูฝน.
บทว่า นทีปารํ ได้แก่ ภัตเป็นของอันภิกษุพึงฉันที่ฝั่งแม่น้ำ.
บทว่า อคฺคฬคุตฺติวิหาโร มีความว่า ก็กุฎีที่อยู่มีลิ่มเป็นเครื่อง
คุ้มครองเท่านั้น เป็นประมาณในความเป็นผู้อาพาธ ความกำหนด หมายความ
ว่า เป็นเดือนมีในฤาดูฝน ความไปสู่ฝั่งแม่น้ำ และความมีกฐินอันกรานแล้ว
เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว. จริงอยู่ ภิกษุเก็บไว้ในกุฎีที่อยู่ที่คุ้มครองเท่านั้น จึง
ควรไปในภายนอก เก็บไว้ในกุฎีที่อยู่ที่ไม่ได้คุ้มครองไม่ควรไป. แต่กุฎีที่อยู่
ของภิกษุผู้อยู่ป่า. ย่อมไม่เป็นกุฎีที่อยู่คุ้มครองด้วยดี อันภิกษุผู้อยู่ป่านั้น พึง
เก็บไว้ ในหม้อสำหรับเก็บของแล้วซ่อมไว้ในที่อันมิดชิดดี มีโพรงศิลา และ
โพรงไม้เป็นต้นแล้วจึงไป.

ว่าด้วยผ้าที่เกิดขั้นในจีวรกาล


ข้อว่า ตุยฺเหว ภิกฺขุ ตาหิ จีวรานิ มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้
ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใคร ๆ อื่นไม่เป็นใหญ่
แห่งจีวรเหล่านั้น.
ก็แล ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว จึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อ
แสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความรังเกียจถือเอา.