เมนู

11. หวังได้ส่วนจีวร ผาสุวิหาร คือ อยู่ตามสบาย 5 ข้อ 12. กฐินมีปลิโพธ
และสิ้นปลิโพธ นักปราชญ์พึงแต่งหัวขอคามเค้าความเทอญ.
หัวข้อประจำขันกะ จบ

อรรถกฐินขันธกะ


เรื่องภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ


วินิจฉัยในกฐินขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ปาเฐยฺยกา มีความว่า เป็นชาวจังหวัดปาเฐยยะ. มีคำ
อธิบายว่า ทางค้านทิศตะวันตก ในแคว้นโกศล มีจังหวัดชื่อปาเฐยยะ,
ภิกษุเหล่านั้น มีปกติอยู่ในจังหวัดนั้น. คำว่า ปาเฐยฺยกา นั้น เป็นชื่อของ
พวกพระภัททวัคคิยเถระ ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมพระบิดาของพระเจ้าโกศล ใน
พระเถระ 30 รูปนั้น รูปที่เป็นใหญ่กว่าทุก ๆ รูป เป็นพระอนาคามี รูปที่
ด้อยกว่าทุก ๆ รูปเป็นพระโสดาบัน; ที่เป็นพระอรหันต์ หรือปุถุชน แม้
องค์เดียวก็ไม่มี.
บทว่า อารญฺญถา มีความว่า มีปกติอยู่ป่า ด้วยอำนาจสมาทาน
ธุดงค์, ไม่ใช่สักว่าอยู่ป่า. ถึงในข้อที่ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นต้น
ก็มีนัยเหมือนกัน.
อันที่จริง คำว่า มีปกติอยู่ป่า นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจธุดงค์ที่เป็น
ประธาน แต่ภิกษุเหล่านี้ สมาทานธุดงค์ทั้ง 13 ทีเดียว.

บทว่า อุทถสงฺคเห มีความว่า เมื่อภูมิภาคถูกน้ำท่วม คือ ขังแช่
แล้ว, อธิบายว่า ทั้งที่เอนทั้งที่ลุ่ม เป็นที่มีน้ำเป็นอันเดียวกัน.
บทว่า อุทกจิกฺขลฺล มีดวามว่า ในที่ซึ่งเธอทั้งหลายเหยียบแล้ว
เหยียบแล้ว น้ำโคลนย่อมกระฉูดขึ้นถึงตะโพก, ทางลิ้นเช่นนี้.
บทว่า โอกปุณฺเณหิ มีความว่า ชุ่มโชกด้วยน้ำ.
ได้ยินว่า จีวรของพวกเธอ มีเนื้อแน่น, น้ำซึ่งตกที่จีวรเหล่านั้น จึง
ไม่ไหลไปเพราะเป็นผ้าเนื้อแน่น, ย่อมติดค้างอยู่เหมือนห่อผูกไว้ ; เพราะ
ฉะนั้นเท่านี้จึงกล่าวว่า มีจีวรชุ่มโชกด้วยน้ำ. ปาฐะว่า โอฆปุณฺเณหิ ก็มี.
วินิจฉัยในคำว่า อวิวทมานา วสฺสํ วสิมฺหา นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุเหล่านั้น อยู่ไม่ผาสุก เพราะไม่มีความสำราญด้วยเสนาสนะใน
ฐานที่ตนเป็นอาคันตุกะ และเพราะเป็นผู้กระวนกระวายในใจ ด้วยไม่ได้เฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้น พวกเธอจึงไม่ทูลว่า พวกข้าพระองค์ไม่
วิวาทกัน จำพรรษาเป็นผาสุก.
ข้อว่า ธมฺมึ กถํ กตฺวา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอน
อนมตัคคิยกถาแก่ภิกษุเหล่านั้น. เธอทั้งหมดเทียว ได้บรรลุพระอรหันในเวลา
จบกถา แล้วได้เหาะไปในอากาศ จากที่ซึ่งตนนั่งทีเดียว. พระธรรมสังคาหกา
จารย์ทั้งหลายหมายเอาอนมตัคคิยกถานั้นกล่าวว่า ธมฺมึ กถํ กตฺวา ภายหลัง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า ถ้าการกรานกฐิน จักได้เป็นการที่เราได้บัญญัติ
แล้วไซร้ ภิกษุเหล่านั้น จะเก็บจีวรไว้ผืนหนึ่งแล้ว มากับอันตรวาสกและ
อุตราสงค์จะไม่ต้องลำบากอย่างนั้น; ก็ธรรมดาการกรานกฐินนี้ อันพระพุทธเจ้า
ทุก ๆ พระองค์ ทรงบัญญัติแล้ว ดังนี้. มีพระประสงค์จะทรงอนุญาตการ
กรานกฐิน จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา, ก็แล ครั้นตรัสเรียกมาแล้ว จึงตรัส
คำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว เป็นอาทิ.

ว่าด้วยอานิสงส์ 5


วินิจฉัยในคำนั้น พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า อตฺถตกฐินานํ โว นี้ โว อักษร สักว่านิบาต, ความ
ว่า ผู้กรานกฐินแล้ว. จริงอยู่ เมื่อเป็นอย่างนั้น คำว่า โส เนสํ ภวิสฺสติ
ข้างหน้า จึงจะสมกัน.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โว นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตตินั่นเอง. ส่วนในคำว่า
โส เนสํ นี้ มีความว่า จีวรที่เกิดขึ้นนั้น จักเป็นของภิกษุทั้งหลาย ผู้กราน-
กฐินแล้วเที่ยว.
บรรดาอานิสงส์ 5 นั้น ข้อว่า อนามนฺตจาโร มีความว่า กฐิน
อันสงฆ์ยังไม่รื้อ1เพียงใด, การเที่ยวไปไม่บอกลา จักควรเพียงนั้น; คือจักไม่
เป็นอาบัติเพราะจาริตตสิกขาบท.
ข้อว่า อสมาทานจาโร ได้แก่ เที่ยวไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปด้วย.
ความว่า การอยู่ปราศจากจีวร จักควร.
ข้อว่า คณโภชนํ มีความว่า แม้การฉันคณโภชน์ จักควร. ข้อว่า
ยาวทตฺถจีวรํ มีความว่า ต้องการด้วยจีวรเท่าใด. จีวรเท่านั้น ไม่ต้อง
อธิษฐาน ไม่ต้องวิกัป จักควร.
ข้อว่า โย จ ตตฺถ จีวรูปฺปาโท มีความว่า จะเป็นจีวรของภิกษุ
สามเณรผู้มรณภาพในสีมาที่ได้กรานกฐินแล้วนั้น หรือจีวรที่ทายกถวายเฉพาะ
สงฆ์ หรือจีวรที่จ่ายมาด้วยค่ากัลปนาของสงฆ์ ซึ่งเกิดขึ้นในสีมานั้น ก็ตามที,
จีวรใดเป็นของสงฆ์เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง, จีวรนั้น จักเป็นของ
พวกเธอ.

1. อุพฺภต แปลตามพากย์เขมรว่า เดาะ.