เมนู

บทว่า สํสิตํ ได้แก่ ท่องเที่ยว.
สองบทว่า ภวเนตฺตี สมูหตา มีความว่า เชือกคือตัณหาเป็นเหตุ
ไป คือแล่นจากภพ (ไปสู่ภพ) อันเราทั้งหลายกำจัด คือตัด ได้แก่ทำให้เป็น
ไปไม่ได้ด้วยดีแล้ว.

เรื่องเจ้าลิจฉวี


คำว่า เชียว นี้ เป็นคำรวบรัดเอาส่วนทั้งปวงเข้าไว้.
บทว่า นีลวณฺณา เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงวิภาคแห่งคำว่า เขียว
นั้นแล. ในบรรดาสีเหล่านั้น สีเขียวเป็นสีปกติของเจ้าลิจฉวี เหล่านั้น หามิได้
คำว่า เขียว นั้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งข้อที่เครื่องไล้ทาเขียว เป็นของ
งดงาม.
บทว่า ปฏิวฏฺเฏสิ ได้แก่ ปหาเรสิ แปลว่า โดน.
สองบทว่า สาหารํ ทชฺเชยฺยาถ มีความว่า พึงประทานกรุงเวสาลี
กับทั้งชนบท.
สองบทว่า องฺคุลี โปเถสุํ มีความว่า ได้ทรงสั่นพระองคุลี.
บทว่า อมฺพกาย ได้แก่ อิตฺถิกาย แปลว่า อันหญิง.
บทว่า โอโลเกถ คือ จงเห็น.
บทว่า อปโลเกถ คือ จงดูบ่อย ๆ.
บทว่า อุปสํหรถ ได้แก่ จงเทียบเคียง อธิบายว่า จงเทียบลิจฉวี
บริษัทนี้ ด้วยบริษัทแห่งเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ด้วยจิตของท่านทั้งหลาย คือว่า
จงดูทำให้สมกันแก่เทพเจ้าชั้นดาวดึงส์.

ว่าด้วยอุททิสสมังสะ


ข้อว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺมํ พฺยากโรนฺติ มีความว่า ชนเหล่า
นั้น ย่อมกล่าวเหตุสมควรแก่เหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแลหรือ ?