เมนู

บทว่า อหิมํสํ มีความว่า เนื้อแห่งทีฆชาติซึ่งไม่มีเท้าชนิดใดชนิด
หนึ่ง ไม่ควร. เนื้อราชสีห์ เป็นต้นเป็นของชัดแล้วทั้งนั้น.
ก็บรรดาอกัปปิยมังสะเหล่านั้น เนื้อมนุษย์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงห้าม ก็เพราะมนุษย์มีชาติเหมือนตน เนื้อช้างและม้า ที่ทรงห้ามก็เพราะ
เป็นราชพาหนะ เนื้อสุนัขและเนื้องูที่ทรงห้าม ก็เพราะเป็นของสกปรก เนื้อ
5 อย่างมีเนื้อราชสีห์เป็นต้น ที่ทรงห้าม ก็เพื่อต้องการความไม่มีอันตรายแก่
คน ฉะนั้นแล.
เนื้อก็ดี กระดูกก็ดี เลือดก็ดี หนังก็ดี ขนก็ดี แห่งสัตว์ 10 ชนิด
มีมนุษย์เป็นต้นแหล่านี้ ไม่ควรทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อภิกษุรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ฉันอย่างใดอย่างหนึ่ง คงเป็นอาบัติแท้
รู้เมื่อใด พึงแสดงเมื่อนั้น. ไม่ถามก่อน รับด้วยตั้งใจว่า เราจักฉัน ต้อง
ทุกกฏ แม้เพราะรับ. รับด้วยตั้งใจว่า จักถามก่อนจึงฉัน ไม่เป็นอาบัติ.
อนึ่ง เป็นอาบัติเฉพาะแก่ภิกษุผู้รู้แล้วฉันเนื้อที่เป็นอุททิสสมังสะ เธอ
รู้ในภายหลัง ไม่ควรปรับอาบัติ.

ว่าด้วยทรงอนุญาตยาคูเป็นต้น


บทว่า เอกโก มีความว่า เราไม่มีเพื่อนเป็นที่สอง.
ข้อว่า ปหูตํ ยาคุญฺจ มธุโคฬิกญฺจ ปฏิยาทาเปฺวา มีความว่า
ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นให้ตกแต่งยาคุเป็นต้น ใช้ทรัพย์หมดไปแสนหนึ่ง
ในที่สุดแห่งอนุโมทนาคาถา พึงทำการเชื่อมบทว่า ปตฺถยตํ อิจฺฉตํ
ด้วยคำว่า อลเมว ทาตุ นี้ แปลว่า ควรแท้ที่จะให้แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย
ผู้อยากได้.
ก็ถ้า ปาฐะว่า ปตฺตยตา อิจฺฉตา มีอยู่ไซร้ ปาฐะนั้นแลพึงถือ
เอา.

บทว่า โภชฺชยาคุํ ได้แก่ ยาคูที่ยังการห้ามให้เกิด.
บทว่า ยทคฺเคน มีความว่า ทำยาคูใดให้เป็นต้น.
หลายบทว่า สคฺคา เต อารทฺธา มีความว่า บุญเป็นเหตุให้เกิด
ในสวรรค์ ท่านได้สร้างสมแล้ว.
สองบทว่า ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ มีความว่า ภิกษุนั้นพึงให้ทำ
ตาธรรม ด้วยปรัมปรโภชนสิกขาบท เพราะว่า การห้าม (โภชนะ) ย่อมมี
เพราะยาคูที่ควรฉัน.
สองบทว่า นาหนฺตํ กจฺจาน มีความว่า ได้ยินว่า เทวดาทั้งหลาย
เติมโอชะอันละเอียดลงในน้ำอ้อยงบที่เหลือนั้น น้ำอ้อยงบที่เหลือนั้น ย่อม
ไม่ถึงความย่อยไปได้ สำหรับชนเหล่าอื่น; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า คิลานสฺส คุฬํ มีความว่า เราอนุญาตน้ำอ้อยงบภายหลังภัต
แก่ภิกษุผู้อาพาธด้วยพยาธิเห็นปานนั้น.
บทว่า สพฺพสนฺถรึ มีความว่า อาวสถาคาร (เรือนเป็นที่พักแรม)
จะเป็นสถานอันปูลาดทั่วถึงด้วยประการใด ได้ปูลาดแล้วด้วยประการนั้น.
บทว่า สุนีธวสฺสการา ได้แก่ พราหมณ์ 2 คน คือ สุนีธะ 1
วัสสการะ 1 เป็นมหาอำมาตย์ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ.1
สองบทว่า วชฺชีนํ ปฏิพาหาย มีความว่า เพื่อต้องการตัดทาง
เจริญแห่งราชสกุลแคว้นวัชชีเสีย.
บทว่า วตฺถูนิ ได้แก่ ที่ปลูกเรือน.
1. ดูความพิสดารในมหาปรินิพพานสูตร ที. มหา. 10/85.

หลายบทว่า จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํ มีความว่า ได้
ยินว่า เทวดาเหล่านั้น สิงในสรีระของชนทั้งหลาย ผู้รู้ท่านายชัยภูมิ แล้ว
น้อมจิตไปอย่างนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะเทวดาทั้งหลายนั้น จักกระทำสักการะตามสมควรแก่เรา
ทั้งหลาย.
บทว่า ตาวตึเสหิ มีความว่า ได้ยินว่า เสียงที่ว่า บัณฑิตทั้งหลาย
ชาวดาวดึงส์ หมายเอาท้าวสักกเทวราชและพระวิสสุกรรมเฟื่องฟุ้งไปโนโลก
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตาวตึเสหิ. อธิบายว่า สุนีธอมาตย์
และวัสสการอมาตย์นั้นราวกับได้หารือเทพเจ้าชาวดาวดึงส์แล้ว จึงได้สร้าง.
บทว่า ยาวตา อริยานํ อายตนํ มีความว่า ชื่อว่าสถานเป็นที่
ประชุมแห่งมนุษย์ผู้เป็นอริยะทั้งหลาย มีอยู่เท่าใด.
บทว่า ยาวตา วณิชฺชปโถ มีความว่า ชื่อว่า สถานเป็นที่ซื้อและ
ขาย ด้วยอำนาจแห่งกองสินค้าที่นำมาแล้วนั่นเทียว ของพ่อค้าทั้งหลาย มีอยู่
เท่าใด.
สองบทว่า อิทํ อคฺคนครํ มีความว่า เมืองปาฏลีบุตร ซึ่งเป็นแดน
แห่งพระอริยะ เป็นสถานแห่งการค้าขาย ของมนุษย์เหล่านั้น นี้จักเป็นเมือง
ยอด.
บทว่า ปุฏเภทนํ ได้แก่ เป็นสถานที่แก้ห่อสินค้า. มีคำอธิบายว่า
จักเป็นสถานทีแก้มัดสินค้าทั้งหลาย.
วินิจฉัยบทว่า อคฺคิโต วา เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-

