เมนู

กราน คณะได้กราน บุคคลได้กราน ก็เมื่อกฐินกรานแล้วอย่างนั้น ถ้าแล
พวกทายกถวายอานิสงส์ที่นำมาพร้อมกับกฐินจีวรว่า ภิกษุรูปใดได้รับผ้ากฐิน
ของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุรูปนั้น ดังนี้ ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่.
ถ้าเขาไม่ทันได้สั่งเสียไว้ ถวายแล้วก็ไป ภิกษุสงฆ์เป็นใหญ่; เพราะเหตุนั้น
ถ้าแม้จีวรที่เหลือทั้งหลาย ของภิกษุผู้กรานเป็นของชำรุด สงฆ์พึงอปโลกน์ให้
ผ้าเพื่อประโยชน์แก่จีวร แม้เหล่านั้น. ส่วนกรรมวาจาคงใช้ได้ครั้งเดียวเท่า
นั้น. ผ้าอานิสงส์กฐินที่ยังเหลือ พึงแจกกันโดยลำดับแห่งผ้าจำนำพรรษา.
เพราะไม่มีลำดับ พึงแจกตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา. คุรุภัณฑ์ไม่ควรแจก. แต่ถ้า
ในสีมาเดียวมีหลายวิหาร ต้องให้ภิกษุทั้งปวงประชุมกรานกฐินในที่เดียวกัน;
จะกรานกันเป็นแผนก ๆ ไม่ควร.

อนัตถตาการและอัตถตาการ


ก็บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิธีที่กฐินจะเป็นอันกราน และไม่เป็นอันกราน
โดยพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็แลกฐินเป็นอัน
กรานแล้วด้วยอย่างนี้ ไม่เป็นอันกรานแล้วด้วยอย่างนี้ เมื่อจะทรงแสดง
อกรณียกิจ มหาภูมิกะ และอนัตถตลักขณะก่อน จึงทรงแสดงอาการ 24
มีคำว่า อุลฺลิขิตตมฺตเตน เป็นต้น , ต่อจากนั้นไป เมื่อจะทรงแสดงอัตถต-
ลักขณะ จึงทรงแสดงอาการ 17 มีคำว่า อหเตน อตฺถตํ เป็นอาทิ. จริง
อยู่ แม้ในคัมภีร์บริวาร ท่านก็ได้กล่าวลักษณะอย่างนี้เหมือนกันว่า กฐินไม่
เป็นอันกรานด้วยอาการ 24 กฐินเป็นอันกรานด้วยอาการ 17.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุลฺลิขิตมติเตน ได้แก่ ด้วยสักว่ากะ
ประมาณด้านยาวและค้านกว้าง. จริงอยู่ เมื่อจะกะประมาณ ย่อมใช้เล็บเป็น
ต้นกรีด แสดงที่กำหนดตัดอันนั้น หรือที่หน้าผากเป็นต้น เพื่อจำประเทศนั้นๆ

