เมนู

เมณฑกะคหบดี ถวายปัญจโครสกับเสบียงเดินทาง 100. เรื่องเกณิยชฏิลถวาย
น้ำอัฏฐบาน คือ น้ำผลมะม่วง น้ำผลหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มี
เมล็ด น้ำผลมะชาง น้ำผลจันทน์ น้ำเง่าบัว น้ำผลมะปราง 101. เรื่อง
โรชะมัลลกษัตริย์ถวายผักสดและของขบฉันที่สำเร็จด้วยแป้ง 102. เรื่องภิกษุ
ช่างกัลบกในเมืองอาตุมา 103 เรื่องผลไม้ดาษดื่นในพระนครสาวัตถี
104. เรื่องพืช 105. เรื่องเกิดสงสัยในพระบัญญัติบางสิ่งบางอย่าง 106. เรื่อง
กาลิกระคน.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ

อรรถกถาเภสัชชขันธกะ


ว่าด้วยเภสัช


วินิจฉัยในเภสัชชขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า สารทิเกน อาพาเธน ได้แก่ อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน
เกิดขึ้นในสารทกาล1 จริงอยู่ ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมเปียกด้วยน้ำฝนบ้าง
ย่อมเหยียบย่ำโคลนบ้าง แดดย่อมกล้าในระหว่าง ๆ บ้าง เพราะเหตุนั้น ดีของ
ภิกษุเหล่านั้นย่อมเป็นของซึมเข้าไปในลำใส้.
สองบทว่า อาหารตฺถญฺจ ผเรยฺย มีความว่า วัตถุพึงยังประโยชน์
ด้วยอาหารให้สำเร็จ.

1 กล่าวตามฤดู 6 ในตำราแพทย์ ไท, สารทฤต ได้แก่ เดือนสิบเอ็ดกับเดือนสิบสอง และว่า
เป็นไข้เพื่อลม.

บทว่า นจฺฉาเทนฺติ มีความว่า ย่อมไม่ยอมไป, คือไม่สามารถจะ
ระงับโรคลมได้
บทว่า สิเนสิกานิ ได้แก่ โภชนะที่สนิท.
บทว่า ภตฺตจฺฉาทเกน คือ ความไม่ย่อมแห่งอาหาร.
ในคำว่า กาเล ปฏิคฺคหิตํ เป็นต้น มีความว่า รับประเคน เจียว
กรอง ในเมื่อเวลาเที่ยงยังไม่ล่วงเลยไป.
สองบทว่า เตลปริโภเคน ปริภุญฺชิตุ มีความว่า เพื่อบริโภค
อย่างบริโภคน้ำมัน ซึ่งเป็นสัตตาหกาลิก.
บทว่า วจตฺถํ ได้แก่ ว่านที่เหลือ.
สองบทว่า นิสทํ นิสทโปตํ ได้แก่ ตัวหินบดและลุกหินบด.
ชื่อว่า ปัคควะ นั้น เป็นชาติไม้เถา (ได้แก่บอระเพ็ด).
บทว่า นตฺตมาลํ ได้แก่ กระถินพิมาน.
วินิจฉัยในบทว่า อจฺฉวสํ เป็นอาทิ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวใน
อรรถกถาแห่งนิสสัคคิยกัณฑ์1 นั่นแล.
แม้วินิจฉัยในมูลเภสัชเเป็นต้น ก็ได้กล่าวแล้วในขุททกวรรณน2
เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น คำใด ๆ ที่ไม่ได้กล่าวแล้วในก่อน ข้าพเจ้าจัก
พรรณนาเฉพาะคำนั้น ๆ ในที่นี้. หิงคุ หิงคุชตุ และหิงคุสิปาฏิกา ก็คือ
ชาตแห่งหิงคุนั่งเอง. ตกะ ตกปัตติ และตกปัณณิยะ ก็คือชาติครั่งนั่นเอง.
เกลือสมุทรนั้น ได้แก่ เกลือที่เกิดตามฝั่งทะเลเหมือนทราย.
ชื่อว่า กาฬโลณะ นั้น ได้แก่ เกลือตามปกติ.
เกลือสินเธาว์นั้น ได้แก่ เกลือมีสีชาว เกิดตามภูเขา.

1. สมนฺต. ทุติย. 255. 2. สมนฺต. ทุติย. 413.

ชื่อว่า อุพภิทะ นั้น ได้แก่ เกลือที่เป็นหน่อขึ้นจากแผ่นดิน.
ชื่อว่า พิละ นั้น ได้แก่ เกลือที่เขาหุงกับเครื่องปรุงทุกอย่าง เกลือ
นั้นแดง.
บทว่า ฉกนํ ได้แก่ โคมัย.
สองบทว่า กาโย วา ทุคฺคนฺโธ มีความว่า กลิ่นตัวของภิกษุ
บางรูป เหมือนกลิ่นตัวแห่งสัตว์มีม้าเป็นต้น จุรณแห่งไม้ซึกและดอกดำเป็น
ต้น หรือจุรณแห่งเครื่องหอมทุก ๆ อย่าง ควรแก่ภิกษุแม้นั้น
บทว่า รชนนิปกฺกํ ได้แก่ กากเครื่องย้อม. ภิกษุจะตำแม้ซึ่งจุรณ
ตามปกติแล้วแช่น้ำอาบ ก็ควร. แม้จุรณตามปกตินั้น ย่อมถึงความนับว่า
กากเครื่องย้อมเหมือนกัน.
อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
ไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้ว
ได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า อาพาธเกิด
แต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ.
คำว่า อญฺชนํ นี้ เป็นคำกล่าวครอบยาตาทั้งหมด.
บทว่า กาฬญฺชนํ ได้แก่ ชาติแห่งยาตาชนิดหนึ่ง หรือยาตาที่หุงด้วย
เครื่องปรุงทุกอย่าง.
บทว่า รสญฺชนํ ได้แก่ ยาตาที่ทำด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ.
บทว่า โสตญฺชนํ ได้แก่ ยาตาที่เกิดในกระแสน้ำเป็นต้น.
หรดาล กลีบทอง ชื่อเครุกะ.
ชื่อว่า กปัลละ นั้น ได้แก่ เขม่าที่เอามาจากเปลวประทีป.

ชื่อว่า จันทนะ ได้แก่ จันทน์ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีจันทน์แดงเป็นต้น.
เครื่องยาทาทั้งหลายมีกฤษณาเป็นต้น ปรากฏแล้ว. เครื่องยาแม้เหล่าอื่นมีอุบล
เขียวเป็นต้น ย่อมควรเหมือนกัน.
บทว่า อญฺชนุปปึสเนหิ ได้แก่ เครื่องยาทั้งหลายที่จะพึงบดผสม
กับยาตา. แค่เครื่องบดยาตาไร ๆ จะไม่ควรหามิได้.
บทว่า อฏฺฐิมยํ มีความว่า ภาชนะยาตาที่แล้วด้วยกระดูกที่เหลือ
เว้นกระดูกมนุษย์.
บทว่า ทนฺตมยํ ได้แก่ ภาชนะยาตาที่แล้วด้วยงา ทุกอย่างมีงาช้าง
เป็นต้น.
ขึ้นชื่อว่า ภาชนะที่ไม่ควร ย่อมไม่มีในภาชนะที่ทำด้วยเขาเลย. ภาชนะ
ยาคาที่แล้วด้วยไม้อ้อ เป็นต้น เป็นของควรโดยส่วนเดียวแท้.
บทว่า สลาโกธานิยํ มีความว่า ชนทั้งหลายย่อมเก็บไม้ด้ามยาตา
ในที่เก็บอัน ใค เราอนุญาตที่เก็บอันนั้น เป็นกลักก็ตาม เป็นถุงก็ตาม.
บทว่า อํสวทฺธก นั้น ได้แก่ หูสำหรับสะพายแห่งถุงยาตา.
สองบทว่า ยมกํ นตฺถุกรณึ ได้แก่ กล้องยานัตถ์อันเดียวเป็น
หลอดคู่ มีรูเท่ากัน.
ข้อว่า อนุชานามิ ภิกฺเว เตลปากํ มีความว่า การหุงน้ามัน
ทุกชนิด เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ให้ใส่เครื่องยาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงได้แท้.
บทว่า อติปกฺขิตฺตมชฺชานิ มีความว่า มีน้ำเมาอันตนใส่เกิน
เปรียบไป, อธิบายว่า ปรุงใส่น้ำเมามากไป.
ลมในอวัยวะใหญ่น้อย ชื่ออังควาตะ.

