เมนู

บทว่า สามุกฺกํสิกา ได้แก่ (ธรรมเทศนา) ที่พระองค์เองทรงยก
ขึ้น อธิบายว่า ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกเหล่าอื่น.
บทว่า อุทฺทิสฺสกตํ ได้แก่ มังสะที่เขาทำเฉพาะตน.
บทว่า ปฏิจฺจกมฺมํ มีความว่า มังสะที่เขาเจาะจงตนกระทำอีกอย่าง
หนึ่ง คำว่า ปฏิจจกรรม นี้ เป็นชื่อของนิมิตกรรม. แม้มังสะ ท่านเรียกว่า
ปฏิจจกรรม นี้ เป็นชื่อของนิมิตกรรม. แม้มังสะ ท่านเรียกว่า ปฏิจจกรรม
ก็เพราะเหตุว่า ในมังสะนี้มีปฏิจจกรรมนั้น. จริงอยู่ ผู้ใดบริโภคมังสะเห็น
ปานนั้น. ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น อธิบายว่า กรรม คือ การ
ฆ่าสัตว์ย่อมมีแม้แก่ผู้นั้น เหมือนมีแก่ผู้ฆ่าเอง.
บทว่า น ชีรนฺติ มีความว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เมื่อกล่าวตู่อยู่
ชื่อย่อมไม่สร่างไป อธิบายว่า ย่อมไม่มีถึงที่สุดแห่งการกล่าวตู่. กถาแสดง
มังสะมีความบริสุทธิ์โดยส่วนสาม ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งสังฆเภท
สิกขาบท1

ว่าด้วยกัปปิยภูมิ


บทว่า ปจฺจนฺติมํ นี้ สักว่าตรัส แต่ว่า ถึงวิหารใกล้ก็ควรจะสมมติ
ได้ เพราะพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ยํ สงฺโฆ อากงฺขติ แปลว่า สงฆ์หวังจะ
สมมติที่ใด แม้จะไม่สวดกรรมวาจา สมมติด้วยอปโลกน์แทน ก็ควรเหมือน
กัน.
บทว่า สกฏปริวตฺตกํ มีความว่า พักอยู่ ประหนึ่งทำให้ห้อมล้อม
ด้วยเกวียนทั้งหลาย.

1. สมนฺต. ทุติย. 115.

บทว่า กาโกรวสทฺทํ ได้แก่ เสียงร้องก้องแห่งกาทั้งหลายซึ่งประชุม
กัน แต่เช้ามืดทีเดียว เพื่อต้องการจะกินเหยื่อที่เขาทิ้งแล้ว ในที่นั้น ๆ. พระ-
เถระชื่อยโสชะ เป็นบุรุษเลิศแห่งบรรพชิตห้าร้อย ในเวลาจบกปิลสูตร.
วินิจฉัยในบทว่า อุสฺสาวนนฺติกํ เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
กัปปิยภูมิ ชื่ออุสสาวนันติกา พึงทำก่อนอย่างนี้ ที่อยู่ใด เขาทำเสียบ
บนเสาหรือในเชิงฝา ศิลาที่รองเสาภายใต้ที่อยู่นั้น มีคติอย่างพื้นดินเหมือนกัน.
ก็แล เมื่อจะให้ทั้งเสาแรก หรือเชิงฝาแรก ภิกษุหลายรูปพึงล้อม
กันเข้า เปล่งวาจาว่า กปฺปิยกุฏิ กโรม แปลว่า เราทำกัปปิยกุฏิ เมื่อชน
ทั้งหลายช่วยกันยกขึ้นให้ตั้งลง พึงจับเองหรือยกเองก็ได้ ให้ตั้งเสาหรือเชิงฝา.
ส่วนในกุรุนทีและมหาปัจจรี ท่านแก้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พึงให้ตั้งลง
กล่าวว่า กัปปิยกุฏิ กัปปิยกุฏิ.
ในอันธกอรรถกถา แก้ว่า พึงกล่าวว่า สงฺฆสฺส กปฺปิยกุฏึ
อธิฏฺฐามิ
แปลว่า ข้าพเจ้า อธิษฐานกัปปิยกุฏิเพื่อสงฆ์. แต่ถึงแม้จะไม่
กล่าวคำนั้น ย่อมไม่มีโทษในเพราะคำที่กล่าวแล้ว ตามนัยที่กล่าวไว้ในอรรถ-
กถาทั้งหลายเท่านั้น. แต่ในอธิการว่าด้วยการทำกัปปิยภูมิ ชื่ออนุสสาวนันติกานี้
มีลักษณะที่ทั่วไปดังนี้ ขณะที่เสาตั้งลง และขณะที่จบคำ เป็นเวลาพร้อมกัน
ใช้ได้. แต่ถ้า เมื่อคำยังไม่ทันจบ เสาตั้งลงก่อน หรือเมื่อเสานั้นยังไม่ทัน
ตั้งลง คำจบเสียก่อน. กัปปิยกุฏิ ไม่เป็นอันได้ทำ. เพราะเหตุนั้นแล ใน
มหาปัจจรี ท่านจึงแก้ว่า ภิกษุมากองค์ด้วยกัน พึงล้อมกันเข้าแล้วกล่าว.
ด้วยว่า ความจบคำและความตั้งลงแห่งเสาของภิกษุรูปหนึ่ง ในภิกษุเหล่านี้
จักมีพร้อมกันได้เป็นแน่ ก็แล ในกุฎีทั้งหลายที่มีฝาก่อด้วยอิฐ ศิลาหรือดิน
ข้างใต้ถุนจะก่อก็ตามไม่ก่อก็ตาม ภิกษุทั้งหลายปรารถนาจะให้ตั้งฝาขึ้นตั้งแต่

อิฐหรือศิลา หรือก้อนดินอันใด พึงถือเอาอิฐหรือศิลา หรือก้อนดินอันนั้น
ก่อนอันอื่นทั้งหมด ทำกัปปิยกุฏิตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล แต่อิฐเป็นต้น ที่
ก่อขึ้นบนพื้นภายใต้แห่งอิฐก้อนแรกเป็นต้นแห่งฝา ไม่ควร. ส่วนเสาย่อมขึ้น
ข้างบน เพราะเหตุนั้น เสาจึงควร.
ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า จริงอยู่ เมื่อใช้เสา พึงอธิษฐานเสา 4 ต้นที่
4 มุม เมื่อใช้ฝาที่ก่ออิฐเป็นต้น พึงอธิษฐานอิฐ 23 แผ่นที่ 4 มุม. แต่ถึง
กัปปิยกุฏิที่ไม่ทำอย่างนั้น ก็ไม่มีโทษ เพราะว่าคำที่กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย
เท่านั้น ย่อมเป็นประมาณ.
กัปปิยกุฏิ ชื่อ โคนิสาทิกา มี 2 อย่าง คือ อารามโคนิสาทิกา 1
วิหารโคนิสาทิกา 1. ใน 2 อย่างนั้น ในวัดโค อารามก็ไม่ได้ล้อม เสนาสนะ
ทั้งหลายก็ไม่ล้อม วัดนี้ ชื่ออารามโคสาทิกา, ในวัดใด เสนาสนะล้อมทั้งหมด
หรือล้อมบางส่วน อารามไม่ได้ล้อม วัดนี้ชื่อวิหารโคนิสาทิกา. ข้อที่อาราม
ไม่ได้ล้อมนั่นแล เป็นประมาณในโคนิสาทิกาทั้ง 2 อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
แต่ในกุรุนที่และมหาปัจจรีแก้ว่า อารามที่ล้อมกึ่งหนึ่งก็ดี ล้อมมากกว่ากึ่งก็ดี
จัดเป็นอารามที่ล้อมได้. ในอารามที่ล้อมกึ่งหนึ่งเป็นต้นนี้ ควรจะได้กัปปิยกุฏิ.
บทว่า คหปติ มีความว่า ชนทั้งหลายทำอาวาสแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้า
ถวายกัปปิยกุฏิ ขอท่านจงใช้สอยเถิด กัปปิยกุฏินี้ ชื่อ คฤหบดี. แม้เขากล่าว
ว่า ข้าพเจ้าถวายเพื่อทำกัปปิยกุฏิ ดังนี้ ย่อมควรเหมือนกัน. ส่วนในอันธก
อรรถกถาแก้ว่า ของที่รับจากมือของสหธรรมิกที่เหลือเว้นภิกษุเสีย และของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง ของเป็นสันนิธิและของที่ค้างภายใน เป็นของ ๆ
สหธรรมิกที่เหลือ และของเทวดามนุษย์เหล่านั้น ย่อมควรแก่ภิกษุ เพราะเหตุ
นั้น เรือนแห่งสหธรรมิกเหล่านั้น หรือกัปปิยกุฏิที่สหธรรมิกเหล่านั้น ถวาย

