เมนู

วินิจฉัยในข้อว่า ฐเปตฺวา มธุกปุปฺผรสํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
รสดอกมะซางจะสุกด้วยไฟ หรือสุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ตามย่อมไม่ควร
ในปัจฉาภัต ชนทั้งหลายถือเอารสดอกไม้อันใดซึ่งสุกแล้ว ทำให้เป็นน้ำเมา
รสแห่งดอกไม้นั้น ย่อมไม่ควรแต่ต้น แม้ในปุเรภัต. ส่วนดอกมะซาง จะ
สดหรือแห้ง หรือคั่วแล้ว หรือคลุกน้ำอ้อยแล้วก็ตามที เขายังไม่ทำให้เป็น
น้ำเมา จำเดิมแต่ดอกชนิดใด ดอกชนิดนั้นทั้งหมด ย่อมควรในปุเรภัต รส
อ้อยที่ไม่มีกาก ควรในปัจฉาภัต. รส 4 อย่างเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงอนุญาตน้ำปานะ ได้ทรงอนุญาตไว้ด้วยประการฉะนั้นแล.

ว่าด้วยผักและแป้ง


เรื่องแห่งมัลละชื่อโรชะ ชัดเจนแล้วทั้งนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สพฺพญฺจ ฑากํ ได้แก่ ผักชนิดใด
ชนิดหนึ่ง ซึ่งทอดด้วยเนยใสเป็นต้นก็ดี ไม่ได้ทอดก็ดี.
บทว่า ปิฏฺฐขาทนียํ ได้แก่ ของควรเคี้ยวที่แล้วด้วยแป้ง. ได้ยิน
ว่า เจ้าโรชะให้ตกแต่งของทั้งสองอย่างนี้ สิ้นทรัพย์ไปแสนหนึ่ง.
สองบทว่า สงฺครํ อกํสุ มีความว่า ได้ทำข้อบังคับ.
หลายบทว่า อุฬารํ โข เต อิทํ มีความว่า การต้อนรับพระผู้มี
พระภาคเจ้าของท่านนี้ เป็นกิจดีแล.
หลายบทว่า นาหํ ภนฺเต อานนฺท พหุกโต มีความว่าเจ้าโรชะ
นั้น แสดงว่า เราจะได้มาที่นี่ด้วยความเลื่อมใสและความนับถือมาก ซึ่งเป็น
ไปในพระพุทธเจ้าเป็นต้น หามิได้.

เรื่องภิกษุเคยเป็นช่างโกนผม


บทว่า มญฺชุกา ได้แก่ เป็นผู้มีถ้อยคำไพเราะ.

บทว่า ปฏภาเฌยฺยกา มีความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยไหวพริบใน
ศิลปะของตน.
บทว่า ทกฺขา เป็นผู้ฉลาดหรือเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน.
บทว่า ปริโยทาตสิปฺปา ได้แก่ ผู้มีศิลปะหาโทษมิได้.
บทว่า นาฬิยาวาปเกน ได้แก่ ทะนานและถึง. มีคำอธิบายว่า
ชนทั้งหลายย่อมกรอก คือ ย่อมใส่ข้าวสารที่ได้แล้ว ๆ ในภาชนะใด ภาชนะ
นั้น ชื่อ อาวาปกะ แปลว่า ถุง.
วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว นหาปิตปุพฺเพน ขุรภณฺฑํ นี้พึง
ทราบดังนี้:-
ภิกษุผู้เคยเป็นช่างโกนผม ไม่ควรเก็บรักษามีดโกนไว้เลย แต่จะปลง
ผมด้วยมีดโกนเป็นของผู้อื่น ควรอยู่. ถ้าจะถือเอาค่าจ้างปลงไม่ควร. ภิกษุใด
ไม่เคยเป็นช่างโกนผม แม้ภิกษุนั้นจะรักษามีดโกนไว้ ย่อมควร; ถึงแม้จะถือ
เอามีดโกนเล่มนั้นหรือเล่มอื่นปลงผม ก็ควร.
สองบทว่า ภาคํ ทตฺวา มีความว่า พึงให้ส่วนที่ 10. ได้ยินว่า
การให้ส่วนที่ 10 นี้ เป็นธรรมเนียมเก่า ในชมพูทวีป เพราะเหตุ นั้น พึง
แบ่งเป็น 10 ส่วนแล้ว ให้แก่พวกเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่ง.

มหาปเทส 4


เพื่อประโยชน์ที่ภิกษุทั้งหลายจะได้ถือไว้เป็นแบบ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสมหาปเทส (คือ หลักสำหรับอ้างใหญ่) 4 ข้อเหล่านั้น ว่า ยํ ภิกฺขเว
มยา อิทํ น กปฺปติ
เป็นต้น.
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย เมื่อถือเอาสูตรสอบสวนดูในมหา-
ปเทสนั้น ได้เห็นความข้อนี้ว่า.
ด้วยพระบาลีว่า ฐเปตฺวา ธญฺญผลรสํ นี้ ธัญญชาติ 7 ชนิด
เป็นอันห้ามแล้วว่า ไม่ควรในปัจฉาภัต. มหาผล 9 อย่าง คือ ผลตาล ผล