เมนู

บทว่า กฏากฏํ ได้แก่ น้ำถั่วเขียวต้มนั่นเอง แต่ข้นหน่อย.
บทว่า ปฏิจฺฉาทนเยน ได้แก่ รสแห่งเนื้อ.

ว่าด้วยอันโตวุตถะเป็นต้น


ข้อว่า สเจ ภิกฺขเว ปกฺกาปิ มคฺคา ชายนฺติ มีความว่าถั่วเขียว
ที่ต้มแล้ว ถ้าแน้เป็นขึ้นได้ไซร้ ถั่วเขียวเหล่านั้น ภิกษุพึงฉันได้ตามสบาย
ด้วยว่า ถั่วเขียวเหล่านั้น จักเป็นกัปปิยะแท้ เพราะเป็นของต้มแล้ว.
บทว่า อนโตวุตฺถํ ได้แก่ ค้างอยู่ในอกัปปิยกุฏี.
วินิจฉัยในคำว่า สามํ ปกฺกํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุจะหุงต้มอามิสอย่างใดอย่างหนึ่งเองไม่ควร เฉพาะอามิสที่สุกแล้ว
จะอุ่นควรอยู่.
แม้ชนทั้งหลายใส่ใบผักชีก็ดี ขิงก็ดี เกลือก็ดี ลงในข้าวต้มที่ร้อน
สำหรับภิกษุนั้น ภิกษุจะคนแม้ซึ่งข้าวต้มนั้น ย่อมไม่ควร แต่จะคนด้วยคิด
จะให้ข้าวต้มเย็น ควรอยู่ แม้ได้ข้าวสุกที่เป็นท้องเล็นแล้วจะปิดไว้ ย่อมไม่
ควร. แต่ถ้าชนทั้งหลายปิดแล้วถวายมา จะปิดไว้ ควรอยู่ หรือจะปิดไว้ด้วย
คิดว่า ข้าวสุกจงอย่าเย็น ควรอยู่.
อนึ่ง ในนมสดและมี (นมเปรี้ยวอย่างข้น ) เป็นต้น ที่เขาต้มเดือด
แล้วครั้งหนึ่ง ภิกษุจะก่อไฟ ควรอยู่ เพราะการทำให้สุกอีก พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาต.
สองบทว่า อุกฺกปิณฺฑกาปิ ขาทนฺติ มีความว่า แมว หนู เหี้ย
และพังพอน ย่อมกินเสีย.
บทว่า ทมกา นั้น ได้แก่ คนกินเดน.
สองบทว่า ตโต นีหฏํ ได้แก่ โภชนะที่ทายกนำอกจากที่ซื่งภิกษุ
รับนิมนต์ฉัน