เมนู

สองบทว่า วนฏฺฐํ โปกฺขรฏฐํ มีความว่า เกิดในป่า และใน
กอปทุม.
บทว่า อพีชํ ได้แก่ ผลไม้ที่ยังอ่อม มีเมล็ดจะไม่งอกหน่อได้.
บทว่า นิพฺพฏพีชํ ได้แก่ ผลมะม่วงและขนุนเป็นต้น ที่จะหึง
ปล้อนเมล็ดออกแล้วฉัน.

ว่าด้วยสัตถกรรมเป็นต้น


สองบทว่า ทุโรปโย วโณ มีความว่า แผลย่อมงอกยาก. คือว่า
หายเป็นปกติได้โดยยาก.
สองบทว่า ทุปฺปริหารํ สติถํ มีความว่า ในที่เคย ระวังมีดยาก.
สองบทว่า สตฺถกมฺมํ วา วตฺถิกมฺมํ วา มีความว่า ในโอกาส
ตามที่กำหนดแล้วไม่ควรทำการตัด หรือการผ่า หรือการเจาะ หรือการรีด
ด้วยของมีดมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นมีดก็ตาม เข็มก็ตาม หนามก็ตาม หอก
ก็ตาม สะเก็ดหินก็ตาม เล็บก็ตาม เพราะกรรมมีการตัดเป็นต้นนั้นทั้งหมด
ย่อมเป็นสัตถกรรมแท้.
อนึ่ง ไม่ควรทำแม้ซึ่งการบีบหัวไส้ด้วยของอย่างได้อย่างหนึ่งจะเป็น
หนังก็ตาม ผ้าก็ตาม เพราะว่า การบีบนั้นทั้งหมด เป็นวัตถิกรรมเหมือนกัน
ก็ในพระบาลีนี้ คำว่า สองนิ้วโดยรอบแห่งที่แคบ นี้ตรัสหมายเอา
เฉพาะสัตถกรรม. ส่วนวัตถิกรรมทรงห้ามแต่ในที่แคบเท่านั้น. แต่จะหยอด
น้ำด่างก็ดี จะรัดด้วยเชือกชนิดใดชนิดหนึ่งก็ดีที่หัวไส้นั้น ควรอยู่. ถ้าหัวไส้
นั้นขาดออกด้วยน้ำด่างหรือเชือกนั้น เป็นอันขาดด้วยดี.
ถึงโรคอัณฑะโตก็ไม่ควรทำสัตถกรรม เพราะเหตุนั้น ไม่ควรทำ
สัตถกรรมด้วยคิดว่า เราจะผ่าอัณฑะควักเอาเม็ดออกทำให้หายโต. แต่ในการ
ย่างด้วยไฟและทายา ไม่มีการห้าม.