เมนู

ภิกษุใดมีจีวรเก่า, ควรให้แก่ภิกษุนั้น. ถ้าภิกษุมีจีวรเก่าหลายรูปพึง
ให้แก่ผู้เฒ่า. ในหมู่ผู้เฒ่าเล่า ภิกษุใดเป็นมหาบุรุษสามารถทำจีวรเสร็จทัน
กรานในวันนั้น, ควรให้แก่ภิกษุนั้น ถ้าผู้เฒ่าไม่สามารถ ; ภิกษุผู้อ่อนกว่า
สามารถ; พึงให้แก่เธอ. แต่สงฆ์ควรทำความสงเคราะห์แก่พระมหาเถระ,
เพราะฉะนั้น สงฆ์พึงเรียนท่านว่า ขอท่านจงรับเถิด, พวกข้าพเจ้าจักช่วยทำ
ถวาย. ในไตรจีวรผืนใดคร่ำคร่า, ควรให้เพื่อประโยชน์แก่ผืนนั้น. ตามปกติ
พระมหาเถระครองจีวรสองชั้น พึงให้เพื่อพอทำได้สองชั้น. ถ้าแม้ท่านครอง
จีวรชั้นเดียวแต่เนื้อแน่น, แต่ผ้ากฐินเนื้อบาง ; พึงให้ให้พอสองชั้นทีเดียว เพื่อ
จะได้เหมาะสมทรง. ถึงแม้ท่านพูดอยู่ว่า เมื่อไม่ได้เราก็จะครองชั้นเดียว
ก็ควรให้สองชั้น, แต่ถ้าภิกษุใดเป็นผู้มีปกติโลภ. ไม่ควรให้แก่ภิกษุนั้น.
ท่านผู้รับนั้นเล่า ก็ไม่ควรรับด้วยคิดว่า เรากรานกฐินแล้ว ภายหลัง
จักเลาะออกทำเป็นจีวรสองผืน

ว่าด้วยกฐินวัตร


ก็แล เพื่อจะแสดงวิธีที่จะพึงให้แก่ภิกษุที่สงฆ์จะให้ พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ทรงปรารภว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็แล กฐินอันภิกษุพึงกรานอย่างนี้ ดังนี้
แล้ว จึงตรัสกรรมวาจาสำหรับให้ก่อน มีคำว่า สุณาตุ เม ภนฺเต เป็นต้น.
ก็เมื่อกฐินอันสงฆ์ให้อย่างนี้แล้ว หากผ้ากฐินนั้นเป็นของมีบริกรรมเสร็จสรรพ
แล้ว อย่างนั้นนั่นเป็นการดี: หากมีบริกรรมยังไม่สำเร็จ แม้ภิกษุรูปหนึ่ง
จะไม่ช่วยทำด้วยถือตัวว่า เราเป็นเถระ หรือว่า เราเป็นพหุสสุตะ ดังนี้ไม่
ได้; การชักเย็บและย้อม ภิกษุทั้งหมดต้องประชุมช่วยกันให้สำเร็จ ก็ข้อนี้
ชื่อกฐินวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ.