เมนู

ในทวารหนัก กรวยใบไม้และเกลียวชุดที่ทายาแล้วก็ดี หลอดไม้ไผ่
ก็ดี ซึ่งสำหรับหยอดน้ำด่าง และกรอกน้ำมัน ย่อมควร.

ว่าด้วยเนื้อที่ควรและไม่ควร


บทว่า ปวตฺตมํสํ ได้แก่ เนื้อของสัตว์ที่ตายแล้วนั้นเอง.
บทว่า มาฆาโต มีความว่า วันนั้น ใคร ๆ ไม่ได้เพื่อจะปลงสัตว์
น้อยหนึ่งจากชีวิต.
มีดสำหรับเชือดเนื้อเรียกว่า โปตถยิกะ.
บทว่า กิมฺปิมาย พึงตัดว่า กิมฺปิ อิมาย.
คำว่า น ภควา อุสฺสหติ มีความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านาง
ไม่สามารถจะมาได้.
บทว่า ยตฺร หิ นาม มีความว่า ชื่อเพราะเหตุไร ?
บทว่า ปฏิเวกขิ ได้แก่ วิมํสิ แปลว่า เธอพิจารณาแล้วหรือมี
คำอธิบายว่า เธอสอบถามแล้วหรือ ?
บทว่า อปฺปฏิเวกฺขิตฺวา ได้แก่ อปฺปฏิปุจฺฉิตฺวา แปลว่าไม่
สอบถามแล้ว. ก็ถ้า ภิกษุรู้อยู่ว่า นี้เป็นเนื้อชนิดนั้น กิจที่จะสอบถาม ย่อม
ไม่มี แต่เมื่อไม่รู้ ต้องถามก่อนจึงฉัน.
วินิจฉัยในคำว่า สุนมํสํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
สุนัขป่าย่อมเป็นเหมือนสุนัขบ้าน. เนื้อสุนัขป่านั้นควร.1
ฝ่ายสุนัขใด เกิดด้วยแม่สุนัขบ้านกับพ่อสุนัขป่าผสมกัน หรือด้วยแม่
สุนัขป่ากับพ่อสุนัขบ้านผสมกัน เนื้อของสุนัขนั้น ไม่ควร. เพราะสุนัข

นั้นช่องเสพทั้งสองฝ่าย.
1. นำจะไม่ควร.

บทว่า อหิมํสํ มีความว่า เนื้อแห่งทีฆชาติซึ่งไม่มีเท้าชนิดใดชนิด
หนึ่ง ไม่ควร. เนื้อราชสีห์ เป็นต้นเป็นของชัดแล้วทั้งนั้น.
ก็บรรดาอกัปปิยมังสะเหล่านั้น เนื้อมนุษย์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงห้าม ก็เพราะมนุษย์มีชาติเหมือนตน เนื้อช้างและม้า ที่ทรงห้ามก็เพราะ
เป็นราชพาหนะ เนื้อสุนัขและเนื้องูที่ทรงห้าม ก็เพราะเป็นของสกปรก เนื้อ
5 อย่างมีเนื้อราชสีห์เป็นต้น ที่ทรงห้าม ก็เพื่อต้องการความไม่มีอันตรายแก่
คน ฉะนั้นแล.
เนื้อก็ดี กระดูกก็ดี เลือดก็ดี หนังก็ดี ขนก็ดี แห่งสัตว์ 10 ชนิด
มีมนุษย์เป็นต้นแหล่านี้ ไม่ควรทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อภิกษุรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ฉันอย่างใดอย่างหนึ่ง คงเป็นอาบัติแท้
รู้เมื่อใด พึงแสดงเมื่อนั้น. ไม่ถามก่อน รับด้วยตั้งใจว่า เราจักฉัน ต้อง
ทุกกฏ แม้เพราะรับ. รับด้วยตั้งใจว่า จักถามก่อนจึงฉัน ไม่เป็นอาบัติ.
อนึ่ง เป็นอาบัติเฉพาะแก่ภิกษุผู้รู้แล้วฉันเนื้อที่เป็นอุททิสสมังสะ เธอ
รู้ในภายหลัง ไม่ควรปรับอาบัติ.

ว่าด้วยทรงอนุญาตยาคูเป็นต้น


บทว่า เอกโก มีความว่า เราไม่มีเพื่อนเป็นที่สอง.
ข้อว่า ปหูตํ ยาคุญฺจ มธุโคฬิกญฺจ ปฏิยาทาเปฺวา มีความว่า
ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นให้ตกแต่งยาคุเป็นต้น ใช้ทรัพย์หมดไปแสนหนึ่ง
ในที่สุดแห่งอนุโมทนาคาถา พึงทำการเชื่อมบทว่า ปตฺถยตํ อิจฺฉตํ
ด้วยคำว่า อลเมว ทาตุ นี้ แปลว่า ควรแท้ที่จะให้แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย
ผู้อยากได้.
ก็ถ้า ปาฐะว่า ปตฺตยตา อิจฺฉตา มีอยู่ไซร้ ปาฐะนั้นแลพึงถือ
เอา.