เมนู

อรรถกถาบรรพชาวินิจฉัย


สองบทว่า นานาทิสา นานาชนปทา มีความว่า จากทิศต่าง ๆ
และจากชนบท1 ต่าง ๆ.
คำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ตุมฺเหวทานิ ตาสุ ตาสุ ทิสาสุ
เตสุ เตสุ ชนปเทสุ ปพฺพาเชถาติ
เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เมื่อจะให้กุลบุตรผู้
เพ่งบรรพชาบวช พึงเว้นบุคคลที่ทรงห้ามไว้ เริ่มต้น ว่า ภิกษุทั้งหลาย คน
ที่ถูกอาพาธ 5 อย่างเบียดเบียนแล้ว อันท่านทั้งหลายไม่ควรให้บวช ดังนี้
จนถึงอย่างนี้ว่า คนตาบอดหรือใบ้หรือหนวก อันท่านทั้งหลายไม่ควรให้บวช
ดังนี้ ข้างหน้าพึงให้บุคคลเว้นจากบรรพชาโทษบวช. บุคคลแม้นั้น อันมารดา
บิดาอนุญาตแล้ว เท่านั้น. ลักษณะแห่งการอนุญาตซึ่งบุคคลผู้สมควรนั้นข้าพเจ้า
จักพรรณนาในสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต อันท่าน
ทั้งหลายไม่ควรให้บวช ภิกษุใดพึงให้บวช ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ. ก็แลเมื่อจะ
ให้บวชกุลบุตรผู้เว้นจากบรรพชาโทษ ซึ่งมารดาบิดาอนุญาตแล้วอย่างนั้น ถ้า
ว่ากุลบุตรนั้น ยังไม่ได้ปลงผม, และภิกษุแม้เหล่าอื่นมีอยู่ในสีมาเดียวกัน. พึง
บอกภัณฑุกรรม2 เพื่อประโยชน์แก่การปลงผม อาการบอกภัณฑุกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจักพรรณนาในสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุบอกเล่ากะ
สงฆ์ เพื่อทำภัณฑุกรรม. ถ้ามีโอกาส พึงให้บวชเอง. ถ้าต้องขวนขวายด้วย
กิจการมีอุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้น ไม่ได้โอกาส พึงสั่งภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งว่า
คุณจงให้กุลบุตรนี้บวช. ถ้าภิกษุหนุ่มซึ่งอุปัชฌาย์ไม่ได้สั่งเลย แต่เธอให้บวช
แทนอุปัชฌาย์ การทำอย่างนั้นสมควร. ถ้าภิกษุหนุ่มไม่มี อุปัชฌาย์พึงบอก

1. คำว่า ชนบท หมายความว่าประเทศหรือราชอาณาจักร. 2. พิธีโกนผม.

