เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้ว
ได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงพระพฤติพรหมจรรย์
เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด
พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.
เรื่องพระสหายภัททวัคคีย์ จบ
ทุติยภาณวาร จบ


อรรถกถาภัททวัคคิยสหายกวัตถุ


หลายบทว่า มยฺหํ โข ภิกฺขเว มีอรรถว่า มยา โข. อีกอย่าง
หนึ่ง มีความว่า ความทำในใจโดยแยบคายของเรา อธิบายว่า เพราะความ
ทำในใจโดยแยบคายของเราเป็นเหตุ. ครั้นเปลี่ยนวิภัติแล้วก็พึงกล่าวคำว่า มยา
เป็นอนภิหิตกัตตา ในบทว่า อนุปฺปตฺตา นี้อีก (เพราะ มยฺหํ เป็นสามี
สัมพันธไปแล้ว.
บทว่า ภทฺทวคฺคิยา มีความว่า ได้ยินว่า สหายเหล่านั้นเป็นราช-
กุมาร ผู้มีความเจริญด้วยรูปร่างและจิต เที่ยวไป ด้วยคุมกันเป็นพวกเดียว
กัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภัททวัคคีย์ โว อักษรในบทว่า เตนหิ โว
ดังนี้ สักว่านิบาต.
สองบทว่า ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ มีความว่า โสดาปัตติมรรคได้เกิด
ขึ้นแก่บางพวก สกทาคามิมรรคได้เกิดขึ้นแก่บางพวก อนาคามิมรรคได้เกิด

ขึ้นแก่บางพวก จริงอยู่ มรรคเหล่านั้นทั้ง 3 ท่านเรียกว่าธรรมจักษุ. ได้ยินว่า
สหายเหล่านั้น ได้เป็นนักเลง 30 ตนในตุณฑิลชาดก1. ครั้งนั้นพวกเขาได้ฟัง
ตุณฑิโลวาทแล้วรักษาศีล 5. บุพพกรรมของสหายเหล่านั้นเท่านี้.
อรรถกถาภัททวัคคิยสหายกวัตถุ จบ

เรื่องชฏิล 3 พี่น้อง


[37] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบล-
อุรุเวลาแล้ว. ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิล 3 คน คือ อุรุเวลกัสสป 1 นทีกัสสป 1
คยากัสสป 1 อาศัยอยู่ในตำบลอุรุเวลา บรรดาชฎิล 3 คนนั้น ชฎิลชื่ออุรุเวล-
กัสสปเป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของ
ชฎิล 500 คน ชฎิลชื่อนทีกัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็น
หัวหน้า เป็นประธานของชฎิล 300 คน ชฎิลชื่อคยากัสสป เป็นผู้นำ เป็น
ผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล 200 คน. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จเข้าไปสู่อาศรมของชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสป แล้วได้ตรัส
กะชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูก่อนกัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ใน
โรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้น
มีพญานาคดุร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้
ท่านลำบาก.
แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า
ดูก่อนกัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.

1. ข. ชา. 27/917. ชาดกอัฏฐกถาภาค 5 หน้า 78.