บทว่า สมฺภารเสทํ ได้แก่ การเข้ากระโจมด้วยใบไม้ที่จะพึงหักได้
ต่าง ๆ อย่าง.
บทว่า มหาเสทํ มีความว่า เราอนุญาตให้นึ่งร่างกายด้วยบรรจุ
ถ่านไฟให้เต็มหลุม ประมาณเท่าตัวคนแล้ว กลบด้วยฝุ่นและทรายเป็นต้น
ลาดใบไม้ที่แก้ลมได้ต่าง ๆ ชนิด บนหลุมนั้น แล้วนอนพลิกไปพลิกมาบน
ใบไม้นั้น ด้วยตัวอันทาน้ำมันแล้ว.
บทว่า ภงฺโคทกํ ได้แก่ น้ำที่ต้มเดือดด้วยใบไม้ต่าง ๆ ที่จะพึง
หักได้. พึงรดตัวด้วยใบไม้เหล่านั้นและน้ำ เข้ากระโจม.
บทว่า อุทโกฏฺฐกํ ได้แก่ ซุ้มน้ำ. ความว่า เราอนุญาตให้ใช้
อ่างหรือรางที่เต็มด้วยน้ำอุ่นแล้วลงในอ่างหรือรางนั้น ทำการนึ่งให้เหงือออก.
สองบทว่า ปพฺพวาโต โหติ มีความว่า ลมย่อมออกตามข้อ ๆ.
สองบทว่า โลหิตํ โมเจตุ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุปล่อย
โลหิตด้วยมีด.
สองบทว่า มชฺชํ อภิสงฺขริตุ มีความว่า เท้าที่ผ่าแล้ว จะหาย
เป็นปกติได้ด้วยน้ำเมาใด เราอนุญาตให้ภิกษุใส่ยาต่าง ๆ ลงในกะลามะพร้าว
เป็นต้นปรุงน้ำเมานั้น คือ ให้หุงยาเป็นท สบายแก่เท้าทั้งสอง.
สองบทว่า ติลกกฺเกน อตฺโถ มีความว่า คือการด้วยงาทั้งหลาย
ที่บดแล้ว.
บทว่า กพฬิกํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุพอกแป้งที่ปากแผล.1
บทว่า สาสปกุฑฺเฑน มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุชะล้างด้วย
แป้งเมล็ดผักกาด.

1. กพฬิกาติ. อปนาหเภสชฺชนฺติ วิมติวิโนทนี. ยาสำหรับพอก.

