เมนู

เฉพาะในการปวารณามีพรรษาเท่ากัน พึงกล่าวว่า สมานวสฺสิกํ
ปวาเรยฺย
แปลว่า พึงปวารณามีพรรษาเท่ากัน ก็แลในการปวารณามีพรรษา
เท่ากันนี้ ภิกษุผู้มีพรรษาเท่ากันแม้มากรูป ย่อมได้เพื่อปวารณาพร้อมกัน.

การงดปวารณา


วินิจฉัยในข้อว่า กาสิตาย ลปิตาย อปริโยสิตาย นี้ พึงทราบ
ดังนี้:-
การงดปวารณา 2 อย่าง คือ งดรอบไปอย่างหนึ่ง งดเป็นส่วนบุคคล
อย่างหนึ่ง.
การงดปวารณามี 2 อย่างนั้น ในการงดรอบทั่วไป มีวินิจฉัยว่า
กรรมวาจาที่สวดว่าเรื่อยไปตั้งแต่ สุ อักษร จนถึง เร อักษร ว่า สุณาตุ เม
ภนฺเต สงฺโฆ, เป สงฺโฆ เตวาจิกํ ปวาเร
ดังนี้ ปวารณายังไม่จัดว่า
จบก่อน.
ในระหว่างนี้ เมื่อภิกษุงดไว้แม้ในบทหนึ่ง ปวารณาเป็นอันงด. ต่อ
เมื่อถึง อักษรแล้ว ปวารณาเป็นอันจบ เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุงดไว้ทั้งแต่
อักษรนั้นไป ปวารณาไม่จัดว่าได้งด.
ส่วนในการงด เป็นส่วนบุคคล มีวินิจฉัยว่า คำปวารณาอันภิกษุ
กล่าวว่าเรื่อยไปทั้งแต่ สํ อักษร จนถึง ฏิ อักษร อันเป็นด้วยท้ายแห่งอักษร
ทั้งปวงนี้ว่า สงฺฆํ ภนฺเต ปวาเรมิ ฯเปฯ ทุติยมฺปิ ฯเปฯ ตติยมฺปิ
ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺถาย วา ฯเปฯ
ปสฺสนฺโต ปฏิ
ดังนี้, ปวารณายังไม่จัดว่าจบก่อน. ในระหว่างนี้ เมื่อภิกษุ
งดไว้แม้นี้ในบทอันหนึ่ง ปวารณาย่อมเป็นอันงด. ต่อเมื่อกล่าวบทว่า กริสฺสามิ

แล้ว ปวารณาเป็นอันจบแล้วแท้, ก็เพราะเหตุใด เมื่อกล่าวบทว่า กริสฺสามิ
แล้วปวารณาจึงชื่อว่าเป็นอันจบแล้วแท้ เพราะเหตุนั้น เมื่อถึงบทอันหนึ่งว่า
กริสฺสาม แล้ว ปวารณาอันภิกษุงดไว้ ไม่จัดว่าเป็นอันงดเลยด้วยประการ
ฉะนี้.
ใน เทฺววาจิกา เอกวาจิกา และ สมานวสฺสิกา มีนัยเหมือน
กัน. จริงอยู่ อักษรมี ฏิ เป็นที่สุด จำเติมแต่ สํ มาทีเดียว ย่อมเป็นเขตแห่ง
การงดในปวารณาแม้เหล่านั้น ฉะนั้นแล.
บทว่า อนุยุญฺชิยมาโน มีความว่า ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายทำ
การไต่สวนถามอยู่ ตามนัยที่ตรัสไว้ข้างหน้าว่า ท่านงดปวารณานั้น เพราะ
เหตุไร ?
บทว่า โอมทฺทิตฺวา มีความว่า สงฆ์พึงกล่าวคำเหล่านั้นว่า อย่าเลย
ภิกษุ เธออย่าทำความบาดหมางเลย ดังนี้ เป็นอาทิ ห้ามปรามเสียแล้วจึง
ปวารณา. จริงอยู่ การห้ามปรามด้วยถ้อยคำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์
แล้วว่า โอมทฺทนา ในบทว่า โอมทฺทิตฺวา นี้.
สองบทว่า อนุทฺธํสิตํ ปฏิชานาติ มีความว่า ภิกษุผู้โจทก์นั้น
ปฏิญญาอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ข้าพเจ้าตามกำจัด คือโจท แล้ว ด้วยอาบัติปาราชิกไม่
มีมูล.
บทว่า ยถาธมฺมํ มีความว่า สงฆ์พึงให้ปรับปาจิตตีย์ เพราะตาม
กำจัดด้วยสังฆาทิเสส พึงให้ปรับทุกกฏเพราะตามกำจัดด้วยวีติกกมะนอกจากนี้.
บทว่า นาเสตฺวา มีความว่า สงฆ์พึงนาสนาภิกษุผู้จำเลยเสียด้วย
ลิงคนาสนา. ภิกษุผู้จำเลยนั้น อันสงฆ์พึงสั่งเพียงเท่านี้ว่า อาบัตินั้น พึงเป็น
โทษอันเธอทำคืนตามธรรม แล้วพึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงปวารณาเถิด

แต่อย่าพึงกล่าวคำนี้ว่า อาบัติชื่อโน้น เพราะว่าคำนั้นย่อมเป็นทางแห่งความ
ทะเลาะ.
วินิจฉัยในข้อว่า อิทํ วตฺถุํ ปญฺญายติ น ปุคฺคโล นี้ พึงทราบดังนี้:-
ได้ยินว่า พวกโจรจับปลาทั้งหลายจากสระโบกขรณี ในวัดป่าปิ้งกิน
แล้วไป ภิกษุนั้น เห็นประการแปลกนั้น กำหนดหมายเอาว่า กรรมนี้ พึง
เป็นของภิกษุ จึงกล่าวอย่างนั้น.
ในข้อว่า วตฺถุํ ฐเปตฺวา สงฺโฆ ปวาเรยฺย นี้ มีเนื้อความดังนี้ว่า
เราทั้งหลายจักรู้จักตัวบุคคลนั้น ในเวลาใด จักโจทบุคคลนั้น ในเวลานั้น
แต่บัดนี้สงฆ์จงปวารณาเถิด.
ข้อว่า อิทาเนว นํ วเทหิ มีความว่า หากท่านรังเกียจบุคคลบาง
คนด้วยวัตถุนี้. ท่านจงระบุตัวบุคคลนั้น ในบัดนี้แล. หากเธอระบุ สงฆ์พึง
ไต่สวนบุคคลนั้นแล้ว จึงปวารณา; หากเธอไม่ระบุ สงฆ์พึงกล่าวว่า เราจัก
พิจารณาแล้วจักรู้ ดังนี้ ปวารณาเถิด.
วินิจฉัยในข้อว่า อยํ ปุคฺคโล ปญฺญายติ น วตฺถุํ นี้ พึงทราบ
ดังนี้:-
ภิกษุรูปหนึ่ง บูชาพระเจดีย์ด้วยระเบียบของหอมและเครื่องชะโลมทา
ก็ดี, ฉันยาดองอริฏฐระก็ดี, กลิ่นตัวของเธอเป็นของคล้ายกับสิงเหล่านั้น ภิกษุ
นั้นหมายเอากลิ่นนั้น เมื่อประกาศวัตถุว่า กลีนของภิกษุนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
ข้อว่า ปุคฺคลํ ฐเปตฺวา สงฺโฆ ปวาเรยฺย มีความว่า สงฆ์จงเว้น
บุคคลนั้นเสีย ปวารณาเถิด.
ข้อว่า อิทาเนว นํ วเทหิ มีความว่า ท่านจงเว้น บุคคลใดจงกล่าว
โทษของบุคคลนั้น ในบัดนี้แล. หากภิกษุนั้นกล่าวว่า โทษของบุคคลนั้นเป็น
อย่างนี้ สงฆ์พึงชำระบุคคลนั้นให้เรียบร้อยแล้ว จึงปวารณา; แต่ถ้าเธอกล่าว

ว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบ สงฆ์พึงกล่าวว่าเราจักพิจารณาแล้วจักรู้ ดังนี้ ปวารณา
เถิด.
ข้อว่า อิทํ วตฺถุญฺจ ปุคฺคโล จ ปญฺญายติ มีความว่า ภิกษุนั้น
ได้เห็นที่ซึ่งพวกโจรจับปลาปิ้งกิน และสถานที่อาบด้วยของหอมเป็นต้น ตาม
นัยก่อนนั่นเอง เมื่อสำคัญว่า นี่คงเป็นกรรมของบรรพชิตจึงกล่าวอย่างนั้น.
ข้อว่า อิทาเนว นํ วเทหิ มีความว่า ท่านจะบอกตัวบุคคลที่ท่าน
รังเกียจด้วยวัตถุนั้น ในบัดนี้แล. ก็แลจำเติมแต่กาลที่ได้เห็นแล้ว เพราะเห็น
วัตถุและบุคคลครบทั้งสองนี้ สงฆ์ต้องวินิจฉัยก่อน จึงปวารณาได้.
สองบทว่า กลฺลํ วจนาย มีความว่า สมควรโจท ด้วยคำโจทที่
สมควร1.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะวัตถุยังมิได้วินิจฉัยก่อนแต่ปวารณา และเพราะบุคคล
ซึ่งได้เห็นแล้ว ถูกโจทภายหลังแต่ปวารณา.
ข้อว่า อุกฺโกถฏนกํ ปาจิตฺติยํ มีความว่า จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
เห็นวัตถุและบุคคลครบทั้งสองนี้แล้ว วินิจฉัยเสร็จก่อนแต่ปวารณาแล้ว จึง
ปวารณา เพราะฉะนั้น จึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รอปวารณานั้นอีก.
วินิจฉัยในข้อว่า เทฺว ตโย อุโปสเถ จาตุทฺทสิเก กาตุํ นี้พึง
ทราบดังนี้:-
2 อุโบสถ คือ ที่ 4 กับที่ 5 เป็นจาตุททสี. อนึ่ง อุโบสถที่ 3 แม้
ตามปกติ ย่อมเป็นจาตุททสีเหมือนกันฉะนั้นแล. เพราะเหตุนั้น 2 อุโบสถ