สามเณรก็ได้ว่า เธอจงนำผู้นี้ไปยังขัณฑสีมาให้ปลงผม ให้นุ่งห่มผ้ากาสายะ
เสร็จแล้วจึงมา. ส่วนสรณะอุปัชฌาย์พึงให้เอง. กุลบุตรนั้นเป็นอันภิกษุนั่นเอง
ให้บวชแล้วด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ คนอื่นจากภิกษุไม่ได้เพื่อให้บุรุษบวช.
คนอื่นจากภิกษุณีไม่ได้เพื่อให้มาตุคามบวชเหมือนกัน. ส่วนสามเณรหรือ
สามเณรี ได้เพื่อจะให้ผ้ากาสายะตามคำสั่ง. การปลงผมผู้ใดผู้หนึ่งทำแล้ว ก็
เป็นอันทำแล้วด้วยดี. ก็ถ้าว่า กุลบุตรเป็นผู้มีรูปสมควร มีกุศลกรรมเป็นเหตุ
มีชื่อเสียง มียศ อุปัชฌาย์แม้ทำโอกาสแล้ว ก็ควรให้บวชเองแท้ ทั้งไม่ควร
ปล่อยไปว่า จงถือเอาดินเหนียวกำมือหนึ่ง อาบแล้วชุบผมแล้ว จงมา. เพราะ
ว่า. อุตสาหะของผู้ที่ใคร่จะบวช เป็นของรุนแรงก่อน แต่ภายหลังได้เห็นผ้า
กาสายะและมีดโกนผมเข้า จะตกใจ จะหนีไปเสียจากที่นั่นก็ได้ เพราะเหตุนั้น
อุปัชฌาย์เองนั่นแล ควรนำไปยังท่าสำหรับอาบ ถ้ากุลบุตรนั้นไม่เป็นเด็กนัก
พึงบอกว่า จงอาบเสีย ส่วนผมของเขา พึงถือเอาดินเหนียวสระให้เองทีเดียว.
ฝ่ายกุลบุตรที่ยังเป็นเด็กย่อม อุปัชฌาย์พึงลงน้ำ ขัคสีด้วยโคมัยและดินเหนียว
อาบให้เอง1 ถ้าว่า เขาเป็นหิดด้านหรือผีอยู่บ้าง2 มารดาไม่เกลียดบุตรฉันใด
อุปัชฌาย์ ไม่พึงเกลียดฉันนั้นนั่นแหละ พึงให้อาบขัดสีตั้งแต่มือและเท้าจนถึง
ศีรษะเป็นอันดี.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะว่า ด้วยอุปการะเพียงเท่านี้ กุลบุตรทั้งหลายจะเป็นผู้
มีความรักแรงกล้ามีความเคารพมากในอาจารย์และอุปัชฌาย์และในพระศาสนา
จะเป็นผู้ไม่หวนกลับเป็นธรรมดา จะบรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นเสีย อยู่
ไปจนเป็นพระเถระ จะเป็นผู้กตัญญูกตเวที. แลในเวลาที่ให้อาบน้ำหรือใน
เวลาปลงผมและหนวด ด้วยอาการอย่างนั้น อุปัชฌาย์ไม่ควรพูดกะเขาว่า เธอ

1. เป็นลัทธินิยมของคนบางพวก. 2. นี่เป็นโรคที่ต้องห้าม นับเป็นอุปสมบทโทษ.

เป็นคนมีชื่อเสียง มียศ บัดนี้ พวกฉันได้อาศัยเธอแล้ว จักไม่ลำบากด้วยปัจจัย.
ถ้อยคำที่ไม่ใช่คำชักนำอย่างอื่น ก็ไม่ควรพูดเหมือนกัน. ที่ถูกควรพูดแก่เขาว่า
ผู้มีอายุ เธอจงใคร่ครวญดูให้ดี จงคุมสติ แล้วพึงสอนตจปัญจกกัมมัฏฐาน1 ให้
และเมื่อบอก พึงชี้แจงให้ชัดเจนถึงข้อที่ส่วนทั้ง 5 นั้น เป็นของไม่สะอาด
น่าเกลียด ปฏิกูล ด้วยอำนาจสี สัณฐาน กลิ่น ที่อาศัย และโอกาส หรือข้อที่ส่วน
ทั้ง 5 นั้น ไม่ใช่ผู้เป็นอยู่ ไม่ใช่สัตว์ ก็ถ้าในกาลก่อน เขาเป็นผู้เคยพิจารณา
สังขาร เจริญภาวนามา เป็นเหมือนผีที่แก่เต็มที่คอยรอการบ่งด้วยหนาม และ
เป็นเหมือนดอกปทุมที่แก่ คอยรอพระอาทิตย์ขึ้น ทีนั้นเมื่อการพิจารณา
กัมมัฏฐาน สักว่าเขาปรารภแล้ว ญาณที่จะบดกิเลสเพียงดังภูเขาให้แหลกไป
นั่นแล ย่อมเป็นไป ราวกะอาวุธของพระอินทร์แล่งภูเขาให้แหลกละเอียดไป
ฉะนั้น. เขาย่อมบรรลุพระอรหัตในเวลาปลงผมเสร็จทีเดียว. จริงอยู่ แต่แรก
ทีเดียว กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้สำเร็จพระอรหัต ในขณะปลงผมเสร็จ
กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ได้การฟังเห็นปานนี้ อาศัยนัยซึ่งอาจารย์ผู้เป็นกัลยาถ-
มิตรให้ จึงได้สำเร็จ ไม่ได้อาศัยแล้วหาสำเร็จไม่ เพราะเหตุนั้น อุปัชฌาย์
จึงควรกล่าวถ้อยคำเช่นนั้นแก่เขา อนึ่ง เมื่อปลงผมเสร็จแล้ว ควรใช้ขมิ้นผง
หรือกระแจะทาศีรษะและร่างกายกำจัดกลิ่นคฤหัสถ์เสียแล้ว พึงให้รับผ้ากาสายะ
3 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง หรือครั้งเดียวก็ได้. แม้ถ้าอาจารย์หรืออุปัชฌาย์ จะ
ไม่มอบให้ในมือของเขา จะนุ่งห่มให้เองทีเดียว ข้อนั้นก็สมควร แม้ถ้าว่าจะ
สั่งคนอื่นเป็นภิกษุหนุ่มก็ตาม สามเณรก็ตาม อุบายสกก็ตาม ว่าผู้มีอายุ ท่าน
จงถือเอาผ้ากาสายะเหล่านั้น นุ่งห่มให้ผู้นี้ หรือจะสั่งกุลบุตรนั้นแหละว่า เธอจง
ถือเอาผ้ากาสายะเหล่านี้ ไปนุ่งห่มควรทุกอย่าง. จริงอยู่ ผ้ากาสายะนั้นทั้งหมด
เป็นอันภิกษุนั้นเทียวให้แล้ว. แต่เขานุ่งหรือห่ม ผ้านุ่งหรือผ้าห่มอันใด โดย

