เมนู

บทว่า กฏากฏํ ได้แก่ น้ำถั่วเขียวต้มนั่นเอง แต่ข้นหน่อย.
บทว่า ปฏิจฺฉาทนเยน ได้แก่ รสแห่งเนื้อ.

ว่าด้วยอันโตวุตถะเป็นต้น


ข้อว่า สเจ ภิกฺขเว ปกฺกาปิ มคฺคา ชายนฺติ มีความว่าถั่วเขียว
ที่ต้มแล้ว ถ้าแน้เป็นขึ้นได้ไซร้ ถั่วเขียวเหล่านั้น ภิกษุพึงฉันได้ตามสบาย
ด้วยว่า ถั่วเขียวเหล่านั้น จักเป็นกัปปิยะแท้ เพราะเป็นของต้มแล้ว.
บทว่า อนโตวุตฺถํ ได้แก่ ค้างอยู่ในอกัปปิยกุฏี.
วินิจฉัยในคำว่า สามํ ปกฺกํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุจะหุงต้มอามิสอย่างใดอย่างหนึ่งเองไม่ควร เฉพาะอามิสที่สุกแล้ว
จะอุ่นควรอยู่.
แม้ชนทั้งหลายใส่ใบผักชีก็ดี ขิงก็ดี เกลือก็ดี ลงในข้าวต้มที่ร้อน
สำหรับภิกษุนั้น ภิกษุจะคนแม้ซึ่งข้าวต้มนั้น ย่อมไม่ควร แต่จะคนด้วยคิด
จะให้ข้าวต้มเย็น ควรอยู่ แม้ได้ข้าวสุกที่เป็นท้องเล็นแล้วจะปิดไว้ ย่อมไม่
ควร. แต่ถ้าชนทั้งหลายปิดแล้วถวายมา จะปิดไว้ ควรอยู่ หรือจะปิดไว้ด้วย
คิดว่า ข้าวสุกจงอย่าเย็น ควรอยู่.
อนึ่ง ในนมสดและมี (นมเปรี้ยวอย่างข้น ) เป็นต้น ที่เขาต้มเดือด
แล้วครั้งหนึ่ง ภิกษุจะก่อไฟ ควรอยู่ เพราะการทำให้สุกอีก พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาต.
สองบทว่า อุกฺกปิณฺฑกาปิ ขาทนฺติ มีความว่า แมว หนู เหี้ย
และพังพอน ย่อมกินเสีย.
บทว่า ทมกา นั้น ได้แก่ คนกินเดน.
สองบทว่า ตโต นีหฏํ ได้แก่ โภชนะที่ทายกนำอกจากที่ซื่งภิกษุ
รับนิมนต์ฉัน

สองบทว่า วนฏฺฐํ โปกฺขรฏฐํ มีความว่า เกิดในป่า และใน
กอปทุม.
บทว่า อพีชํ ได้แก่ ผลไม้ที่ยังอ่อม มีเมล็ดจะไม่งอกหน่อได้.
บทว่า นิพฺพฏพีชํ ได้แก่ ผลมะม่วงและขนุนเป็นต้น ที่จะหึง
ปล้อนเมล็ดออกแล้วฉัน.

ว่าด้วยสัตถกรรมเป็นต้น


สองบทว่า ทุโรปโย วโณ มีความว่า แผลย่อมงอกยาก. คือว่า
หายเป็นปกติได้โดยยาก.
สองบทว่า ทุปฺปริหารํ สติถํ มีความว่า ในที่เคย ระวังมีดยาก.
สองบทว่า สตฺถกมฺมํ วา วตฺถิกมฺมํ วา มีความว่า ในโอกาส
ตามที่กำหนดแล้วไม่ควรทำการตัด หรือการผ่า หรือการเจาะ หรือการรีด
ด้วยของมีดมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นมีดก็ตาม เข็มก็ตาม หนามก็ตาม หอก
ก็ตาม สะเก็ดหินก็ตาม เล็บก็ตาม เพราะกรรมมีการตัดเป็นต้นนั้นทั้งหมด
ย่อมเป็นสัตถกรรมแท้.
อนึ่ง ไม่ควรทำแม้ซึ่งการบีบหัวไส้ด้วยของอย่างได้อย่างหนึ่งจะเป็น
หนังก็ตาม ผ้าก็ตาม เพราะว่า การบีบนั้นทั้งหมด เป็นวัตถิกรรมเหมือนกัน
ก็ในพระบาลีนี้ คำว่า สองนิ้วโดยรอบแห่งที่แคบ นี้ตรัสหมายเอา
เฉพาะสัตถกรรม. ส่วนวัตถิกรรมทรงห้ามแต่ในที่แคบเท่านั้น. แต่จะหยอด
น้ำด่างก็ดี จะรัดด้วยเชือกชนิดใดชนิดหนึ่งก็ดีที่หัวไส้นั้น ควรอยู่. ถ้าหัวไส้
นั้นขาดออกด้วยน้ำด่างหรือเชือกนั้น เป็นอันขาดด้วยดี.
ถึงโรคอัณฑะโตก็ไม่ควรทำสัตถกรรม เพราะเหตุนั้น ไม่ควรทำ
สัตถกรรมด้วยคิดว่า เราจะผ่าอัณฑะควักเอาเม็ดออกทำให้หายโต. แต่ในการ
ย่างด้วยไฟและทายา ไม่มีการห้าม.