เมนู

บทว่า สํสิตํ ได้แก่ ท่องเที่ยว.
สองบทว่า ภวเนตฺตี สมูหตา มีความว่า เชือกคือตัณหาเป็นเหตุ
ไป คือแล่นจากภพ (ไปสู่ภพ) อันเราทั้งหลายกำจัด คือตัด ได้แก่ทำให้เป็น
ไปไม่ได้ด้วยดีแล้ว.

เรื่องเจ้าลิจฉวี


คำว่า เชียว นี้ เป็นคำรวบรัดเอาส่วนทั้งปวงเข้าไว้.
บทว่า นีลวณฺณา เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงวิภาคแห่งคำว่า เขียว
นั้นแล. ในบรรดาสีเหล่านั้น สีเขียวเป็นสีปกติของเจ้าลิจฉวี เหล่านั้น หามิได้
คำว่า เขียว นั้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งข้อที่เครื่องไล้ทาเขียว เป็นของ
งดงาม.
บทว่า ปฏิวฏฺเฏสิ ได้แก่ ปหาเรสิ แปลว่า โดน.
สองบทว่า สาหารํ ทชฺเชยฺยาถ มีความว่า พึงประทานกรุงเวสาลี
กับทั้งชนบท.
สองบทว่า องฺคุลี โปเถสุํ มีความว่า ได้ทรงสั่นพระองคุลี.
บทว่า อมฺพกาย ได้แก่ อิตฺถิกาย แปลว่า อันหญิง.
บทว่า โอโลเกถ คือ จงเห็น.
บทว่า อปโลเกถ คือ จงดูบ่อย ๆ.
บทว่า อุปสํหรถ ได้แก่ จงเทียบเคียง อธิบายว่า จงเทียบลิจฉวี
บริษัทนี้ ด้วยบริษัทแห่งเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ด้วยจิตของท่านทั้งหลาย คือว่า
จงดูทำให้สมกันแก่เทพเจ้าชั้นดาวดึงส์.

ว่าด้วยอุททิสสมังสะ


ข้อว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺมํ พฺยากโรนฺติ มีความว่า ชนเหล่า
นั้น ย่อมกล่าวเหตุสมควรแก่เหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแลหรือ ?

สองบทว่า สหธมฺมิโก วาทานุวาโท มีความว่า ก็วาทะของพระองค์
เป็นเหตุซึ่งชนเหล่าอื่นกล่าวแล้ว บางอย่าง คือ แม้มีประมาณน้อย ไม่มา
ถึงเหตุที่วิญญูชนจะพึงติเตียนหรือ ? มีคำอธิบายว่า วาทะเป็นประธานของ
พระองค์ ที่เป็นเหตุน่าติเตียนไม่มี แม้โดยเหตุทั้งปวงหรือ ?
บทว่า อนพฺภกฺขาตุกามา มีความว่า ข้าพเจ้า ไม่มีประสงค์จะ
กล่าวข่ม
บทว่า อนุวิจฺจการํ มีคำอธิบายว่า ท่านจงทำการที่พึงรู้ตาม คือ
คิด พิจารณาแล้ว จึงทำ.
บทว่า ญาตมนุสฺสานํ ได้แก่ (มนุษย์) ผู้มีชื่อเสียงในโลก.
สองบทว่า สาธุ โหติ มีความว่า จะเป็นความดี.
สองบทว่า ปฏากํ ปริหเรยฺยุํ มีความว่า อัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย
พึงยกธงแผ่นผ้า เที่ยวเป่าร้องในเมือง.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะพวกเขาคิดว่า ความเป็นใหญ่จักมีแก่พวกเราด้วย
อุบายอย่างนี้.
บทว่า โอปานภูตํ มีความว่า (สกุลของท่าน) แต่งไว้แล้ว คือ
เตรียมไว้แล้วเป็นดุจบ่อน้ำ.
บทว่า กุลํ ได้แก่ นิเวศน์.
สองบทว่า ทาตพฺพํ มญฺเญยฺยาสิ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทักเตือนว่า ท่านอย่าตัดไทยธรรมของนิครนถ์เหล่านั้นเสียเลย แต่ท่านพึง
สำคัญซึ่งไทยธรรม อันตนควรให้แก่นิครนถ์เหล่านั้น ผู้มาถึงเข้าแล้ว.
บทว่า โอกาโร ได้แก่ ความกระทำต่ำ คือ ความเป็นของทราม.

บทว่า สามุกฺกํสิกา ได้แก่ (ธรรมเทศนา) ที่พระองค์เองทรงยก
ขึ้น อธิบายว่า ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกเหล่าอื่น.
บทว่า อุทฺทิสฺสกตํ ได้แก่ มังสะที่เขาทำเฉพาะตน.
บทว่า ปฏิจฺจกมฺมํ มีความว่า มังสะที่เขาเจาะจงตนกระทำอีกอย่าง
หนึ่ง คำว่า ปฏิจจกรรม นี้ เป็นชื่อของนิมิตกรรม. แม้มังสะ ท่านเรียกว่า
ปฏิจจกรรม นี้ เป็นชื่อของนิมิตกรรม. แม้มังสะ ท่านเรียกว่า ปฏิจจกรรม
ก็เพราะเหตุว่า ในมังสะนี้มีปฏิจจกรรมนั้น. จริงอยู่ ผู้ใดบริโภคมังสะเห็น
ปานนั้น. ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น อธิบายว่า กรรม คือ การ
ฆ่าสัตว์ย่อมมีแม้แก่ผู้นั้น เหมือนมีแก่ผู้ฆ่าเอง.
บทว่า น ชีรนฺติ มีความว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เมื่อกล่าวตู่อยู่
ชื่อย่อมไม่สร่างไป อธิบายว่า ย่อมไม่มีถึงที่สุดแห่งการกล่าวตู่. กถาแสดง
มังสะมีความบริสุทธิ์โดยส่วนสาม ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งสังฆเภท
สิกขาบท1

ว่าด้วยกัปปิยภูมิ


บทว่า ปจฺจนฺติมํ นี้ สักว่าตรัส แต่ว่า ถึงวิหารใกล้ก็ควรจะสมมติ
ได้ เพราะพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ยํ สงฺโฆ อากงฺขติ แปลว่า สงฆ์หวังจะ
สมมติที่ใด แม้จะไม่สวดกรรมวาจา สมมติด้วยอปโลกน์แทน ก็ควรเหมือน
กัน.
บทว่า สกฏปริวตฺตกํ มีความว่า พักอยู่ ประหนึ่งทำให้ห้อมล้อม
ด้วยเกวียนทั้งหลาย.

1. สมนฺต. ทุติย. 115.