เมนู

แม้วาระที่ 2 ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
แม้วาระที่ 3 ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
แม้วาระที่ 3 ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
แม้วาระที่ 3 ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบรรพชาอุปสมบท ด้วยไตรสรณคมน์
กถาว่าด้วยอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ จบ

อรรถกถายสวัตถุ


บทว่า ปุพฺพานุปุพฺพกานํ มีความว่า เก่าแก่เป็นลำดับด้วยอำนาจ
ความสืบสายกัน.
ข้อว่า เตน โข ปน สมเยแ เอกสฏฺฐิ โลเก อรหนฺโต โหนฺติ
มีความว่า ภายในพรรษาเท่านั้น มีมนุษย์เป็นพระอรหันต์ 61 องค์ คือ พวก
ก่อน 6 องค์ และพวกนี้อีก 55 องค์. บรรดามนุษย์เหล่านั้น ยสกุลบุตร
เป็นต้น มีบุพประโยคดังต่อไปนี้:-
ดังได้ยินมา ในอดีตกาล สหาย 55 คน จะทำบุญร่วมพวกกัน จึง
เที่ยวช่วยกันจัดการศพคนอนาถา. วันหนึ่งพวกเขาพบทญิงมีครรภ์ทำกาลกิริยา
คิดว่า จักเผา จึงนำไปยังป่าช้า. ในพวกเขา เว้นไว้ที่ป่าช้า 5 คน สั่งว่า จง
ช่วยกันเผา ส่วนที่เหลือพากันเข้าบ้าน. พ่อยศผู้ทรามวัย แทงและพลิกศพนั้น
ให้ไหม้อยู่ ก็ได้อสุภสัญญา. เขาได้แสดงแก่อีก 4 คนด้วยว่า ผู้เจริญจงเห็น

ของไม่สะอาด น่าเกลียดนี่. อีก 4 คนนั้นก็ได้อสุภสัญญาในศพนั้นบ้าง. เขา
ทั้ง 5 พากันไปบ้านแล้วบอกแก่สหายที่เหลือ. ฝ่ายพ่อยสผู้ทรามวัยไปบ้านแล้ว
ได้บอกแก่มารดาบิดาและภรรยา. ชนเหล่านั้นทั้งหมดได้เจริญอสุภสัญญาบ้าง.
บุพประโยคของชนเหล่านั้นเท่านี้ . เพราะเหตุนั้นความสำคัญในเหล่าชนฟ้อนว่า
เป็นดังป่าช้านั่นแล จึงได้เกิดขึ้นแก่พระยศผู้มีอายุ. และด้วยอุปนิสัยสมบัตินั้น
ความบรรลุธรรมพิเศษได้เกิดแก่ทุกคนแล.
ข้อว่า อถโข ภควา ภิกฺขุ อามนฺเตสิ มีความว่า พระผู้พระภาคเจ้า
เสด็จอยู่ที่กรุงพาราณสีจนถึงเพ็ญเดือนกัตติกาหลัง วันหนึ่งตรัสเรียกภิกษุ 60
รูป ซึ่งเป็นพระขีณาสพเหล่านั้น. บ่วง คือ ความโลภในอารมณ์ทั้งหลายที่เป็น
ทิพย์ จัดเป็นของทิพย์. บ่วง คือ ความโลภ ในอารมณ์ทั้งหลายซึ่งเป็นของ
มนุษย์ จัดเป็นของมนุษย์.
หลายบทว่า มา เอเกน เทฺว มีความว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้ไป
รวมกัน 2 รูปโดยทางเดียวกัน.
บทว่า อสฺสวนตา มีความว่า เพราะเหตุที่ไม่ได้ฟัง.
บทว่า ปริยายนฺติ มีความว่า เมื่อไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษที่ยังไม่
ได้บรรลุ ชื่อว่าย่อมเสื่อมจากความบรรลุธรรมพิเศษ.
บทว่า อนฺตก ได้แก่ ดูก่อนมารผู้เลวทราม คือเป็นสัตว์ต่ำช้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาบ่วง คือ ราคะ ตรัสว่า เที่ยวไปในอากาศ.
จริงอยู่ พระองค์ทรงทราบบ่วง คือ ราคะนั้น จึงตรัสว่า เที่ยวไปในอากาศ.
อรรถกถายสวัตถุ จบ

อรรถกถาบรรพชาวินิจฉัย


สองบทว่า นานาทิสา นานาชนปทา มีความว่า จากทิศต่าง ๆ
และจากชนบท1 ต่าง ๆ.
คำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ตุมฺเหวทานิ ตาสุ ตาสุ ทิสาสุ
เตสุ เตสุ ชนปเทสุ ปพฺพาเชถาติ
เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เมื่อจะให้กุลบุตรผู้
เพ่งบรรพชาบวช พึงเว้นบุคคลที่ทรงห้ามไว้ เริ่มต้น ว่า ภิกษุทั้งหลาย คน
ที่ถูกอาพาธ 5 อย่างเบียดเบียนแล้ว อันท่านทั้งหลายไม่ควรให้บวช ดังนี้
จนถึงอย่างนี้ว่า คนตาบอดหรือใบ้หรือหนวก อันท่านทั้งหลายไม่ควรให้บวช
ดังนี้ ข้างหน้าพึงให้บุคคลเว้นจากบรรพชาโทษบวช. บุคคลแม้นั้น อันมารดา
บิดาอนุญาตแล้ว เท่านั้น. ลักษณะแห่งการอนุญาตซึ่งบุคคลผู้สมควรนั้นข้าพเจ้า
จักพรรณนาในสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต อันท่าน
ทั้งหลายไม่ควรให้บวช ภิกษุใดพึงให้บวช ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ. ก็แลเมื่อจะ
ให้บวชกุลบุตรผู้เว้นจากบรรพชาโทษ ซึ่งมารดาบิดาอนุญาตแล้วอย่างนั้น ถ้า
ว่ากุลบุตรนั้น ยังไม่ได้ปลงผม, และภิกษุแม้เหล่าอื่นมีอยู่ในสีมาเดียวกัน. พึง
บอกภัณฑุกรรม2 เพื่อประโยชน์แก่การปลงผม อาการบอกภัณฑุกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจักพรรณนาในสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุบอกเล่ากะ
สงฆ์ เพื่อทำภัณฑุกรรม. ถ้ามีโอกาส พึงให้บวชเอง. ถ้าต้องขวนขวายด้วย
กิจการมีอุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้น ไม่ได้โอกาส พึงสั่งภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งว่า
คุณจงให้กุลบุตรนี้บวช. ถ้าภิกษุหนุ่มซึ่งอุปัชฌาย์ไม่ได้สั่งเลย แต่เธอให้บวช
แทนอุปัชฌาย์ การทำอย่างนั้นสมควร. ถ้าภิกษุหนุ่มไม่มี อุปัชฌาย์พึงบอก

1. คำว่า ชนบท หมายความว่าประเทศหรือราชอาณาจักร. 2. พิธีโกนผม.