เพราะเหตุนั้น การกะประมาณนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สักว่ายกขึ้น
จด.
บทว่า โธวนมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าชักผ้ากฐิน.
บทว่า จีวรวจารณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่ากะอย่างนี้ว่า จงเป็น
จีวร 5 ขัณฑ์ หรือว่า จงเป็นจีวร 7 ขัณฑ์ หรือว่า จงเป็นจีวร 9 ขัณฑ์
หรือว่า จงเป็นจีวร 11 ขันฑ์.
บทว่า เฉทนมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าตัดผ้าตามที่กะไว้แล้ว.
บทว่า พนฺธนมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าเนาด้วยด้ายเนา.
บทว่า โอวฏฺฏิยกรณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าเย็บตามยาวคามแนว
ด้ายที่เนา.
บทว่า กณฺฑูสกรณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าติดห่วงผ้า.
บทว่า ทฬฺหีกมฺมกรณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าเย็บผ้าดามสองผืนติด
ปะกันเข้า.
อีกอย่างหนึ่ง มีความว่า ด้วยสักว่าเย็บผ้ากฐิน ทำให้เป็นผ้าตามท้อง
แห่งผ้าดามผืนแรกที่เชื่อมติดไว้แล้ว ดังนี้บ้าง.
ในมหาปัจจรี กล่าวว่า ด้วยติดผ้ารองจีวรปกติ. ส่วนในกุรุนที
กล่าวว่า ด้วยสักว่าเชื่อมผ้าคามต้องเข้า เพื่อทำจีวรที่เย็บไว้ชั้นเดียวตามปกติ
ให้เป็นสองชั้น.
บทว่า อนุวาตกรณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าติดอนุวาตด้านยาว.
บทว่า ปริภณฺฑกรณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าติดอนุวาตด้านกว้าง.
บทว่า โอวฏฺเฏยฺยกรณมตฺเตน คือ ด้วยสักว่าเพิ่มผ้าคามเข้า.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยสักว่าถือเอาผ้าจากจีวรกฐิน ติดเข้าที่ผ้าจีวรกฐิน
ผืนอื่น.
บทว่า กมฺพลมทฺทนมตฺเตน คือ ด้วยจีวรที่ใส่ลงในน้ำย้อมเพียง
ครั้งเดียว มีสีดังงาช้าง หรือมีสีดังใบไม้เหลีอง. แต่ถ้าแม้ย้อมครั้งเดียวหรือ
สองครั้ง ก็ได้สี ใช้ได้.
บทว่า นิมิตฺตกเตน คือ ด้วยผ้าที่ภิกษุทำนิมิตอย่างนี้ว่า เราจัก
กรานกฐินด้วยผ้านี้. จริงอยู่ ในคัมภีร์บริวารท่านกล่าวไว้เพียงเท่านี้ แต่ใน
อรรถกถาทั้งหลายกล่าวว่า ด้วยผ้าที่ภิกษุท่านิมิตได้มาอย่างนี้ว่า ผ้านี้ดี อาจ
กรานกฐินด้วยผ้าน้ำได้.
บทว่า ปริกถากเตน คือ ด้วยผ้าที่ภิกษุให้เกิดขึ้นด้วยพูดเลียบเคียง
อย่างนี้ว่า การถวายผ้ากฐิน สม ควรอยู่ ทายกเจ้าของกฐินย่อมได้บุญมาก ขึ้น
ชื่อว่า ผ้ากฐิน เป็นของบริสุทธิ์จริง ๆ จึงจะสมควร แม้มารดาของตน ก็
ไม่ควรออกปากขอ ต้องเป็นดังผ้าที่ลอยมาจากอากาศนั่นแล จึงจะเหมาะ.
บทว่า กุกฺกุกเตน คือ ด้วยผ้าที่ยืมมา.
ในบทว่า สนฺนิธิกเตน นี้ สันนิธิมี 2 อย่าง คือกรณสันนิธิ 1
นิจยสันนิธิ 1 ในสันนิธิ 2 อย่างนั้น การเก็บไว้ทำ ไม่ทำเสียให้เสร็จในวัน นั้น
ทีเดียว ชื่อกรณสันนิธิ. สงฆ์ได้ผ้ากฐินในวันนี้ แต่ถวายในวันรุ่งขึ้น นี้ชื่อ
นิจยสันนิธิ.
บทว่า นิสฺสคฺคิเยน คือ ด้วยผ้าที่ข้ามราตรี. แม้ในคัมภีร์บริวาร
ท่านก็กล่าวว่า ผ้าที่ภิกษุกำลังทำอยู่ อรุณขึ้นมาชื่อผ้านิสสัคคีย์
บทว่า อกปฺปกเตน คือ ด้วยผ้าที่ไม้ได้ทำกัปปพินทุ.

