เมนู

บทที่เหลือพึงทราบโดยความแผกจากที่กล่าวแล้ว. แต่ในที่นี้ ใน
อรรถกถามากหลาย ได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ธรรมเท่าไรย่อมเกิดพร้อมกับการ
กรานกฐิน คำนั้นทั้งหมด พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ได้ยกขึ้นสู่บาลี
ในคัมภีร์บริวารไว้แล้วแล; เพราะฉะนั้น พึงทราบตามนัยที่มาแล้วในคัมภีร์
บริวารนั้นเถิด. เพราะว่าข้อความไร ๆ แห่งการกรานกฐินจะเสียหายไป เพราะ
ไม่กล่าวคำนั้นไว้ในที่นี้ก็หามิได้.

ว่าด้วยการรื้อกฐิน1


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการกรานกฐินอย่างนี้แล้ว บัดนี้
จะทรงแสดงการรื้อ จึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว อุพฺภตํ โหติ กฐินํ
เป็นต้น แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็กฐินจะเป็นอันรื้ออย่างไร ?
วินิจฉัยในคำนั้น พึงทราบดังนี้:-
มาติกา นั้น ได้แก่ หัวข้อ อธิบายว่า แม่บท. จริงอยู่ หัวข้อ 8
นั้น ยังการรื้อกฐินให้เกิด.
ใน มาติกา เหล่านั้น ที่ชื่อว่า ปักกมนันติกา เพราะมีความ
หลีกไปเป็นทีสุด. ถึงมาติกาที่เหลือ ก็พึงทราบอย่างนี้.
บทว่า น ปจฺเจสฺสํ มีความว่า เราจักไม่มาอีก.
ก็ในการรื้อกฐินมีการหลีกไปเป็นที่สุดนี้ จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาส
ปลิโพธขาดทีหลัง จริงอยู่ เมื่อภิกษุหลีกไปเสียอย่างนั้น จีวรปลิโพธย่อม
ขาดในภายในสีนาทีเดียว, อาวาสปลิโพธิ ขาดในเมื่อล่วงสีมาไป.
อันที่จริง ถึงในคัมภีร์บริวาร ท่านก็กล่าวว่า:-

1. กฐินุทฺธาร การเดาะกฐิน ก็ว่า.

การรื้อกฐิน มีการทลีกไปเป็นที่สุด
พระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพระอาทิตย์ตรัสไว้แล้ว,
เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทิ้งอาวาส
นี้เสียละ ดังนี้ จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาส
ปลิโพธขาดที่หลัง.

สองบทว่า จีวรํ อาทาย มีความว่า ถือเอาจีวรที่ยังไม่ทำ (หลีกไป)
บทว่า พหิสีมาคตสฺส มีความว่า ไปสู่วัดอื่นที่ใกล้เคียง.
สองบทว่า เอวํ โหติ มีความว่า ความรำพึงอย่างนั้นย่อมมีเพราะ
ได้เห็นเสนาสนะที่ผาสุก หรือสหายสมบัติในวัดนั้น.
ส่วนการรื้อกฐินมีความเสร็จเป็นที่สุดนี้ อาวาสปลิโพธขาดก่อน จริงอยู่
อาวาสปลิโพธนั้น ย่อมขาด ในเมื่อสักว่าเกิดความคิดในจิตขึ้นว่า เราจักไม่
กลับมาละ เท่านั้น. อันที่จริง ถึงในคัมภีร์บริวารท่านก็กล่าวว่า:-
การรื้อกฐินมีความเสร็จเป็นที่สุด
พระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพระอาทิตย์ตรัสไว้แล้ว,
เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทิ้งอาวาส
นิเสียละ ดังนี้ อาวาสปลิโพธขาดก่อน
จีวรปลิโพธขาด ก่อเมื่อจีวรเสร็จแล้ว.

แม้ในการแจกมาติกาที่เหลือ พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ แต่ในมาติกาที่เหลือ
มีแปลกกันดังนี้:-
ในการรื้อกฐินมีความตกลงใจเป็นที่สุด ปลิโพธทั้งสองย่อมขาดพร้อม
กัน ในเมื่อมาตรว่าความคิดเกิดขึ้นว่า เราจักไม่ให้ทำจีวรนี้ละ เราจักไม่กลับ
มาละ ดังนี้ทีเดียว. แท้จริง (ในคัมภีร์บริวาร) ท่านก็กล่าวไว้ว่า:-

การรื้อกฐินมีความตกลงใจเป็นที่สุด
พระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพระอาทิตย์ตรัสไว้แล้ว,
เมื่อภิกษุหลีกไปด้วย คิดว่า เราจักทิ้งอาวาส
นี้เสียละ ดังนี้ ปลิโพธทั้งสองขาดไม่ก่อน
ไม่หลังกัน.

ความขาดปลิโพธในการรื้อกฐินทั้งปวง พึงทราบโดยนัยอย่างนี้:-
ก็แล ความขาดปลิโพธนั้น บัณฑิตอาจทราบได้ตามนัยที่กล่าวนี้
และตามที่มีมาในคัมภีร์บริวาร, เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าวโดยพิสดาร
ส่วนความสังเขปในกฐินุทธาร 5 มี นาสนนฺติกา เป็นต้นนี้ ดังนี้:-
ในการรื้อกฐินที่มีความเสียเป็นที่สุด อาวาสปลิโพธขาดก่อน เมื่อจีวร
เสีย จีวรปลิโพธจึงขาด.
ที่มีการฟังเป็นที่สุด จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาสปลิโพธขาดพร้อม
กับการฟังของภิกษุนั้น.
ที่มีความสิ้นหวังเป็นที่สุด อาวาสปลิโพธขาดก่อน, จีวรปลิโพธขาด
ต่อเมื่อสิ้นความหวังจะได้จีวรแล้ว.
ก็การรื้อกฐินมีความสิ้นหวังเป็นที่สุดนี้ มีหลายประเภท มีการแสดง
คลุกคละกันไปกับการรื้อนอกจากนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมได้ในที่ซึ่งไม่
ได้หวัง, ไม่ได้ในที่ซึ่งหวัง, เธอมีความรำพึงอย่างนี้ว่า เราจักทำจีวรนี้ในที่
นี้ละ, จักไม่กลับละ ดังนี้, เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแยกตรัส
ให้พิสดารข้างหน้า, ไม่ตรัสไว้ในลำดับนี้. แต่ได้ตรัสการรื้อกฐินมีความก้าว
ล่วงสีมาเป็นที่สุด เป็นลำดับแห่งการรื้อกฐินมีการฟังเป็นที่สุดในลำดับนี้.
ในการรื้อกฐินที่มีความก้าวล่วงสีมาเป็นที่สุดนั้น จีวรปลิโพธขาดก่อน,
อาวาสปลิโพธย่อมขาดต่อภิกษุนั้นอยู่นอกสีมา.

ในการรื้อกฐิน ที่มีการรื้อพร้อมกัน ปลิโพธ 2 ขาดไม่ก่อนไม่หลังกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกฐินุทธาร 7 ในอาทายวารอย่าง
นี้แล้ว, จึงทรงแสดงกฐินุทธาร 7 เหล่านั้นแลอีกแห่งจีวรที่ภิกษุทำค้างไว้ ใน
สมาทายวารบ้าง ตามที่เหมาะในอาทายสมาทายวารบ้าง.
เบื้องหน้าแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกฐินุทธารทั้งหลาย ซึ่ง
สมด้วยนัยเป็นต้นว่า อนธิฏฺฐิเตน ซึ่งพาดพิงถึงวิธีนี้ว่า เราจักไม่กลับ ดัง
นี้เท่านั้น, ไม่พาดถึงวิธีนี้ว่า เราจักกลับภายในสีมา เราจักไม่กลับ ดังนี้ เลย.
เบื้องหน้าแต่นั้น ครั้นทรงแสดงกฐินุทธารที่มีความสิ้นหวังเป็นที่สุด
หลายครั้ง โดยนัยอันคลุกคละกับกฐินุทธารนอกนี้ ด้วยนัยเป็นต้นว่า จีวรา-
ลาย ปกฺกมฺติ
แล้วทรงแดสงกฐินุทธารทั้งหลายที่สมควรใน มาติกา มี
นิฏฺฐานนฺติกา เป็นอาทิ เนื่องด้วยภิกษุผู้ไปสู่ทิศ และเนื่องด้วยภิกษุผู้มี
ความอยู่สำราญอีก.
ครั้นทรงแสดงกฐินุทธารโดยประเภทอย่างนี้แล้ว, บัดนี้ จะทรงแสดง
ปลิโพธซึ่งเป็นปฏิปักษ์แก่ปลิโพธทั้งหลาย ที่ตรัสไว้ว่า:-
ปลิโพธทั้งหลาย ย่อมขาดด้วยกฐินุทธารนั้น ๆ ดังนี้ จึงตรัส
คำว่า ภิกษุทั้งหลาย ปลิโพธแห่งกฐินมีองค์ 2 เหล่านี้ ดังนี้ เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺเตน มีความว่า อาวาสนั้นเป็นสถาน
อันภิกษุสละแล้ว ด้วยความสละอันใด ชื่อ ความสละอันนั้น ด้วยความ
สละนั้น.
แม้ในความวางและความปล่อยก็นัยนี้แล คำที่เหลือทุก ๆ สถาน ตื้น
ทั้งนั้นฉะนี้และ.

อรรถกถากฐินขันธกะ จบ

จีวรขันธกะ


เรื่องคนมีทรัพย์ ชาวพระนครราชคฤห์


[128] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ
เวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น พระนครเวสาลี เป็นบุรีมั่งคั่ง กว้างขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง
และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท 7,707 หลัง มีเรือนยอด 7,707 หลัง มี
สวนดอกไม้ 7,707 แห่ง มีสระโบกขรณี 7,707 สระ และมีหญิงงามเมือง
ชื่ออัมพปาลีเป็นสตรีทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วยผิวพรรณ
เฉิดฉายยิ่ง ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี คนทั้งหลาย
ที่มีความประสงค์ต้องการพาตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วย ราคาตัวคืนละ 50 กษาปณ์
พระนครเวสาลีงามเพริศพริ้งยิ่งกล่าวประมาณ เพราะนางอัมพปาลีหญิงงามเมือง
นั้น ครั้งนั้น พวกคนมีทรัพย์คณะหนึ่ง เป็นชาวพระนครราชคฤห์ ได้เดินทาง
ไปพระนครเวสาลีด้วยกรณียะบางอย่าง และได้เห็นพระนครเวสาลีมั่งคั่ง กว้าง
ขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท 7,707 หลัง
มีเรือนยอด 7,707 หลัง มีสวนดอกไม้ 7,707 แห่ง มีสระโบกขรณี 7,707
สระ และมีนางอัมพปาลีหญิงงามเมืองผู้ทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบ
ด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี
คนทั้งหลายที่มีความประสงค์ต้องการตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วย ราคาตัวคืนละ 50
กษาปณ์ และพระนครเวสาลี งามเพริศพริ้งยิ่งกว่าประมาณ เพราะนางอัมพ-
ปาลีหญิงงามเมืองนั้น ครั้นพวกเขาเสร็จกรณียะนั้นในพระนครเวสาลีแล้ว กลับ
มาพระนครราชคฤห์ตามเดิม เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ครั้น