เมนู

ที่ชื่อว่า ความบกพร่องบุคคล พึงทราบดังนี้:-
เมื่อนับภิกษุจัดเป็นหมวด ๆ ละ 10 รูป หมวดหนึ่งไม่ครบ มีภิกษุอยู่
8 รูปหรือ 9 รูป พึงให้แก่ภิกษุเหล่านั้น 8 ส่วน หรือ 9 ส่วนว่า ท่านทั้ง
หลาย จงนับส่วนเหล่านี้แบ่งแจกกันเกิด. ข้อที่บุคคลไม่เพียงพอนี้ ชื่อความ
บกพร่องบุคคล ตัวประการฉะนี้. ก็เมื่อให้เป็นแผนกแล้ว จีวรนั้นย่อมเป็น
ของที่ให้ภิกษุทั้งหลายพอใจได้, ครั้นให้พอใจได้อย่างนั้นแล้ว พึงทำการจับ
สลาก.
อีกอย่างหนึ่ง ข้อว่า วิกลเก โตเสตฺวา มีความว่า ส่วนจีวรใดบก
พร่อง, พึงเอาบริขารอื่นแถมส่วนจีวรนั้นให้เท่ากันแล้วพึงทำการจับสลาก

ว่าด้วยน้ำย้อม


บทว่า ฉกเณน ได้แก่ โคมัย.
บทว่า ปณฺฑุมตฺติกาย ได้แก่ ดินแดง.
วินิจฉัยในน้ำย้อมเกิดแต่หัวเป็นอาทิ พึงทราบดังนี้;-
เว้นขมิ้นเสีย น้ำย้อมเกิดแต่หัว ควรทุกอย่าง. เว้นฝางกับแกแลเสีย
น้ำย้อมเกิดแต่ลำต้น ควรทุกอย่าง. ต้นไม้มีหนามชนิดหนึ่ง ชื่อแกแล,
น้ำย้อมเกิดแต่ลำต้น แห่งแกแลนั้น เป็นของมีสีคล้ายหรดาล เว้นโลดกับ
มะพูดเสีย น้ำย้อมเกิดแต่เปลือก ควรทุกอย่าง. เว้นใบมะเกลือกับใบครามเสีย
น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้ ควรทุกอย่าง. แต่ผ้าที่คฤหัสถ์ใช้แล้ว สมควรย้อมด้วย
ใบมะเกลือครั้งหนึ่ง. เว้นดอกทองกวาวกับดอกดำเสีย น้ำย้อมเกิดแต่ดอก
ควรทุกอย่าง. ส่วนในน้ำย้อมเกิดแต่ผล ผลอะไร ๆ จะไม่ควรหามิได้.
น้ำย้อมที่ไม่ได้ต้ม เรียกว่าน้ำเย็น.

ตะกร้อสำหรับกันล้นนั้น ได้แก่ เครื่องสำหรับกันกลม ๆ. ความว่า
เราอนุญาตให้ใส่เครื่องกันนั้นตั้งไว้กลางหม้อน้ำย้อมแล้ว จึงใส่น้ำย้อม. ด้วยว่า
เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว น้ำย้อมย่อมไม่ละ
สองบทว่า อุทเก วา นขปิฏฺฐิกาย วา มีความว่า ก็ถ้าว่า น้ำ
ย้อมเป็นของสุกแล้ว, หยาตน้ำที่ใส่ในถาดน้ำ ย่อมไม่ซ่านไปเร็ว. แม้หยดลง
บนหลังเล็บ ย่อมค้างอยู่ ไม่ซ่านออก.
บทว่า รชนุรุงฺกํ ได้แก่ กระบวยตักน้ำย้อม.
บทว่า ทณฺฑกถาลิกํ ได้แก่ กระบวยนั่นเอง พร้อมทั้งด้าม.
บทว่า รชนโกลมฺพํ ได้แก่ หม้อสำหรับย้อม.
บทว่า มทฺทนฺติ ได้แก่ ขยำกดลง.
หลายบทว่า น จ อจฺฉนฺเน ถเว ปกฺกมฺตุํ มีความว่า หยาด
น้ำย้อมยังไหลไม่ขาดเพียงใด, ภิกษุไม่ควรไปในที่อื่นเพียงนั้น.
บทว่า ปตฺถินฺนํ คือจีวรเป็นของกระด้าง เพราะย้อมเกินไป,
อธิบายว่า น้ำย้อมจับเกินไป.
สองบทว่า อุทเก โอสาเทตุํ มีความว่า เพื่อแช่ไว้ในน้ำ. ก็แล
เมื่อน้ำย้อมออกแล้วพึงเทน้ำนั้น ทิ้งแล้วพึงบีบจีวร
บทว่า ทนฺตกสาวานิ ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย้อมจีวรครั้งเดียว
หรือสองครั้งใช้จีวรมีสีดังสีงาช้าง.

ว่าด้วยจีวรตัด


บทว่า อจฺจิพทฺธํ คือ มีกระทงนาเนื่องกันเป็นสี่เหลี่ยม.
บทว่า ปาลิพฺทธํ คือ พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง.
บทว่า มริยาทพทฺธํ คือ พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ.