เมนู

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่า คีเวยยกะ และ ชังเฆยยกะ นั้น
เป็นชื่อแห่งผ้าที่ตั้งอยู่ในที่แห่งคอและในที่แห่งแข้ง.
พาหันตะ นั้น ได้แก่ ขัณฑ์อันหนึ่ง ๆ นอกอนุวิวัฏฏะ
คำว่า กุสิมฺปิ นาม เป็นอาทินี้ พระอาจารย์ทั้งหลายวิจารณ์แล้ว
ด้วยจีวรมี 5 ขัณฑ์ ด้วยประการฉะนี้แล.
อีกประการหนึ่ง คำว่า อนุวิวัฏฏะ นี้ เป็นชื่อแห่ง 2 ขัณฑ์ โดย
ข้างอันหนึ่ง แห่งวิวัฏฏะ เป็นชื่อแห่ง 3 ขัณฑ์บ้าง 4 ขัณฑ์บ้างโดยข้างอัน
หนึ่งแห่งวิวัฏฏะ.
คำว่า พาหันตะ นี้ เป็นชื่อแห่งชายทั้งสอง (แห่งจีวร) ที่ ภิกษุ
ห่มจีวรได้ขนาดพอดี ม้วนพาดไว้บนแขน มีด้านหน้าอยู่นอก.
จริงอยู่ นัยนี้แล ท่านกล่าวในมหาอรรถกถา.

ว่าด้วยไตรจีวร


สองบทว่า จีวเรหิ อุพฺภณฺฑิกเต มีความว่า ผู้อันจีวรทั้งหลาย
ทำให้เป็นผู้มีสิ่งของอันทนต้องยกขึ้นแล้ว คือ ทำให้เป็นเหมือนชนทั้งหลายผู้
ขนของ, อธิบายว่า ผู้อันจีวรทั้งหลายให้มาถึงความเป็นผู้มีสิ่งของอันตนต้อง
ขน.
จีวร 2-3 ผืน ที่ภิกษุซ้อนกันเข้าแล้ว พับโดยท่วงทีอย่างฟูกเรียกว่า
ฟูก ในบทว่า จีวรภิสึ นี้.
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นทำในใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสด็จ
กลับจากทักขิณาคิรีชนบทเร็ว เมื่อจะไปในชนบทนั้น จึงได้เก็บจีวรที่ได้ใน
เรื่องหมอชีวกไว้แล้วจึงไป.