เมนู

แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา . . .
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย . . .
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลอง
ใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพนักแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้
เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่
หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น ฉัน
นั้นเหมือนกันแล.

นิคมคาถา


[4] ภิกษุผู้น้อมไปสู่บรรพชา 1 ผู้
น้อมไปสู่ความเงียบสงัดแห่งใจ 1 ผู้น้อมไป
สู่ความไม่เบียดเบียน 1 ผู้น้อมไปสู่ความสิ้น
อุปาทาน ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา 1 ผู้
น้อมไปสู่ความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมมี
จิตหลุดพ้นโดยชอบ เพราะเห็นความเกิด
และความดับแห่งอายตนะ ภิกษุมีจิตหลุดพ้น
แล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น ไม่ต้องกลับ
สะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็
ไม่มี เปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลา
เป็นแท่งทึบ อันเดียวกัน ย่อมไม่สะเทือน
ด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ
และธรรมารมณ์ ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่
น่าปรารถนาทั้งสิ้น ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้
หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น จิตของท่านตั้งมั่น
หลุดพ้นแล้ว ท่านย่อมพิจารณาเห็นคาวาม
เกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.

ทรงอนุญาตรองเท้า


[5] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ด้วย
วิธีอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ที่พวกกุลบุตรพยากรณ์อรหัตกล่าวแต่เนื้อความ
และไม่น้อมเข้าไปหาตน ก็แต่ว่าโมฆบุรุษบางจำพวกในธรรมวินัยนี้พยากรณ์
อรหัต ทำทีเหมือนเป็นของสนุก ภายหลังต้องทุกข์เดือดร้อน ดังนี้ ต่อแต่
นั้นพระองค์รับสั่งกะท่านพระโสณะว่า ดูก่อนโสณะ เธอเป็นสุขุมาลชาติ เรา
อนุญาตตรองเท้าชั้นเดียวแก่เธอ.
ท่านพระโสณะกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าละเงินประมาณ 80 เล่ม
เกวียน และละกองพลกอปรด้วยช้าง 7 เชือก ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
แล้ว จักมีผู้กล่าวแก่พระพุทธเจ้าว่า โสณโกฬิวิสะละเงินประมาณ 80 เล่ม
เกวียน และละกองพลกอปรด้วยช้าง 7 เชือก ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
แล้ว เดี๋ยวนี้ยังข้องอยู่ในเรื่องรองเท้าชั้นเดียว ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักได้ทรง
อนุญาตแก่พระภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระพุทธเจ้าจักใช้สอย ถ้าจักไม่ทรงอนุญาต
แก่พระภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็จักไม่ใช้สอย พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าชั้นเดียว ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้า 2 ชั้น ไม่พึง
สวมรองเท้า 3 ชั้น ไม่พึงสวมรองเท้าหลายชั้น รูปใดสวม ต้อองอาบัติทุกกฏ

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้าสีต่าง ๆ


[6] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าสีเขียวล้วน. . สวม
รองเท้าสีเหลืองล้วน . . . สวมรองเท้าสีแดงล้วน . . . สวมรองเท้าสีบานเย็นล้วน
. . สวมรองเท้าสีดำล้วน. . . สวมรองเท้าสีแสดล้วน . . .สวมรองเท้าสีชมพูล้วน