เมนู

ตะกร้อสำหรับกันล้นนั้น ได้แก่ เครื่องสำหรับกันกลม ๆ. ความว่า
เราอนุญาตให้ใส่เครื่องกันนั้นตั้งไว้กลางหม้อน้ำย้อมแล้ว จึงใส่น้ำย้อม. ด้วยว่า
เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว น้ำย้อมย่อมไม่ละ
สองบทว่า อุทเก วา นขปิฏฺฐิกาย วา มีความว่า ก็ถ้าว่า น้ำ
ย้อมเป็นของสุกแล้ว, หยาตน้ำที่ใส่ในถาดน้ำ ย่อมไม่ซ่านไปเร็ว. แม้หยดลง
บนหลังเล็บ ย่อมค้างอยู่ ไม่ซ่านออก.
บทว่า รชนุรุงฺกํ ได้แก่ กระบวยตักน้ำย้อม.
บทว่า ทณฺฑกถาลิกํ ได้แก่ กระบวยนั่นเอง พร้อมทั้งด้าม.
บทว่า รชนโกลมฺพํ ได้แก่ หม้อสำหรับย้อม.
บทว่า มทฺทนฺติ ได้แก่ ขยำกดลง.
หลายบทว่า น จ อจฺฉนฺเน ถเว ปกฺกมฺตุํ มีความว่า หยาด
น้ำย้อมยังไหลไม่ขาดเพียงใด, ภิกษุไม่ควรไปในที่อื่นเพียงนั้น.
บทว่า ปตฺถินฺนํ คือจีวรเป็นของกระด้าง เพราะย้อมเกินไป,
อธิบายว่า น้ำย้อมจับเกินไป.
สองบทว่า อุทเก โอสาเทตุํ มีความว่า เพื่อแช่ไว้ในน้ำ. ก็แล
เมื่อน้ำย้อมออกแล้วพึงเทน้ำนั้น ทิ้งแล้วพึงบีบจีวร
บทว่า ทนฺตกสาวานิ ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย้อมจีวรครั้งเดียว
หรือสองครั้งใช้จีวรมีสีดังสีงาช้าง.

ว่าด้วยจีวรตัด


บทว่า อจฺจิพทฺธํ คือ มีกระทงนาเนื่องกันเป็นสี่เหลี่ยม.
บทว่า ปาลิพฺทธํ คือ พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง.
บทว่า มริยาทพทฺธํ คือ พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ.

บทว่า สิงฺฆาฏกพทฺธํ คือ พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง 4 แพร่ง
ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไป, อธิบายว่า มีสัณฐานดังทาง 4 แพร่ง
สองบทว่า อุสฺสหสิ ตฺวํ อานนฺท มีความว่า อานนท์ เธอ
อาจหรือ ?
บทว่า สํวิทฺหิตุํ ได้แก่ เพื่อทำ.
สองบทว่า อุสฺสหามิ ภควา มีความว่า ท่านอานนท์แสดงว่า
ข้าพระองค์ อาจตามนัยที่พระองค์ประทาน.
บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ โย นาม
วินิจฉัยในคำว่า กุสิมฺปิ นาม เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
คำว่า กุสิ นี้ เป็นชื่อแห่งผ้ายาว มีอนุวาตด้านยาวและด้านกว้าง
เป็นต้นต้น.
คำว่า อฑฺฒกุสิ เป็นชื่อแห่งผ้าสั้นในระหว่าง ๆ.
มณฑล นั้น ได้แก่ กระทงใหญ่ ในขัณฑ์อันหนึ่ง ๆ แห่งจีวรมี
5 ขัณฑ์.
อัฑฒมณฑล นั้น ได้แก่ กระทงเล็ก.
วิวัฏฏะ นั้น ได้แก่ ขัณฑ์ตรงกลางที่เย็บมณฑลกับอัฑฒมณฑล
ติดกัน.
อนุวิวัฏฏะ นั้น ได้แก่ 2 ขัณฑ์ที่สองข้างแห่งวิวัฎฏะนั้น.
คีเวยยกะ นั้น ได้แก่ ผ้าตามอื่นที่เย็บด้วยด้าย เพื่อทำไห้ทนทาน
ในที่ ๆ พันคอ.
ชังเฆยยกะ นั้น ได้แก่ ผ้าที่เย็บอย่างนั้นเหมือนกัน ในที่ ๆ ปก
แข้ง.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่า คีเวยยกะ และ ชังเฆยยกะ นั้น
เป็นชื่อแห่งผ้าที่ตั้งอยู่ในที่แห่งคอและในที่แห่งแข้ง.
พาหันตะ นั้น ได้แก่ ขัณฑ์อันหนึ่ง ๆ นอกอนุวิวัฏฏะ
คำว่า กุสิมฺปิ นาม เป็นอาทินี้ พระอาจารย์ทั้งหลายวิจารณ์แล้ว
ด้วยจีวรมี 5 ขัณฑ์ ด้วยประการฉะนี้แล.
อีกประการหนึ่ง คำว่า อนุวิวัฏฏะ นี้ เป็นชื่อแห่ง 2 ขัณฑ์ โดย
ข้างอันหนึ่ง แห่งวิวัฏฏะ เป็นชื่อแห่ง 3 ขัณฑ์บ้าง 4 ขัณฑ์บ้างโดยข้างอัน
หนึ่งแห่งวิวัฏฏะ.
คำว่า พาหันตะ นี้ เป็นชื่อแห่งชายทั้งสอง (แห่งจีวร) ที่ ภิกษุ
ห่มจีวรได้ขนาดพอดี ม้วนพาดไว้บนแขน มีด้านหน้าอยู่นอก.
จริงอยู่ นัยนี้แล ท่านกล่าวในมหาอรรถกถา.

ว่าด้วยไตรจีวร


สองบทว่า จีวเรหิ อุพฺภณฺฑิกเต มีความว่า ผู้อันจีวรทั้งหลาย
ทำให้เป็นผู้มีสิ่งของอันทนต้องยกขึ้นแล้ว คือ ทำให้เป็นเหมือนชนทั้งหลายผู้
ขนของ, อธิบายว่า ผู้อันจีวรทั้งหลายให้มาถึงความเป็นผู้มีสิ่งของอันตนต้อง
ขน.
จีวร 2-3 ผืน ที่ภิกษุซ้อนกันเข้าแล้ว พับโดยท่วงทีอย่างฟูกเรียกว่า
ฟูก ในบทว่า จีวรภิสึ นี้.
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นทำในใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสด็จ
กลับจากทักขิณาคิรีชนบทเร็ว เมื่อจะไปในชนบทนั้น จึงได้เก็บจีวรที่ได้ใน
เรื่องหมอชีวกไว้แล้วจึงไป.