บทว่า วุฑฺฒุมํสํ ได้แก่ เนื้อที่งอกขึ้นดังเดือย.
บทว่า วิกาสิกํ ได้แก่ ผ้าเก่าสำหรับกันน้ำมัน.
สองบทว่า สพฺพํ วณปฏิกมฺมํ มีความว่า ขึ้นชื่อว่าการรักษาแผล
ทุกอย่างบรรดามี เราอนุญาตททั้งหมด.
สองบทว่า สามํ คเหตฺวา มีความว่า ยามหาวิกัตินี้ อันภิกษุผู้ถูก
งูกัคอย่างเดียวเท่านั้น พึงถือเอาฉันเอง หามิได้ เมื่อพิษอันสัตว์กัดแล้ว แม้
อย่างอื่น ภิกษุก็พึงถือเอาฉันเองได้ แต่ในเหตุเหล่าอื่น รับประเคนแล้วเท่า
นั้นจึงควร.
ข้อว่า น ปฏิคฺคาหาเปตพฺโพ มีความว่า ถ้าคูถถึงภาคพื้นแล้ว
ต้องรับประเคน แต่จะถือเอาเองซึ่งคูถที่ยังไม่ถึงภาคพื้นควรอยู่. โรคที่เกิด
ขึ้นแต่น้ำซึ่งสตรีให้เพื่อทำให้อยู่ในอำนาจ ชื่อว่าอาพาธเกิดแต่ยาอันหญิง
แม่เรือนให้.
บทว่า สิตาโลลึ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุเอาดินที่ติดผาลของ
ผู้ไถนาด้วยไถ ละลายน้ำดื่ม.
บทว่า ทุฏฺฐคหณิโก มีความว่า ผู้มีไฟธาตุเผาอาหารเสีย อธิบาย
ว่า อุจจาระออกยาก.
บทว่า อามิสขารํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุเผาข้าวสุกที่ตาก
แห้งให้ไหม้ แล้วดื่มน้ำต่างที่ไหลออกจากเถ้านั้น.
บทว่า มุตฺตหริฏกํ ได้แก่ สมอไทยที่ดองด้วยมูตรโค.
บทว่า อภิสนฺนกาโย ได้แก่ มีกายเป็นโทษมาก.
บทว่า อจฺฉากญฺชิกํ ได้แก่ น้ำข้าวใส.
บทว่า อกฏยูสํ ได้แก่ น้ำถั่วเขียวต้ม ที่ไม่ข้น.

บทว่า กฏากฏํ ได้แก่ น้ำถั่วเขียวต้มนั่นเอง แต่ข้นหน่อย.
บทว่า ปฏิจฺฉาทนเยน ได้แก่ รสแห่งเนื้อ.

ว่าด้วยอันโตวุตถะเป็นต้น


ข้อว่า สเจ ภิกฺขเว ปกฺกาปิ มคฺคา ชายนฺติ มีความว่าถั่วเขียว
ที่ต้มแล้ว ถ้าแน้เป็นขึ้นได้ไซร้ ถั่วเขียวเหล่านั้น ภิกษุพึงฉันได้ตามสบาย
ด้วยว่า ถั่วเขียวเหล่านั้น จักเป็นกัปปิยะแท้ เพราะเป็นของต้มแล้ว.
บทว่า อนโตวุตฺถํ ได้แก่ ค้างอยู่ในอกัปปิยกุฏี.
วินิจฉัยในคำว่า สามํ ปกฺกํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุจะหุงต้มอามิสอย่างใดอย่างหนึ่งเองไม่ควร เฉพาะอามิสที่สุกแล้ว
จะอุ่นควรอยู่.
แม้ชนทั้งหลายใส่ใบผักชีก็ดี ขิงก็ดี เกลือก็ดี ลงในข้าวต้มที่ร้อน
สำหรับภิกษุนั้น ภิกษุจะคนแม้ซึ่งข้าวต้มนั้น ย่อมไม่ควร แต่จะคนด้วยคิด
จะให้ข้าวต้มเย็น ควรอยู่ แม้ได้ข้าวสุกที่เป็นท้องเล็นแล้วจะปิดไว้ ย่อมไม่
ควร. แต่ถ้าชนทั้งหลายปิดแล้วถวายมา จะปิดไว้ ควรอยู่ หรือจะปิดไว้ด้วย
คิดว่า ข้าวสุกจงอย่าเย็น ควรอยู่.
อนึ่ง ในนมสดและมี (นมเปรี้ยวอย่างข้น ) เป็นต้น ที่เขาต้มเดือด
แล้วครั้งหนึ่ง ภิกษุจะก่อไฟ ควรอยู่ เพราะการทำให้สุกอีก พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาต.
สองบทว่า อุกฺกปิณฺฑกาปิ ขาทนฺติ มีความว่า แมว หนู เหี้ย
และพังพอน ย่อมกินเสีย.
บทว่า ทมกา นั้น ได้แก่ คนกินเดน.
สองบทว่า ตโต นีหฏํ ได้แก่ โภชนะที่ทายกนำอกจากที่ซื่งภิกษุ
รับนิมนต์ฉัน