วา ศัพท์ ใช้ในสมุจจัยถะ จริงอยู่ บรรดาส่วนเหล่านั้น อันตราย
จักมีแก่ส่วนหนึ่ง จากไฟ, แก่ส่วนหนึ่ง จากน้ำ, แก่ส่วนหนึ่ง จากภายใน
คือ ความแตกแยกแห่งกันและกัน.
บทว่า อุฬุมฺปํ ได้แก่ ชลพาหนะที่เขาทำตอกลิ่นสลัก เพื่อประโยชน์
แก่การข้ามฟาก.
บทว่า กุลฺลํ ได้แก่ ชลพาหนะที่เขาทำผูกมัดด้วยเถาวัลย์เป็นต้น.
คำว่า อณฺณว นี้ เป็นชื่อของอุทกสถาน ทั้งลึกทั้งกว้าง ราวโยชน์
หนึ่ง โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดแห่งกำหนดทั้งปวง.
แม่น้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ในบทว่า สรํ นี้. มีคำอธิบาย
ว่า ชนเหล่าใดจะข้ามสระ คือ ตัณหา ทั้งลึกทั้งกว้าง ชนเหล่านั้น ทำสะพาน
กล่าวคือ อริยมรรค สละ คือ ไม่แตะต้องเลยซึ่งสระน้อยทั้งหลาย จึงข้าม
สถานอันลุ่มเต็มด้วยน้ำได้, ก็ชนนี้ แม้ปรารถนาจะข้ามน้ำ มีประมาณน้อยนี้
ย่อมผูกแพแล, ส่วนพระพุทธเจ้า และพระพุทธสาวกทั้งหลาย เป็นชนผู้มี
ปัญญา เว้น แพเสียทีเดียว ก็ข้ามได้.
บทว่า อนนุโพธา มีความว่า เพราะไม่ตรัสรู้.
บทว่า สนฺธาวิตํ มีความว่า แล่นไปแล้ว ด้วยอำนาจที่ออกจาก
ภพไปสู่ภพ.
บทว่า สํสริตํ มีความว่า ท่องเที่ยวไปแล้ว ด้วยอำนาจการไป
บ่อย ๆ.
สองบทว่า มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจ คือเราด้วย ท่านทั้งหลายด้วย.
อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในคำว่า สนฺธาวิตํ สํสริตํ นี้ อย่างนี้ว่า ความ
แล่นไป ความท่องเที่ยวไป ได้มีแล้วแก่เราด้วย แก่ท่านทั้งหลายด้วย.

บทว่า สํสิตํ ได้แก่ ท่องเที่ยว.
สองบทว่า ภวเนตฺตี สมูหตา มีความว่า เชือกคือตัณหาเป็นเหตุ
ไป คือแล่นจากภพ (ไปสู่ภพ) อันเราทั้งหลายกำจัด คือตัด ได้แก่ทำให้เป็น
ไปไม่ได้ด้วยดีแล้ว.

เรื่องเจ้าลิจฉวี


คำว่า เชียว นี้ เป็นคำรวบรัดเอาส่วนทั้งปวงเข้าไว้.
บทว่า นีลวณฺณา เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงวิภาคแห่งคำว่า เขียว
นั้นแล. ในบรรดาสีเหล่านั้น สีเขียวเป็นสีปกติของเจ้าลิจฉวี เหล่านั้น หามิได้
คำว่า เขียว นั้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งข้อที่เครื่องไล้ทาเขียว เป็นของ
งดงาม.
บทว่า ปฏิวฏฺเฏสิ ได้แก่ ปหาเรสิ แปลว่า โดน.
สองบทว่า สาหารํ ทชฺเชยฺยาถ มีความว่า พึงประทานกรุงเวสาลี
กับทั้งชนบท.
สองบทว่า องฺคุลี โปเถสุํ มีความว่า ได้ทรงสั่นพระองคุลี.
บทว่า อมฺพกาย ได้แก่ อิตฺถิกาย แปลว่า อันหญิง.
บทว่า โอโลเกถ คือ จงเห็น.
บทว่า อปโลเกถ คือ จงดูบ่อย ๆ.
บทว่า อุปสํหรถ ได้แก่ จงเทียบเคียง อธิบายว่า จงเทียบลิจฉวี
บริษัทนี้ ด้วยบริษัทแห่งเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ด้วยจิตของท่านทั้งหลาย คือว่า
จงดูทำให้สมกันแก่เทพเจ้าชั้นดาวดึงส์.

ว่าด้วยอุททิสสมังสะ


ข้อว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺมํ พฺยากโรนฺติ มีความว่า ชนเหล่า
นั้น ย่อมกล่าวเหตุสมควรแก่เหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแลหรือ ?