เมนู

บทว่า นาคเมสุํ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ไม่รออยู่ จนกว่าพวก
เธอจะมาจากป่าช้า, คือหลีกไปเสียก่อน.
สามบทว่า นากามา ภาคํ ทาตุํ มีความว่า ไม่ปรารถนาจะให้ก็
อย่าให้, แต่ถ้าปรารถนาจะให้ไซร้, ควรให้.
บทว่า อาคเมสุํ คือ รออยู่ในที่ใกล้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่อยากให้ ต้องให้
ส่วนแบ่งแก่ภิกษุทั้งหลายผู้คอย. ก็ถ้าว่า มนุษย์ทั้งหลายถวายว่า ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ผู้มาที่นี่เท่านั้น จงถือเอา, หรือกระทำเครื่องหมายไว้ว่า ท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย ผู้มาถึงแล้ว จงถือเอา ดังนี้แล้วไปเสีย, จีวรย่อมถึงแก่ภิกษุแม้
ทุกรูป ผู้มาถึงแล้ว. ถ้าเขาทิ้งไว้แล้วไปเสีย, ภิกษุผู้ถือเอาเท่านั้นเป็นเจ้าของ.
สองบทว่า สทิสา โอกฺกมึสุ มีความว่า เข้าไปทุกรูป, หรือเข้า
ไปโดยทิศเดียวกัน.
หลายบทว่า เต กติกํ กตฺวา มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ทำกติกา
กันไว้แต่ภายนอกว่า เราจักแบ่งผ้าบังสุกุลที่ได้แล้วถือเอาทั่วกิน

ว่าด้วยเจ้าหน้าที่รับจีวรเป็นต้น


วินิจฉัยในข้อว่า โย น ฉนฺทาคตึ คจฺฉติ เป็นอาทิ พึงทราบ
ดังนี้.
ในภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ภิกษุผู้รับของปิยชนทั้งหลายมีญาติ
เป็นต้นของตน แม้มาทีหลัง ก่อนกว่า, หรือรับแสดงความพอใจในทายกบ้าง
คน. หรือน้อมมาเพื่อคน ด้วยความเป็นผู้มีโลภเป็นปกติ, ชื่อว่าถึงความลำเอียง
เพราะความชอบพอ. ภิกษุใดรับของทายกแม้มาก่อนกว่า ทีหลังด้วยอำนาจ
ความโกรธ, หรือรับทำอาการดูหมิ่นในคนจน. หรือทำลาภันตรายแก่สงฆ์

อย่างนี้ว่า ที่เก็บในเรือนของท่านไม่มีหรือ, ท่านจงถือเอาของ ๆ ท่านไปเถิด.
ภิกษุนี้ชื่อว่าถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง. ฝ่ายภิกษุใดหลงลืมสติ ไม่
รู้ตัว ภิกษุนี้ ชื่อถึงความลำเอียงเพราะงมงาย ภิกษุผู้รับของอิสรชนทั้งหลาย แม้
มาทีหลัง ก่อนกว่า เพราะความกลัว, หรือหวาดหวั่นอยู่ว่า ตำแหน่งผู้รับ จีวรนี้
หนักนัก, ชื่อถึงความลำเอียงเพราะกลัว. ภิกษุผู้รู้อยู่ว่า จีวรนี้ด้วย นี้ด้วย
เรารับแล้ว. และส่วนนี้ เราไม่ได้รับ ชื่อรู้จักจีวรที่รับแล้ว และไม่ได้รับ เพราะ
เหตุนั้น ภิกษุใด ไม่ลำเอียงด้วยอำนาจแห่งฉันทาคติเป็นต้น, รับตามลำดับ
ผู้มา ไม่ทำให้แปลกกันในคนที่เป็นญาติ และมิใช่ญาติ คนมั่งมีและคนจน,
เป็นผู้ประกอบด้วยศีลาจารปฏิบัติ มีสติ มีปัญญา เป็นพหูสูต สามารถเพื่อ
กระทำอนุโมทนาด้วยบทและพยัญชนะอันเรียบร้อย ด้วยวาจาอันสละสลวย ยัง
ความเลื่อมใสให้เกิดแก่ทายกทั้งหลาย; ภิกษุเห็นปานนี้สงฆ์ควรสมมติ.
ก็วินิจฉัยในข้อว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว สมฺมนฺนิตพฺโพ นี้
พึงทราบดังนี้:-
สมควรแท้ที่จะสมมติในท่ามกลางสงฆ์ทั้งปวง ภายในวัดก็ได้ ใน
ขัณฑสีมาก็ได้ ด้วยกรรมวาจาตามที่ตรัสนั้นก็ได้ ด้วยอปโลกน์ก็ได้ ก็อัน
ภิกษุซึ่งสงฆ์สมมติแล้ว อย่างนั้น ไม่พึงอยู่ในกุฎีที่อยู่หลังสุดท้ายหรือในที่ทำ
ความเพียร. ก็แต่ว่า ชนทั้งหลายผู้มาแล้ว จะพบได้ง่าย ในที่ใด พึงวางพูด
ไว้ข้างตัว นุ่งห่มเรียบร้อยนั่งในที่แห่งกุฎีอยู่ใกล้เช่นนั้น.
สองบทว่า ตตฺเถว อุชฺฌิตฺวา มีความว่า ภิกษุเจ้าหน้าที่รับจีวร
กล่าวว่า การรับเท่านั้น เป็นธุระของพวกข้าพเจ้า แล้วทั้งไว้ในที่ซึ่งตนรับ
นั้นเองแล้วไปเสีย.

บทว่า จีวรปฏิคฺคาหกํ ได้แก่ ภิกษุผู้รับจีวรซึ่งคหบดีทั้งหลาย
ถวายแก่สงฆ์.
บทว่า จีวรนิทาหกํ ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร.
ในคำว่า โย น ฉนฺทาคตึ เป็นอาทิ ในอธิการว่าด้วยสมมติ
เจ้าหน้าที่เก็บจีวรนี้ และในอธิการทั้งปวงนอกจากนี้ พึงทราบวินิจฉัยตามนัย
ที่กล่าวนั้นนั่นแล. ถึงวินิจฉัยในการสมมติ ก็พึงทราบโดยท่านองดังกล่าวแล้ว
เหมือนกัน.
วินิจฉัยในคำว่า วหารํ วา เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
ที่อยู่อันใดพลุกพล่านด้วยชนทั้งหลาย มีคนวัดและสามเณร เป็นต้น
ในท่ามกลางวัด เป็นกุฎีที่อยู่ก็ตาม เป็นเพิงก็ตาม อยู่ในสถานเป็นที่ประชุม
ของชนทั้งปวง ที่อยู่อันนั้น ไม่พึงสมมติ. อนึ่งเสนาสนะปลายแดน ก็ไม่ควร
สมมติ. อันการที่ภิกษุทั้งหลายไปสู่ขัณฑสีมานั่งในขัณฑสีมา สมมติภัณฑาคาร
นี้ ย่อมไม่ควร ต้องสมมติในท่ามกลางวัดเท่านั้น.
วินิจฉัยในข้อว่า คุตฺตคุตฺตญฺจ ชาเนยฺย นี้ พึงทราบดังนี้:-
โทษไร ๆ ในสัมภาระทั้งหลายมีหลังคาเป็นต้น แห่งเรือนคลังใดไม่มี
ก่อน เรือนหลังนั้น ชื่อว่าคุ้มได้ ฝ่ายเรือนคลังใด มีหญ้าสำหรับมุง หรือ
กระเบื้องสำหรับมุง พังไป ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง หรือมีช่องในที่บางแห่ง มีฝา
เป็นต้น ที่มีฝนรั่วได้ หรือมีทางเข้าแห่งสัตว์ทั้งหลายมีหนูเป็นต้น หรือปลวก
ขึ้นได้ เรือนคลังนั้นทั้งหมดชื่อว่าคุ้มไม่ได้ พึงตรวจดูเรือนคลังนั้นแล้วซ่อม-
แชม. ในฤดูหนาวพึงปิดประตูและหน้าต่างให้ดี เพราะว่าจีวรย่อมตกหนาว 1
เพราะความหนาว. ในฤดูร้อน ประตูและหน้าต่าง ควรเปิดเพื่อให้ลมเข้าใน
ระหว่าง ๆ. ด้วยว่า เมื่อทำอย่างนั้น ชื่อว่ารู้จักเรือนคลังที่คุ้มได้และคุ้มไม่ได้.

1. สีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูกแดดเป็นต้น สีตก เรียกว่า ตกหนาว.

ก็เจ้าหน้าที่ทั้ง 3 นี้ มีเจ้าหน้าที่รับจีวรเป็นต้น ต้องรู้จักวัตรของ
ตน.
บรรดาเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 นั้น ผ้าทุกชนิดที่ชนทั้งหลายถวายว่า กาลจีวร
ก็ดี ว่า อกาลจีวร ก็ดี ว่า อัจเจกจีวร ก็ดี ว่า วัสสิกสาฏิกา ก็ดี ว่า ผ้านิสีทนะ
ก็ดี ว่า ผ้าปูลาด ก็ดี ว่า ผ้าเช็ดหน้า ก็ดี อันเจ้าหน้าที่รับจีวรไม่ควรรับปน
รวมเป็นกองเดียวกัน; พึงรับจัดไว้เป็นแผนก ๆ แล้วบอกอย่างนั้นแล มอบ
แก่เจ้าหน้าที่เก็บจีวร เจ้าหน้าที่เก็บจีวรเล่า เมื่อจะมอบแก่เจ้าหน้าที่ผู้รักษา
เรือนคลัง พึงบอกมอบหมายว่า นี่กาลจีวร ฯลฯ นี่ผ้าเช็ดหน้า. ฝ่ายเจ้าหน้าที่
ผู้รักษาเรือนคลัง ทำเครื่องหมายเก็บไว้เป็นแผนก ๆ อย่างนั้นเหมือนกัน.
ภายหลังเมื่อสงฆ์สั่งว่า จงนำกาลจีวรมา พึงถวายเฉพาะกาลจีวร ; ฯลฯ เมื่อ
สงฆ์สั่งว่า จงนำผ้าเช็ดหน้ามา พึงถวายเฉพาะผ้าเช็ดหน้าเท่านั้น. เจ้าหน้าที่
รับจีวร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว เจ้าหน้าที่เก็บจีวร ทรงอนุญาต
แล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง ก็ทรงอนุญาตแล้ว เพื่อความเป็นผู้มักมาก
หามิได้ เพื่อความไม่สันโดษหามิได้ โดยที่แท้ ทรงอนุญาตแล้ว เพื่อ
อนุเคราะห์สงฆ์ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลาย จะพึงถือเอาจีวรที่ทายกนำมาแล้ว ๆ แบ่งกัน
ไซร้ เธอทั้งหลาย จะไม่ทราบจีวรที่ทายกนำมาแล้ว ไม่พึงทราบจีวรที่ทายก
ยังมิได้นำมา ไม่พึงทราบจีวรที่ตนไห้แล้ว ไม่พึงทราบจีวรที่ตนยังไม่ได้ให้
ไม่พึงทราบจีวรที่ภิกษุได้แล้ว ไม่พึงทราบจีวรที่ภิกษุยังไม่ได้; จะพึงถวาย
จีวรที่ทายกนำมาแล้ว ๆ ในเถรอาสน์ หรือจะพึงตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ถือ
เอา; เมื่อเป็นเช่นนี้ การใช้สอยจีวรไม่เหมาะ ย่อมมีได้; ทั้งไม่เป็นอันได้
ทำความสงเคราะห์ทั่วถึงกัน. ก็แต่ว่า ภิกษุทั้งหลายเก็บจีวรไว้ในเรือนคลัง

แล้ว ในคราวมีจีวรมาก จักให้จีวรแก่ภิกษุรูปละไตรบ้าง รูปละ 2 ผืน ๆ บ้าง
รูปละผืน ๆ บ้าง เธอทั้งหลายจักทราบจีวรที่ภิกษุได้แล้วและยังไม่ได้ ครั้น
ทราบความที่จีวรซึ่งภิกษุยังไม่ได้ จักสำคัญเพื่อทำความสงเคราะห์กันฉะนี้.

ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรไห้ย้าย


วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ภณฺฑาคาริโก วุฏฺฐาเปตพฺโพ นี้
พึงทราบดังนี้:-
พึงรู้จักภิกษุที่ไม่ควรให้ย้ายแม้อื่นอีก จริงอยู่ ไม่ควรให้ย้ายภิกษุ 4
พวก คือ ภิกษุผู้แก่กว่า 1 ภิกษุเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง 1 ภิกษุผู้อาพาธ 1
ภิกษุได้เสนาสนะจากสงฆ์ 1 ในภิกษุ พวกนั้น ภิกษุผู้แก่กว่า อันภิกษุผู้
อ่อนกว่า ไม่พึงให้ย้าย เพราะท่านเป็นผู้แก่กว่าตน, ภิกษุเจ้าหน้าที่รักษา
เรือนคลัง ไม่พึงให้ย้าย เพราะเรือนคลังอันสงฆ์สมมติมอบไห้ ภิกษุผู้อาพาธ
ไม่พึงให้ย้าย เพราะค่าที่เธอเป็นผู้อาพาธ, แต่ว่า สงฆ์มอบที่อยู่อันสำราญกระทำ
ให้เป็นสถานที่ไม่ต้องให้ย้าย แก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต มีอุปการะมาก ด้วยอุทเทส
และปริปุจฉาเป็นต้น ผู้ช่วยภาระ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้เป็นพหูสู นั้น ไม่
พึงให้ย้าย เพราะค่าที่เธอเป็นผู้มีอุปการะ และเพราะค่าที่เสนาสนะเป็นของ
อันเธอได้จากสงฆ์ ฉะนี้แล.

ว่าด้วยเจ้าหน้าที่แจกจีวร


สองบทว่า อุสฺสนฺนํ โหติ มีความว่า จีวรมีมากต้องจัดกองไว้คือ
เรือนคลังไม่จุพอ.
บทว่า สมฺมุขีภูเตน คือ ยืนอยู่ภายในอุปจารสีมา.
บทว่า ภาเชตุํ มีความว่า เพื่อให้ประกาศเวลา แจกกันตามลำดับ.