เมนู

เสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักตรวจโรคของพระองค์ แล้วรักษาโรค
ริดสีควงงอกของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช หายขาดด้วยทายาเพียง
ครั้งเดียวเท่านั้น.
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงหายประชวรจึงรับสั่ง
ให้สตรี 500 นาง ตกแต่งเครื่องประดับทั้งปวง ให้เปลื้องออกทำเป็นห่อแล้ว
ได้มีพระราชโองการแก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เครื่องประดับทั้งปวง
ของสตรี 500 นางนี้จงเป็นของเจ้า.
ชี. อย่าเลย พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงโปรดระลึกว่าเป็น
หน้าที่ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด.
พ. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงบำรุงเรากับพวกฝ่ายใน และภิกษุสงฆ์มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประมุข.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า.

เรื่องเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์


[132] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์ป่วยเป็นโรค
ปวดศีรษะอยู่ 7 ปี นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคน มารักษา ก็ไม่
สามารถรักษาให้หาย ขนเงินไปเป็นอันมาก อนึ่ง เศรษฐีนั้นถูกนายแพทย์
บอกคืน นายแพทย์บางพวกได้ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจ-
กรรมในวันที่ 5 บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่ 7.
ครั้งนั้นพวกคนร่ำรวยชาวพระนครราชคฤห์ได้มีความปริวิตกว่า
เศรษฐีคหบดีผู้นี้แล มีอุปการมากแก่พระเจ้าอยู่หัวและชาวนิคม แต่ท่านถูก

นายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐี
คหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ 5 บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรม
ในวันท 7 ก็ชีวกผู้นี้เป็นนายแพทย์หลวงที่หนุ่มทรงคุณวุฒิ ถ้าเช่นนั้นพวก
เราพึงทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะให้รักษาเศรษฐีคหบดี แล้ว
จึงพากันไปในราชสำนัก ครั้นถึงแล้วได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลแด่พระเจ้าพิม-
พิสารจอมเสนามาคธราชว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
เศรษฐีคหบดีผู้นี้มีอุปการะมากแก่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทและชาวนิคม แต่ท่าน
ถูกนายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐี
คหบดี จักถึงอนิจกรรมในวันที่ 5 บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจ-
กรรมในวันที่ 7 ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลี
พระบาทจงทรงมีพระบรมราชโองการสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อได้รักษาเศรษฐี
คหบดี.
ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงมีพระราชดำรัสสั่ง
ชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เจ้าจงไปรักษาเศรษฐีคหบดี.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า อย่างนั้นขอเดชะ
แล้วไปหาเศรษฐีคหบดี สังเกตอาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีคหบดีแล้ว ได้
ถามเศรษฐีคหบดีว่า ท่านคหบดี ถ้าฉันรักษาท่านหายโรค จะพึงมีรางวัล
อะไรแก่ฉันบ้าง.
ศ. ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน และตัวข้าพเจ้า
ก็ยอมเป็นทาสของท่าน.
ชี. ท่านคฤหบดี ท่านอาจนอนข้างเดียวตลอด 7 เดือนได้ไหม ?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างเดียวตลอด 7 เดือนได้.

ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจะนอนข้างที่สองตลอด 7 เดือนได้ไหม ?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างที่สองตลอด 7 เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจนอนหงายตลอด 7 เดือนได้ไหม ?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้า อาจนอนหงายตลอด 7 เดือนได้.
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ให้เศรษฐีคหบดีนอนบนเตียง มัดไว้กับเตียง
ถลกหนังศีรษะ เปิดรอยประสานกระโหลกศีรษะ นำสัตว์มีชีวิตออกมาสองตัว
แล้วแสดงแก่ประชาชนว่า ท่านทั้งหลายจงดูสัตว์มีชีวิท 2 ตัวนี้ เล็กตัวหนึ่ง
ใหญ่ตัวหนึ่ง พวกอาจารย์ที่ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรม
ในวันที่ 5 เพราะท่านได้เห็นสัตว์ตัวใหญ่นี้ มันจักเจาะกินมันสมองของเศรษฐี
คหบดีในวันที่ 5 เศรษฐีคหบดีถูกมันเจาะกินมันสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม
สัตว์ตัวใหญ่นี้ ชื่อว่าอันอาจารย์พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว ส่วนพวกอาจารย์ที่
ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ 7 เพราะท่านได้เห็น
สัตว์ตัวเล็กนี้ มันจักเจาะกินมันสมองของเศรษฐีคหบดีในวันที่ 7 เศรษฐี
คหบดีถูกมันเจาะกินมันสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์ตัวเล็กนี้ ชื่อว่า
อันอาจารย์พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว ดังนี้ แล้วปิดแนวประสานกระโหลกศีรษะ
เย็บหนังศีรษะแล้วได้ทายาสมานแผล.
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดีได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า
ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด 7 เดือนได้
ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้าง
เดียวตลอด 7 เดือนได้ดังนี้ มิใช่หรือ ?
ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่
ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด 7 เดือนได้.

ชี. ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนข้างที่สองตลอด 7 เดือนเถิด.
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวาคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า
ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด 7 เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้าง
ที่สองตลอด 7 เดือนได้ ดังนี้ มิใช่หรือ ?
ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่
ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด 7 เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนหงายตลอด 7 เดือนเถิด.
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์
ว่าท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงายตลอด 7 เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนหงาย
ตลอด 7 เดือนได้ ดังนี้ มิใช่หรือ ?
ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่
ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงายตลอด 7 เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ถ้าฉันไม่บอกท่านไว้ ท่านก็นอนถึงเท่านั้นไม่ได้
แต่ฉันทราบอยู่ก่อนแล้ว เศรษฐีคหบดีจักหายโรคในสามสัปดาห์ ลุกขึ้นเถิด
ท่านหายป่วยแล้ว ท่านจงรู้ จะให้รางวัลอะไรแก่ฉัน ?
ศ. ท่านอาจารย์ ก็ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน ตัวข้าพเจ้าก็
ยอมเป็นทาสของท่าน.
ชี. อย่าเลย ท่านคหบดี ท่านอย่าได้ให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่ฉัน
เลย และท่านก็ไม่ต้องยอมเป็นทาสของฉัน ท่านจงทูลเกล้าถวายทรัพย์แก่
พระเจ้าอยู่หัวแสนกษาปณ์ ให้ฉันแสนกษาปณ์ก็พอแล้ว.

ครั้นเศรษฐีคหบดีหายป่วย ได้ทูลเกล้าถวายทรัพย์แด่พระเจ้าอยู่หัว
แสนกษาปณ์. ได้ให้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ แสนกษาปณ์.

เรื่องบุตรเศรษฐีป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้


[133] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสีผู้เล่นกีฬา
หกคะเมน ได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้ ข้าวยาคูที่เธอดื่มเข้าไปก็ดี ข้าวสวย
ที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรค
นั้นเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่ง
ด้วยเอ็น ครั้งนั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสีได้มีความปริวิตกดังนี้ว่าบุตรของ
เราได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่
ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก บุตรของเรานั้นจึงซูบผอม เศร้าหมอง
มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นเพราะโรคนั้น ถ้ากระไร เรา
พึงไปพระนครราชคฤห์แล้วทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะได้
รักษาบุตรของเรา ต่อแต่นั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสีไปพระนครราชฤห์
แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ.
บุตรของข้าพระพุทธเจ้าได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่
เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เธอจึงซูบผอม
เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น
ขอพระราชทานพระราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงมีพระราชโอง
การสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อจะได้รักษาบุตรของข้าพระพุทธเจ้า.
ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงมีพระราช
ดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า ไปเถิด พ่อชีวก เจ้าจงไปพระนครพาราณสี
แล้วรักษาบุตรของเศรษฐีชาวกรุงพาราณสี.