เมนู

ตะกร้อสำหรับกันล้นนั้น ได้แก่ เครื่องสำหรับกันกลม ๆ. ความว่า
เราอนุญาตให้ใส่เครื่องกันนั้นตั้งไว้กลางหม้อน้ำย้อมแล้ว จึงใส่น้ำย้อม. ด้วยว่า
เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว น้ำย้อมย่อมไม่ละ
สองบทว่า อุทเก วา นขปิฏฺฐิกาย วา มีความว่า ก็ถ้าว่า น้ำ
ย้อมเป็นของสุกแล้ว, หยาตน้ำที่ใส่ในถาดน้ำ ย่อมไม่ซ่านไปเร็ว. แม้หยดลง
บนหลังเล็บ ย่อมค้างอยู่ ไม่ซ่านออก.
บทว่า รชนุรุงฺกํ ได้แก่ กระบวยตักน้ำย้อม.
บทว่า ทณฺฑกถาลิกํ ได้แก่ กระบวยนั่นเอง พร้อมทั้งด้าม.
บทว่า รชนโกลมฺพํ ได้แก่ หม้อสำหรับย้อม.
บทว่า มทฺทนฺติ ได้แก่ ขยำกดลง.
หลายบทว่า น จ อจฺฉนฺเน ถเว ปกฺกมฺตุํ มีความว่า หยาด
น้ำย้อมยังไหลไม่ขาดเพียงใด, ภิกษุไม่ควรไปในที่อื่นเพียงนั้น.
บทว่า ปตฺถินฺนํ คือจีวรเป็นของกระด้าง เพราะย้อมเกินไป,
อธิบายว่า น้ำย้อมจับเกินไป.
สองบทว่า อุทเก โอสาเทตุํ มีความว่า เพื่อแช่ไว้ในน้ำ. ก็แล
เมื่อน้ำย้อมออกแล้วพึงเทน้ำนั้น ทิ้งแล้วพึงบีบจีวร
บทว่า ทนฺตกสาวานิ ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย้อมจีวรครั้งเดียว
หรือสองครั้งใช้จีวรมีสีดังสีงาช้าง.

ว่าด้วยจีวรตัด


บทว่า อจฺจิพทฺธํ คือ มีกระทงนาเนื่องกันเป็นสี่เหลี่ยม.
บทว่า ปาลิพฺทธํ คือ พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง.
บทว่า มริยาทพทฺธํ คือ พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ.