เมนู

ลายดอกไม้ มีชายเป็นแผ่น สวมเสื้อ สวมหมวก ใช้ผ้าโพกศีรษะ 90. เรื่อง
จีวรยังไม่เกิดขึ้น ภิกษุหลีกไปเสีย 91. เรื่องสงฆ์แตกกัน 92. เรื่องถวายจีวร
แก่สงฆ์ในฝ่ายหนึ่ง 93. เรื่องท่านพระเรวตะฝากจีวร 94. เรื่องถือวิสาสะ
95. เรื่องอธิษฐาน 96. เรื่องมาติกาของจีวร 8 ข้อ.

อรรถกถาจีวรขันธกะ


เรื่องหมอชีวก


วินิจฉัยในจีวรขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ปทกฺขา ได้แก่ เฉียบแหลม คือ ฉลาด.
บทว่า อภิสฏา ได้แก่ ไปหา.
ถามว่า ชนเหล่าไรไปหา ?
ตอบว่า พวกมนุษย์ผู้มีความต้องการ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อตฺถิกานํ อตฺถิกานํ มนุสฺสานํ ดังนี้
เพราะทรงใช้ฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.
หลายบทว่า ปญฺญาสาย จ รตฺตึ คจฺฉติ มีความว่า นางอัมพปาลี
คณิกาถือเอาทรัพย์ 50 กหาปณะแล้วไปคืนหนึ่ง ๆ.
บทว่า เนคโม ได้แก่ หมู่กุฎุมพี.
ข้อว่า สาลวติ กุมารึ คณิกํ วุฏฺฐาเปสิ มีความว่า ทวยนาครให้
ทรัพย์สองแสน พระราชาพระราชทานสามแสน และแดงกำหนดอารามอุทยาน
และพาหนะเป็นต้นต้น อย่างอื่นแล้ว ให้นางสาลวดีรับรอง อธิบายว่า ทรงตั้งไว้
ในตำแหน่งนางนครโสภิณี.

หลายบทว่า ปฏิสเตน จ รตฺติ คจฺฉติ มีความว่า ไปอยู่ร่วมกัน
คืนละ 100 กหาปณะ.
สองบทว่า คิลานํ ปฏิเวเทยฺยํ มีความว่า เราพึงให้ทราบความ
ที่เราเป็นคนเจ็บ.
บทว่า กตฺตรสุปฺเป ได้แก่ กระดังเก่า.
บทว่า ทิสาปาโมกฺโข มีความว่า เป็นคนที่มีชื่อเสียง คือเป็น
ใหญ่ มีคนรู้จักทั่วทุกทิศ.
เพราะเหตุไร ? ชีวกจึงถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ ใครเป็นมารดาของ
หย่อมฉัน ?
ได้ยินว่า เด็กหลวงเหล่าอื่น ซึ่งเล่นอยู่ด้วยกัน เมื่อเกิดทะเลาะกัน
ขึ้น ย่อมกล่าวกะชีวกนั้นว่า เจ้าลูกไม่มีแม่ ไม่มีพ่อ.
เหมือนอย่างว่า ในงานมหรสพเป็นต้น ญาติทั้งหลายมีน้ำและป้า
เป็นต้น ย่อมส่งของขวัญบางสิ่งบางอย่าง ไปให้แก่เด็กเหล่าอื่นฉันใด ใครจะ
ส่งของขวัญไร ๆ ไปให้แก่ชีวกนั้น ฉันนั้น หามิได้ เพราะเหตุนั้น เขาคำนึงถึง
เหตุทั้งปวงนั้นแล้ว เพื่อทราบว่า เราเป็นผู้ไม่มีแม่แน่หรือหนอ ? จึงทูลถามว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ใครเป็นมารดา ใครเป็นบิดาของหม่อมฉัน ?
สองบทว่า ยนฺนูนาหํ สิปฺปํ มีความว่า ชีวกคิดว่า อย่ากระนั้น
เลย เราพึงศึกษาศิลปะทางแพทย์เถิด.
ได้ยินว่า เขาได้มีความรำพึงอย่างนี้ว่า หัตถิศิลปะและอัศวศิลปะ
เป็นต้นเหล่านี้แล เนื่องด้วยเบียดเบียนผู้อื่น. ศิลปะทางแพทย์มีเมตตาเป็น
ส่วนเบื้องต้น เนื่องด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เขา
จึงหมายเอาเฉพาะศิลปะทางแพทย์ คิดว่า อย่างกระนั้นเลย เราพึงศึกษาศิลปะเถิด.

อีกอย่างหนึ่ง นับแต่กัลป์นี้ไปแสนกัลป์ ชีวกนี้ได้เห็นแพทย์ผู้เป็น
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ซึ่งมีคุณแผ่ไปใน
ภายในบริษัททั้งสี่ว่า หมอนี้เป็นพุทธอุปัฏฐาก จึงคิดว่า ทำอย่างไรหนอ เรา
จะพึงถึงฐานันดรเช่นนี้บ้าง ? แล้วถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุขตลอด 7 วัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กระทำความ
ปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในอนาคตกาล ข้าพระองค์พึงเป็น
พุทธอุปัฏฐากบ้าง เหมือนอย่างหมอคนโน้น เป็นอุปัฏฐากของพระองค์เถิด.
ชีวกนั้น ผู้แม้อันความปรารถนาเดิมนั้นเตือนใจอยู่ จึงหมายเอา
เฉพาะศิลปะทางแพทย์ คิดว่า อย่ากระนั้นเลย เราพึงศึกษาศิลปะเถิด.
ก็ในสมัยนั้น พวกพ่อค้าชาวเมืองตักกสิลา ได้ไปเพื่อเฝ้าอภัยราชกุมาร
ชีวกถามพ่อค้าเหล่านั้นว่า พวกท่านมาจากไหน ?
เขาได้ตอบว่า มาจากเมืองตักกสิลา.
จึงถามว่า ในเมืองนั้นมีอาจารย์ผู้สอนศิลปะทางแพทย์ไหม ?
ได้ฟังว่า เออ กุมาร แพทย์ผู้เป็นทิศาปาโมกข์ อาศัยอยู่ในเมือง
ตักกสิลา.
จึงสั่งว่า ถ้ากระนั้น เวลาที่ท่านจะไป ท่านพึงบอกเราด้วย.
พ่อค้าเหล่านั้น ได้กระทำตามสั่ง. เขาไม่ทูลลาพระบิดา ได้ไปเมือง
ตักกสิลากับพ่อค้าเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าว
ไม่ทูลลาอภัยราชกุมาร เป็นอาทิ.
หลายบทว่า อิจฺฉามหํ อาจริย สิปฺปํ สิกฺขิตุํ มีความว่า ได้ยิน
ว่า แพทย์นั้นเห็นเขาเข้าไปหาอยู่.
จึงถามว่า พ่อ เป็นใครกัน ?

เขาตอบว่า ผมเป็นนัดดาของพระเจ้าพิมพิสารมหารราช เป็นบุตร
ของอภัยราชกุมาร
แพทย์ถามว่า ก็เหตุไรเล่า พ่อจึงมาที่นี่ ?
ลำดับนั้น เขาจึงตอบว่า เพื่อศึกษาศิลปะในสำนักของท่าน. แล้ว
กล่าวว่า ท่านอาจารย์ ผมอยากศึกษาศิลปะ.
ข้อว่า พหุญฺจ คณฺหาติ มีความว่า ศิษย์เหล่าอื่นมีขัตติราชกุมาร
เป็นต้น ให้ทรัพย์แก่อาจารย์แล้ว ไม่กระทำการงานไร ๆ ศึกษาแต่ศิลปะเท่า
นั้นฉันใด, ชีวกนั้นหาได้กระทำฉันนั้นไม่. ส่วนเขาไม่ไห้ทรัพย์ไร ๆ เป็น
อย่างธัมมันตวาสิก กระทำการงานของอุปัชฌาย์ ในเวลาหนึ่ง ศึกษาในเวลา
หนึ่งเท่านั้น แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร เพราะตน
เป็นผู้มีปัญญา ย่อมเรียนได้มาก เรียนได้เร็ว ย่อมจำทรงไว้ดี ทั้งศิลปะที่
ขาเรียนแล้ว ย่อมไม่หลงลืม.
วินิจฉัยยินดีว่า สตฺต จ เม วสฺสานิ อธิยนฺตสฺส นยิมสฺส
สิปฺปสฺส อนฺโต ปญฺญายติ
นี้ พึงทราบดังนี้:-
ได้ยินว่า เพียง 7 ปี ชีวกนี้เรียนแพทยศิลปะจบเท่าที่อาจารย์รู้ทั้ง
หมด ซึ่งศิษย์เหล่าอื่นเรียนถึง 16 ปี.
ฝ่ายท้าวสักกเทวราชได้มีพระรำพึงอย่างนี้ว่า ชีวกนี้จักเป็นอุปัฏฐาก
มีความคุ้นเคยอย่างยอดของพระพุทธเจ้า เอาเถิด เราจะให้เขาศึกษาการประ-
กอบยา. จึงเข้าสิงในสรีระของอาจารย์ ให้ชีวกนั้นศึกษาการประกอบยา โดย
วิธีที่แพทย์สามารถรักษาโรคไม่มีส่วนเหลือยกเว้นวิบากของกรรมเสีย ให้หาย
ด้วยการประกอบยาขนานเดียวเท่านั้น.

ส่วนเขาสำคัญว่า เราเรียนในสำนักอาจารย์ เพราะฉะนั้น พอท้าว
สุกกะปล่อยด้วยทรงดำริว่า บัดนี้ชีวกสามารถเพื่อเยียวยาได้ เขาจึงติดอย่างนั้น
แล้วถามอาจารย์.
ส่วนอาจารย์ทราบดีว่า ชีวกนี้ไม่ได้เรียนศิลปะด้วยอานุภาพของเรา
เรียนด้วยอานุภาพของเทวดา จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เตนหิ ภเณ.
สามบทว่า สมนฺตา โยชนํ อาหิณฺฑนฺโต มีความว่า ออกทาง
ประตูด้านหนึ่ง ๆ วันละประตู เที่ยวไปตลอด 4 วัน.
สามบทว่า ปริตฺตํ ปาเถยฺยํ อทาสิ มีความว่า ได้ให้เสบียงมีประ-
มาณน้อย.
เพราะเหตุไร ?
ได้ยินว่า แพทยาจารย์นั้น ได้มีความวิตกอย่างนี้ว่า ชีวกนี้เป็นบุตร
ของมหาสกุล พอไปถึงเท่านั้น จักได้สักการะใหญ่ จากสำนักบิดาและปู่
เหตุนั้น เขาจักไม่รู้คุณของเราหรือของศิลปะ แต่เขาสิ้นเสบียงในกลางทางแล้ว
จักต้องใช้ศิลป แล้วจักรู้คุณของเราและของศิลปะแน่แท้ เพราะเหตุนั้น จึง
ให้เสบียงแต่น้อย.
บทว่า ปสเทน คือ ฟายมือหนึ่ง.
บทว่า ปิจุนา คือ ปุยฝ้าย.
บทว่า ยตฺร หิ นาม คือชื่อใด ?
บทว่า กิมฺปิมายํ ตัคบทเป็น กิมฺปิ เม อยํ.
สามบทว่า สพฺพาลงการํ ตุยฺหํ โหตุ มีความว่า ได้ยินว่าพระ
ราชาทรงดำริว่า หากว่า หมอชีวกจักถือเอาเครื่องประดับทั้งปวงนี้ไซร้ เรา
จักตั้งเขาในตำแหน่งพอประมาณ หากว่า เขาจักไม่รับเอาไซร้ เราจักตั้งเขา
ให้เป็นคนสนิทภายในวัง ดังนี้ จึงตรัสอย่างนั้น.

อภัยราชกุมารก็ดี พวกนางระบำทั้งหลายก็ดี บังเกิดความคิดว่า ไฉน
หนอ ชีวกจะไม่พึงถือเอา ? ถึงเขาก็เหมือนจะทราบความคิดของชนเหล่านั้น
จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นี้เป็นเครื่องประดับของอัยยิกาหม่อนฉัน อัน
เครื่องประดับนี้ ไม่สมควรที่หม่อมฉันจะรับไว้ ดังนี้แล้ว กราบทูลว่า อลํ เทว
เป็นอาทิ.
พระราชาทรงเลื่อมใส พระราชทานเรือนอันพร้อมสรรพด้วยเครื่อง
ประดับทั้งปวง สวนอัมพวัน บ้านมีส่วยแสนหนึ่งประจำปี และสักการะใหญ่
แล้วตรัสดำเป็นต้นว่า เตนหิ ภเณ.
หลายบทว่า อธิการํ เม เทโว สรตุ มีความว่า ขอจงทรงระลึก
ถึงอุปการะแห่งกิจการที่หม่อมฉันได้ทำไว้.
สองบทว่า สีสจฺฉวึ อุปฺปาเฏตฺวา ได้แก่ ถลกหนังศีรษะ.
สองบทว่า สิพฺพินึ วินาเมตฺวา ได้แก่ เปิดรอยประสาน.
ถามว่า เพราะเหตุไร หมอชีวกจึงกล่าวว่า คฤหบดี ท่านอาจหรือ ?
ตอบว่า หมอชีวกทราบว่า ได้ยินว่า สมองศีรษะย่อมไม่อยู่ที่ได้
เพราะการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ, แต่เมื่อเศรษฐีนั้นนอนนิ่ง ไม่กระเทือน 3
สัปดาหะ สองศีรษะจักอยู่ที่ได้ ดังนี้ แล้วคิดว่า อย่ากระนั้นเลย เศรษฐี
พึงปฏิญญาข้างละ 7 เดือน ๆ แต่พึงนอนเพียงข้างละ 7 วัน ๆ จึงกล่าวอย่าง
นั้น.
ด้วยเหตุนั้นแล หมอชีวกจึงกล่าวข้างหน้าว่า ก็แต่ว่า ท่านอันเรารู้
แล้ว โดยทันทีทีเดียว.
หลายบทว่า นาหํ อาจริย สกฺโกมิ มีความว่า ได้ยินว่า ความ
เร่าร้อนใหญ่ บังเกิดขึ้นในสรีระของเศรษฐีนั้น, เพราะเหตุนั้น เขาจึงกล่าว
อย่างนั้น .

สองบทว่า ตีหิ สตฺตาเหน คือ 3 ข้าง ๆ ละสัปดาหะหนึ่ง.
สองบทว่า ชนํ อุสฺสาเรตฺวา คือ ให้ไล่คนออกไปเสีย.

เรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชต


สามบทว่า เชคุจฺฉํ เม สปฺปิ มีความว่า ได้ยินว่า พระราชานี้
มีกำเนิดแห่งแมลงป่อง, เนยไสเป็นยาและเป็นของปฏิกูลของแสลงป่องทั้งหลาย
เพราะกำจัดพิษแมลงป่องเสีย; เพราะฉะนั้น ท้าวเธอจึงรับสั่งอย่างนั้น.
สองบทว่า อุทฺเทกํ ทสฺสุติ คือ จักให้อาเจียน.
สองบทว่า ปญฺญาสโยชนิกา โหติ มีความว่า ช้างพังชื่อภัททวติกา
เป็นพาหนะสามารถเดินทางได้ 50 โยชน์.
แต่พระราชานั้นจะมีแต่ช้างพังอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้, ถึงช้างพลาย
ชื่อว่านาฬาคิรี ย่อมเดินทางได้ 100 โยชน์. ม้า 2 ตัว คือเวลุกัณณะตัวหนึ่ง
มุญชเกสะตัวหนึ่ง ย่อมเดินทางได้ 120 โยชน์. ทาสชื่อกากะ ย่อมเดินทาง
ได้ 60 โยชน์.
ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่บังเกิดขึ้น วันหนึ่งเมื่อกุลบุตร ผู้
หนึ่งนั่งเพื่อจะบริโภค พระปัจเจกพุทธเจ้ายืนอยู่ที่ประตูแล้วได้ไปเสีย. บุรุษ
คนหนึ่ง บอกแก่กุลบุตรนั้นว่า พระปัจเจกพระพุทธเจ้ามาแล้วไปเสียแล้ว.
กุลบุตรนั้นได้ฟังจึงบอกว่า ท่านจงไป, จงนำบาตรมาโดยเร็ว ดังนี้ ให้นำ
บาตรมาแล้ว ให้ภัตที่เตรียมไว้สำหรับตนทั้งหมดส่งไป.
บุรุษนอกนี้ นำบาตรนั้นส่งไปถึงมือของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วได้
กระทำความปรารถนาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยประกอบความขวนขวายทาง
กาย ที่ข้าพเจ้ากระทำแก่ท่านนี้ ข้าพเจ้าเกิดในที่ไร ๆ ขอจงเป็นผู้พร้อมมูล