ในข้อว่า อญฺญตฺร สงฺฆาฏิยา เป็นต้น มีความว่า กฐินที่กราน
ด้วยผ้าลาดเป็นต้น ซึ่งเป็นผ้าอื่น นอกจากผ้าสังฆาฏิ ผ้าอุตราสงค์ และผ้า
อันตรวาสก ไม่เป็นอันกราน.
ข้อว่า อญฺญตฺร ปญฺจเกน วา อติเรกปญฺจเกน วา มีความว่า
กฐินที่กรานด้วยผ้าที่ทำเป็น 5 ขัณฑ์ หรือเกินกว่า 5 ขัณฑ์ แสดงมหามณฑล
และอัฑฒมณฑลเท่านั้น จึงใช้ได้. ด้วยว่า เมื่อทำอย่างนั้น จีวรเป็นอันทำได้
มณฑล เว้นจีวรนั้นเสีย กฐินที่กรานด้วยผ้าอื่นที่ไม่ได้ตัด หรือด้วยผ้าที่มี
ขัณฑ์ 2 มีขัณฑ์ 3 มีขัณฑ์ 4 ใช้ไม่ได้.
ข้อว่า อญฺญตฺร ปุคฺคลสฺส อตฺถารา มีความว่า กฐิน ไม่เป็น
อันกราน ด้วยการกรานของสงฆ์ หรือของคณะอื่น เพราะเว้นการกรานของ
บุคคลเสีย.
ข้อว่า นิสีมฎฺโฐ อนุโมทติ มีความว่า ภิกษุผู้อยู่ภายนอก
อุปจารสีมาอนุโมทนา.
บทว่า อหเตน คือ ด้วยผ้าที่ยังไม่ได้ใช้.
บทว่า อหตกปฺเปน คือ ด้วยผ้าเทียมใหม่ คือที่ซักแล้ว ครั้ง
เดียวหรือ 2 ครั้ง.
บทว่า ปิโลติกาย คือ ด้วยผ้าเก่า.
บทว่า ปํสุกูเลน คือ ด้วยผ้าบังสุกุลที่เกิดในเขต 23 ในกุรุนที
และมหาปัจจรี แก้ว่า ได้แก่ ด้วยจีวรที่ภิกษุผู้ถือบังสุกุลทำด้วยผ้าที่คนเที่ยว
ขอได้มา.
บทว่า อาปณเกน มีความว่า ทายกเก็บผ้าเก่าที่ตกตามประตูร้าน
ตลาด ถวายเพื่อประโยชน์แก่กฐิน กฐินที่กรานแล้วแม้ด้วยผ้านั้นย่อมใช้ได้

บทที่เหลือพึงทราบโดยความแผกจากที่กล่าวแล้ว. แต่ในที่นี้ ใน
อรรถกถามากหลาย ได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ธรรมเท่าไรย่อมเกิดพร้อมกับการ
กรานกฐิน คำนั้นทั้งหมด พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ได้ยกขึ้นสู่บาลี
ในคัมภีร์บริวารไว้แล้วแล; เพราะฉะนั้น พึงทราบตามนัยที่มาแล้วในคัมภีร์
บริวารนั้นเถิด. เพราะว่าข้อความไร ๆ แห่งการกรานกฐินจะเสียหายไป เพราะ
ไม่กล่าวคำนั้นไว้ในที่นี้ก็หามิได้.

ว่าด้วยการรื้อกฐิน1


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการกรานกฐินอย่างนี้แล้ว บัดนี้
จะทรงแสดงการรื้อ จึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว อุพฺภตํ โหติ กฐินํ
เป็นต้น แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็กฐินจะเป็นอันรื้ออย่างไร ?
วินิจฉัยในคำนั้น พึงทราบดังนี้:-
มาติกา นั้น ได้แก่ หัวข้อ อธิบายว่า แม่บท. จริงอยู่ หัวข้อ 8
นั้น ยังการรื้อกฐินให้เกิด.
ใน มาติกา เหล่านั้น ที่ชื่อว่า ปักกมนันติกา เพราะมีความ
หลีกไปเป็นทีสุด. ถึงมาติกาที่เหลือ ก็พึงทราบอย่างนี้.
บทว่า น ปจฺเจสฺสํ มีความว่า เราจักไม่มาอีก.
ก็ในการรื้อกฐินมีการหลีกไปเป็นที่สุดนี้ จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาส
ปลิโพธขาดทีหลัง จริงอยู่ เมื่อภิกษุหลีกไปเสียอย่างนั้น จีวรปลิโพธย่อม
ขาดในภายในสีนาทีเดียว, อาวาสปลิโพธิ ขาดในเมื่อล่วงสีมาไป.
อันที่จริง ถึงในคัมภีร์บริวาร ท่านก็กล่าวว่า:-

1. กฐินุทฺธาร การเดาะกฐิน ก็ว่า.