1. ผม. ขน. เล็บ. ฟัน, หนัง.

ไม่ได้สั่ง พึงเปลื้องผ้านุ่งหรือผ้าห่มนั้นเสียแล้ว ให้ใหม่. เพราะผ้ากาสายะที่ภิกษุ
ให้ด้วยมือของตนหรือด้วยสั่งเท่านั้น จึงควร ที่ภิกษุไม่ได้ให้ ไม่ควร แม้ว่า
ผ้ากาสายะนั้น จะเป็นของเขาเอง ก็ต้องเป็นเช่นนั้น. และจะคืองกล่าวอะไร
ในผ้ากาสายะที่มีอุปัชฌาย์เป็นมูลเล่า. นี้เป็นวินิจฉัยในข้อว่า พึงให้ปลงผม
และหนวดก่อนแล้ว ให้นุ่งห่มผ้ากาสายะ ให้ทำอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นี้.
ข้อว่า พึงให้ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายเป็นต้น มีความว่าภิกษุเหล่าใด
ประชุมกันในที่นั้น พึงให้ไหว้เท้าภิกษุเหล่านั้นแล้ว ลำดับนั้นพึงให้นั่งกระ-
โหย่งประคองอัญชลีแล้วบอก. ว่า เอวํ วเทหิ คือพึงสั่งว่า ยมหํ วทามิ ตํ
วเทหิ
เพื่อรับสรณะ. ลำดับนั้นอุปัชฌาย์หรืออาจารย์พึงให้สรณะแก่เขา โดย
นัยเป็นต้น ว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ดังนี้. พึงให้ตามลำดับที่กล่าวแล้ว
อย่างไรเทียว ไม่พึงให้สับลำดับ. ถ้าสับลำดับเสีย บทหนึ่งก็ดี อักษรหนึ่งก็ดี
หรือให้ พุทฺธํ สรณํ เท่านั้น ถ้วน 3 ครั้งแล้ว ภายหลังจึงให้สรณะนอก
นี้อย่างละ 3 ครั้ง สรณะไม่จัดว่าได้ให้. ก็แลอุปสัมปทาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงห้ามสรณะคมนูปสัมปทานี้เสียแล้ว ทรงอนุญาตไว้ บริสุทธิ์ฝ่ายเดียวก็ควร.
ส่วนสามเณรบรรพชาบริสุทธิ์ทั้ง 2 ฝ่ายจึงควร. บริสุทธิ์ฝ่ายเดียวไม่ควร
เพราะเหตุนั้น ในอุปสัมปทา ถ้าอาจารย์ทำกรรมเว้นญัตติโทษ และกรรม
วาจาโทษแล้ว กรรมเป็นอันทำถูกต้อง. ส่วนในบรรพชา ทั้งอาจารย์ทั้งอัน
เตวาสิก ต้องว่าสรณะ 3 เหล่านี้ ไม่ให้เสียความพร้อมมูลแห่งฐานกรณ์ของ
พยัญชนะทั้งหลาย มี พุ อักษรและ อักษรเป็นต้น. ถ้าอาจารย์อาจว่าได้
แต่อันเตวาสิกไม่อาจ หรืออันเตวาสิกอาจ แต่อาจารย์ไม่อาจ. หรือทั้ง 2
ฝ่ายไม่อาจ ไม่ควร. แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายอาจ ข้อนั้นจึงควร. ก็แลเมื่อให้สรณะ
เหล่านั้น พึงให้ว่าบทที่มีนิคหิตเป็นที่สุด ให้ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันอย่างนี้ว่า

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ หรือพึงให้ว่าบทที่มี อักษรเป็นที่สุด ให้ขาดระยะ
กันอย่างนี้ว่า พุทฺธมฺ สรณมฺ คจฺฉามิ1 ในอันธกัฏฐกถาท่านแก้ว่า อัน
เตวาสิกพึงประกาศชื่อรับสรณะอย่างนี้ว่า อหํ ภนฺเต พุทฺธรกฺขิโต ยาวชีวํ
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ดังนี้. คำนั้นไม่มีแม้ในอรรถกถาเดียว ทั้งในพระ-
บาลีก็ไม่กล่าวไว้ เป็นแต่เพียงความชอบใจของพระอาจารย์เหล่านั้น เพราะ
ฉะนั้น ไม่ควรถือเอา. แท้จริง เมื่อไม่ว่าอย่างนั้น สรณะจะกำเริบก็หามิได้.
ข้อว่า อนุชานามิ ภกฺเว อิเมหิ ตีทิ สรณคมเนหิ ปพฺพชฺชํ
อุปสมฺปทํ
มีความว่า เราอนุญาตบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์
เหล่านี้ ซึ่งว่าหมดจดทั้ง 2 ฝ่าย ครบ 3 ครั้ง อย่างนี้ว่า พุทฺธํ สรณํ
คจฺฉามิ
เป็นต้น. ในบรรพชาและอุปสมบททั้ง 2 นั้น อุปสมบท พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงห้ามเสียข้างหน้าแล้ว เพราะฉะนั้นบัดนี้ อุปสมบทนั้น จึงไม่
ขึ้นด้วยมาตรว่าสรณะเท่านั้น. ส่วนบรรพชาทรงอนุญาตเฉพาะไว้ข้างหน้าว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสามเณรบรรพชาด้วยไตรสรณคมน์เหล่านี้ เพราะ
ฉะนั้นถึงในบัดนี้ บรรพชานั้น ย่อมขึ้นด้วยมาตรว่าสรณะเท่านั้น. จริงอยู่
กุลบุตรเป็นอันตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณรด้วยอาการเพียงเท่านี้. และถ้าสามเณร
นั้นเป็นผู้มีปัญญา มีชาติแห่งคนฉลาด ลำดับนั้น พึงแสดงสิกขาบททั้งหลาย
แก่เธอในที่นี้ทีเดียว. แสดงอย่างไร ? แสดงเหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงแล้ว . จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเรา
อนุญาตสิกขาบท 10 แก่สามเถรทั้งหลาย และอนุญาตเพื่อให้สามเณรศึกษาใน
สิกขาบท 10 เหล่านั้น คือ:-

1. เป็นสำเนียงว่าอย่างสันสกฤต บัดนี้เราไม่ใช้แล้ว.

เว้นจากทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป 1.
เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ 1.
เว้นจากกรรมมิใช่พรหมจรรย์ 10.
เว้นจากพูดเท็จ 1.
เว้นจากดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 1.
เว้นจากบริโภคอาหารผิดเวลา 1.
เว้นจากฟ้อนขับประโคมและดูการเล่น 1.
เว้นจากการทัดทาระเบียบดอกไม้ของหอมและเครื่องทาอันเป็นฐาน
แต่งตัว 1.
เว้นจากนอนบนที่นอนสูงที่นอนใหญ่ 1.
เว้นจากรับทองและเงิน1 1.
ส่วนในอันธกัฏฐกถา พระอรรถกถาจารย์ กล่าวแม้ซึ่งการให้
สิกขาบทเหมือนการให้สรณะอย่างนี้ว่า อหํ ภนฺเต อิตฺถนฺนาโม ยาวซีวํ
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ดังนี้. แม้วิธีนั้น ก็ไม่มี
ในบาลี ทั้งไม่มีในอรรถกถาทั้งหลาย เพราะฉะนั้นควรแสดงแต่พอสมควรแก่
บาลี จริงอยู่ บรรพชาสำเร็จด้วยสรณคมน์เท่านั้น. ส่วนสิกขาบททั้งหลายอัน
สามเณรควรทราบเพื่อทำสิกขาให้บริบูรณ์อย่างเดียว เพราะฉะนั้น เมื่อสามเณร
ไม่สามารถจะเรียนสิกขาบทเหล่านี้ตามนัยซึ่งมาในพระบาลีได้ จะบอกแต่
เพียงใจความด้วยภาษาอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ควร. และสามเณรยังไม่รู้สิกขาบท
ที่ตนควรศึกษา ยังไม่ฉลาดในการทรงผ้าสังฆาฏิ2 บาตร และจีวร การยืน
และการนั่งเป็นต้น และในวิธีมีดื่มและฉันเป็นอาทิเพียงใด ยังไม่ควรปล่อยเธอ

1. วิ. มหา. 4/120.
2. สามเณรก็มีสังฆาฎิเหมือนกัน.

ไปสู่หอฉันหรือที่แจกสลาก หรือสถานเช่นนั้นอื่นเพียงนั้น. ควรให้เธอเที่ยวอยู่
ในสำนักเท่านั้น. ควรสงวนเธอเหมือนเด็กอ่อน. ควรบอกสิ่งที่ควรและไม่ควร
ทุกอย่างแก่เธอ ควรแนะนำเธอในอภสมาจาริกวัตรมีนุ่งห่มเป็นต้น . แม้สามเณร
นั้นเล่า ก็ควรเว้น ให้ไกลซึ่งนาสนังคะ 1. ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ข้างหน้า
อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ 101
ดังนี้ ทำอภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ พึงศึกษาให้ดีในศีล 10 อย่าง ฉะนี้แล.
อรรถกถาบรรพชาวินิจฉัย จบ

ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์


[35] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำพรรษาแล้ว รับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะทำในใจโดยแยบคาย เพราะทั้งความ
เพียรชอบโดยแยบคาย เราจึงได้บรรลุอนุตตรวิมุตติ จึงได้ทำอนุตตรวิมุตติ
ให้แจ้ง แม้พวกเธอก็ได้บรรลุอนุตตรวิมุตติ ทำอนุตตรวิมุตติให้แจ้ง เพราะ
ทำในใจโดยแยบคาย เพราะตั้งความเพียรชอบโดยแยบคาย.
ครั้งนั้น มารผู้มีใจบาปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้ทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า:-
ท่านเป็นผู้อันบ่วงมาร ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ผูกพัน
ไว้แล้วท่านเป็นผู้อันเครื่องผูกแห่งมารรัดรึงแล้ว แน่ะสมณะ ท่านจักไม่พ้นเรา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงมาร ทั้งที่
เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกแห่งมาร ดู
ก่อนมารท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว

1. วิ. มหา. 4/24.