เมนู

ภิกษุใดมีจีวรเก่า, ควรให้แก่ภิกษุนั้น. ถ้าภิกษุมีจีวรเก่าหลายรูปพึง
ให้แก่ผู้เฒ่า. ในหมู่ผู้เฒ่าเล่า ภิกษุใดเป็นมหาบุรุษสามารถทำจีวรเสร็จทัน
กรานในวันนั้น, ควรให้แก่ภิกษุนั้น ถ้าผู้เฒ่าไม่สามารถ ; ภิกษุผู้อ่อนกว่า
สามารถ; พึงให้แก่เธอ. แต่สงฆ์ควรทำความสงเคราะห์แก่พระมหาเถระ,
เพราะฉะนั้น สงฆ์พึงเรียนท่านว่า ขอท่านจงรับเถิด, พวกข้าพเจ้าจักช่วยทำ
ถวาย. ในไตรจีวรผืนใดคร่ำคร่า, ควรให้เพื่อประโยชน์แก่ผืนนั้น. ตามปกติ
พระมหาเถระครองจีวรสองชั้น พึงให้เพื่อพอทำได้สองชั้น. ถ้าแม้ท่านครอง
จีวรชั้นเดียวแต่เนื้อแน่น, แต่ผ้ากฐินเนื้อบาง ; พึงให้ให้พอสองชั้นทีเดียว เพื่อ
จะได้เหมาะสมทรง. ถึงแม้ท่านพูดอยู่ว่า เมื่อไม่ได้เราก็จะครองชั้นเดียว
ก็ควรให้สองชั้น, แต่ถ้าภิกษุใดเป็นผู้มีปกติโลภ. ไม่ควรให้แก่ภิกษุนั้น.
ท่านผู้รับนั้นเล่า ก็ไม่ควรรับด้วยคิดว่า เรากรานกฐินแล้ว ภายหลัง
จักเลาะออกทำเป็นจีวรสองผืน

ว่าด้วยกฐินวัตร


ก็แล เพื่อจะแสดงวิธีที่จะพึงให้แก่ภิกษุที่สงฆ์จะให้ พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ทรงปรารภว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็แล กฐินอันภิกษุพึงกรานอย่างนี้ ดังนี้
แล้ว จึงตรัสกรรมวาจาสำหรับให้ก่อน มีคำว่า สุณาตุ เม ภนฺเต เป็นต้น.
ก็เมื่อกฐินอันสงฆ์ให้อย่างนี้แล้ว หากผ้ากฐินนั้นเป็นของมีบริกรรมเสร็จสรรพ
แล้ว อย่างนั้นนั่นเป็นการดี: หากมีบริกรรมยังไม่สำเร็จ แม้ภิกษุรูปหนึ่ง
จะไม่ช่วยทำด้วยถือตัวว่า เราเป็นเถระ หรือว่า เราเป็นพหุสสุตะ ดังนี้ไม่
ได้; การชักเย็บและย้อม ภิกษุทั้งหมดต้องประชุมช่วยกันให้สำเร็จ ก็ข้อนี้
ชื่อกฐินวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระก็ได้ทรงทำ
กฐินวัตรมาแล้ว ในอดีตกาล. ได้ยินว่า พระอัครสาวกของพระองค์ชื่อสุชาต
เถระ ได้รับกฐิน. พระศาสดาได้ทรงนั่งทำกฐินวัตรนั้น พร้อมด้วยภิกษุ
หกล้านแปดแสนรูป.

วิธีกราน


อันภิกษุผู้กราน พึงถือเอาผ้ากฐินที่ทำเสร็จสรรพแล้วกรานกฐินตาม
วิธีท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์บริวาร1 มีคำเป็นต้นว่า ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วย
สังฆาฏิ พึงถอนสังฆาฏิเก่า อธิษฐานสังฆาฏิใหม่ พึงลั่นวาจาว่า ข้าพเจ้า
กรานกฐิน ด้วยสังฆาฏินี้ ก็แล ครั้นกรานแล้ว พึงให้ภิกษุทั้งหลยอนุโมทนา
ตามวิธีที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์บริวาร2 มีคำเป็นอาทิอย่างนี้แลว่า ภิกษุผู้กราน
กฐินนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประณมมือ
กล่าวอย่างนี้ว่า อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก ถฐินตฺถาโร
อนุโมทถ
ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม
ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด, ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านี้ พึงทำผู้อุตราสงค์
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประณมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุกฐินของสงฆ์กรานแล้ว
การกรานกฐินเป็นธรรม เราอนุโมทนา; ฝ่ายพวกภิกษุนอกนี้ พึงอนุโมทนา
กฐินเป็นภิกษุทุก ๆ รูปกรานแล้ว ด้วยประการอย่างนี้.
แท้จริง ในคัมภีร์บริวาร3 ท่านกล่าวว่า กฐินเป็นอันบุคคลสองฝ่าย
คือ ผู้กรานหนึ่ง ผู้อนุโมทนาหนึ่ง กรานแล้ว. ทั้งได้กล่าวไว้อีกว่า สงฆ์
หาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ บุคคลกรานกฐิน; แต่พระสงฆ์
อนุโมทนา เพราะคณะอนุโมทนา เพราะบุคคลกราน กฐินได้ชื่อว่า สงฆ์ได้

1. ปริวาร. 435. 2. ปริวาร. 436 3. นัย -ปริวาร. 438.