จึงเรียกว่า คฤหบดี. มิใช่แต่เท่านั้น ท่านยังกล่าวอีกว่า เว้นวัดของภิกษุสงฆ์
เสีย ที่อยู่ของพวกนางภิกษุณี หรือของพวกอารามิกบุรุษ หรือของพวก
เดียรถีย์ หรือของเหล่าเทวดา หรือของพวกนาค หรือแม้วิมานแห่งพวกพรหม
ย่อมเป็นกัปปิยกุฏิได้ คำนั้นท่านกล่าวชอบ เพราะว่า เรือนเป็นของสงฆ์เอง
ก็ดี เป็นของภิกษุก็ดี เป็นกุฏิของคฤหบดี ไม่ได้.
กัปปิยกุฏิ ที่ภิกษุสวดประกาศทำด้วยกรรมวาจา ชื่อสัมมตกาฉะนั้นแล.
อามิสใดค้างอยู่ในกัปปิยภูมิ 4 เหล่านี้ อามิสนั้นทั้งหมด ไม่นับว่า
อันโตวุตถะ เพราะว่า กัปปิยกุฏิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่อปลด
เปลื้องอันโตวุตถะและอันโตปักกะ ของภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ส่วนอามิสใด
เป็นของสงฆ์ก็ดี เป็นของบุคคลก็ดี เป็นของภิกษุหรือภิกษุณีก็ดี ซึ่งเก็บค้าง
ไว้ในเรือน ซึ่งพอจะเป็นอาบัติเพราะสหไสยได้ ในอกัปปิยภูมิ ค้างอยู่แม้ราตรี
เดียว อามิสนั้นเป็นอันโตวุตถะ และอามิสที่ให้สุกในเรือนนั้น ย่อมจัดเป็น
อันโตปักกะ อามิสนั้นไม่ควร. แต่ของที่เป็นสัตตาหกาลิกและยาวชีวิกควรอยู่
วินิจฉัยในอันโตวุตถะและอันโตปักกะนั้น พึงทราบดังนี้:-
สามเณรนำอามิสมีข้าวสารเป็นต้น ของภิกษุมาเก็บไว้ในกัปปิยกุฏิ
รุ่งขึ้น หุงถวาย อามิสนั้น ไม่เป็นอันโตวุตถะ.
สามเณรเอาของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเนยใสเป็นต้น ที่เก็บไว้ในอกัปปิยกุฎิ
ใส่ลงในอามิส มีข้าวสุกเป็นต้นนั้นถวาย อามิสนั้นจัดเป็นมุขสันนิธิ. แต่ใน
มหาปัจจรีแก้ว่า อามิสนั้นเป็นอันโตวุตถะ. ความกระทำต่างกันในมุขสันนิธิ
และอันโตวุตถะนั้น ก็เพียงแต่ชื่อเท่านั้น.
ภิกษุเอาเนยใสที่เก็บไว้ในอกัปปิยกุฏิและผักที่เป็นยาวชีวิกทอดเข้าด้วย
กันแล้วฉัน ผักนั้นเป็นของปราศจากอามิส ควรฉันได้เจ็ดวัน. ถ้าภิกษุฉันปน
กับอามิส ผักนั้นเป็นอันโตวุตถะด้วย เป็นสามปักกะด้วย. ความระคนกันแห่ง
กาลิกทุกอย่าง พึงทราบโดยอุบายนี้.

ถามว่า ก็กัปปิยกุฏิเหล่านี้ เมื่อไรจะละวัตถุเล่า ?
ตอบว่า ควรทราบอุสสาวนันติกาก่อน กัปปิยกุฏิใดที่เขาทำเสียบบน
เสา หรือในเชิงฝา กัปปิยกุฏินั้น จะละวัตถุ ต่อเมื่อเสาและเชิงฝาทั้งปวงถูก
รื้อเสียแล้ว. แต่ชนทั้งหลายเปลี่ยนเสาหรือเชิงฝาเสีย เสาหรือเชิงฝาใด ยังคงอยู่
กัปปิยกุฏิย่อมตั้งอยู่บนเสาหรือเชิงฝานั้น แต่ย่อมละวัตถุ ต่อเมื่อเสาหรือเชิงฝา
ถูกเปลี่ยนแล้วทั้งหมด. กัปปิยกุฏิที่ก่อด้วยอิฐเป็นต้น ย่อมละวัตถุ ในเวลาที่
วัตถุต่าง ๆ เป็นต้นว่าอิฐหรือศิลาหรือก้อนดิน ที่วางไว้เพื่อรองฝาบนที่ซึ่ง
ก่อขึ้น เป็นของพินาศไปแล้ว. ส่วนกัปปิยกุฏิที่อธิษฐานด้วยอิฐเป็นต้นเหล่าใด
เมื่ออิฐเป็นต้น เหล่านั้น แม้ถูกรื้อเสียแล้ว แต่อิฐเป็นต้นอื่นจากอิฐเดิมนั้น
ยังคงที่อยู่ กัปปิยกุฏิ ยังไม่ละวัตถุก่อน. กัปปิยกุฏิชื่อโคนิสาทิกา ย่อมละวัตถุ
ต่อเมื่อเขาทำการล้อมด้วยกำแพงเป็นต้น ภิกษุควรได้กัปปิยกุฏิในอารามนั้นอีก.
แต่ถ้า เครื่องล้อมมีกำแพงเป็นต้นเป็นของพังไปที่นั้น ๆ แม้อีก โคทั้งหลาย
ย่อมเข้าไปทางที่พังนั้น ๆ กุฏินั้น ย่อมกลับเป็นกัปปิยกุฏิอีก. ส่วนกัปปิยกุฏิ
2 ชนิดนอกนี้ จะละวัตถุ ต่อเมื่อเครื่องมุงทั้งปวงผุพังหมดไปเหลือแต่เพียง
กลอน. ถ้าบนกลอนทั้งหลาย ยังมีเครื่องมุงเป็นผืนติดกันเป็นแถบ แม้
หย่อมเดียว ยังรักษาอยู่.
ถามว่า ก็ในวัดใด ไม่มีกัปปิยภูมิทั้ง 4 เหล่านี้ ในวัดนั้นจะพึงทำ
อย่างไร ?
ตอบว่า ภิกษุพึงให้แก่อนุปสัมบัน ทำให้เป็นของเธอแล้วฉัน.
ในข้อนั้น มีเรื่องสาธก ดังนี้:-
ได้ยินว่า พระกรวิกติสสเถระผู้หัวหน้าแห่งพระวินัยธร ได้ไปสู่สำนัก
ของพระมหาสิวัตเถระ. ท่านเห็นหม้อเนยใสด้วยแสงประทีปจึงถามว่า นั่นอะไร
ขอรับ ?

พระเถระตอบว่า ผู้มีอายุ หม้อเนยใส เรานำมาจากบ้านเพื่อต้องการ
ฉันเนยใส ในวันที่มีอาหารน้อย.
ลำดับนั่น พระติสสเถระจึงบอกกับท่านว่า ไม่ควร ขอรับ.
ในวันรุ่งขึ้น พระเถระจึงให้เก็บไว้ที่หน้ามุข. รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง
พระติสสเถระมาเห็นหม้อเนยใสนั้น จึงถามอย่างนั้นแล้ แล้วบอกว่าการเก็บไว้
ในที่ซึ่งควรเป็นอาบัติเพราะสหไสย ไม่สมควร ขอรับ
รุ่งขึ้น พระเถระให้ยกออกไปเกิบไว้ข้องนอก. พวกโจรลักหม้อเนยใส
นั้นไป. ท่านจึงพูดกะพระติสสเถระผู้มาในวันรุ่งขึ้นว่า ผู้มีอายุ เมื่อท่านบอก
ว่า ไม่ควร หม้อนั้นเก็บไว้ข้างนอก ถูกพวกโจรลักไปแล้ว.
ลำดับนั้น พระติสสเถระ จึงแนะท่านว่า หม้อเนยใสนั้นพึงเป็นของ
อันท่านควรให้แก่อนุปสัมบันมิใช่หรือ ขอรับ ? เพราะว่าครั้นให้แก่อนุปสัมบัน
แล้ว จะทำให้เป็นของฉัน ก็ย่อมควร.

ว่าด้วยปัญจโครสและเสบียงทาง


เรื่องเมณฑกเศรษฐี ชัดเจนแล้ว.
ก็แต่ว่า ในเรื่องเมณฑกเศรษฐีนี้ คำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ปญฺจ
โครเส
มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุฉันโครส 5 เหล่านี้
ด้วยการบริโภคแผนกหนึ่งบ้าง.
วินิจฉัยในคำว่า ปาเถยฺยํ ปริเยสิตุํ นี้ พึ่งทราบดังต่อไปนี้:-
ถ้าชนบางพวกทราบแล้วถวายเองทีเดียว อย่างนั้นนั่น เป็นการดี ถ้า
เขาไม่ถวาย พึงแสวงหาจากสำนักญาติและคนปวารณาหรือด้วยภิกขาจารวัตร,
เมื่อไม่ได้ด้วยอาการอย่างนั้น พึงขอจากสำนักแห่งคนที่ไม่ใช่ผู้ปวารณาก็ได้.
ในทางที่จะต้องไปเพียงวันเดียว พึงแสวงหาเสบียงเพื่อประโยชน์แก่อาหาร