1. ปาฐะในอรรถกถาเป็น กลฺลโจเทตุํ วฏฺฏติ แต่น่าจะเป็น กลฺลํ โจทนาย โจเทตุํ วฏฺฏติ
แปลว่า สมควรเพื่อการโจท คือ ควรที่จะโจท.

คือ ที่ 3 กับที่ 4 หรือ 3 อุโบสถ คือ ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ควรทำให้เป็นจาตุททสี
หากว่าเมื่อทำอุโบสถที่ ซึ่งเป็นปัณณรสีอุโบสถ ภิกษุผู้ก่อความบาดหมางนั้น
ฟังด้วยไซร้ พึงทำอุโบสถที่ 5 ให้เป็นจาตุททสี. 2 อุโบสถย่อม เป็นจาตุททสี
แม้ด้วยประการอย่างนี้. เมื่อทำอย่างนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้น จักปวารณาสำหรับ
ปัณณรสีปวารสเาในวัน 13 ค่ำ หรือ 14 ค่ำ ของภิกษุผู้ก่อความบาดหมางกัน.
ก็แลเมื่อจะปวารณาอย่างนั้น พึงวางเหล่าสามเณรไว้ภายนอกสีมา ได้ฟังว่า
ภิกษุก่อความบาดหมางกันเหล่านั้นพากันมา พึงรีบประชุมกันปวารณาเสียเร็วๆ
เพื่อแสดงความข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุทั้ง
หลายผู้ก่อความบาดหมางกัน ทำความทะเลาะกัน ก่อการวิวาทกันทำความอื้อ
ฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ พากันสู่อาวาส, ภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้น พึงประชุม
ปวารณากันเสียเร็ว ๆ ครั้นปวารณาเสร็จแล้ว พึงพูดกะพวกเธอว่า ผู้มีอายุ
พวกเราปวารณาแล้วแล พวกท่านสำคัญอย่างใด จงกระทำอย่างนั้นเถิด.
บทว่า อสํวิหิตา มีความว่า ผู้มีได้จัดแจง คือมิได้ทำการตระเตรียม
เพื่อต้องการ จะให้ทราบการมา อธิบายว่า เป็นผู้อันพวกเจ้าถิ่นหาทันรู้ไม่.
สองบทว่า เตสํ วิกฺขิตฺวา มีความว่า พวกภิกษุผู้เจ้าถิ่นพึงทำให้
ตายใจเสีย โดยนัยเป็นต้นว่า พวกท่านเป็นผู้เหน็ดเหนื่อยมา จงพักเสียสักครู่
เถิด. แล้วลอบออกไปปวารณาเสียนอกสีมา.
บทว่า โน เจ ลเภถ มีความว่า หากว่า ไม่พึงได้เพื่อออกไปนอก
สีมาไซร้. เป็นผู้ถูกพวกสามเณรและภิกษุหนุ่ม ของเหล่าภิกษุ ผู้ก่อความบาด
หมางกัน คอยตามติดไปมิได้ขาดเลย.
สองบทว่า อาคเม ชุณฺเห มีความว่า ภิกษุทั้งหลายหมายเอา
ชุณหปักษ์ที่จะมาถึงใด ตั้งญัตติว่า เราทั้งหลายพึงปวารณาในชุณหปักษ์ที่จะ
มาถึง ดังนี้ ในชุณหปักษ์ที่จะมาถึงนั้น.

ข้อว่า โกมุทิยา จาตุมฺมาสินิยา อกามา ปวาเรตพฺพํ มีความว่า
ภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้น ต้องปวารณาแน่แท้ จะล่วงเลยวันเพ็ญที่ครบ 4 เดือน
ปวารณาย่อมไม่ได้เลย.
หลายบทว่า เตหิ เจ ภิกฺขเว ภิกฺขูหิ ปวาริยมาเน มีความว่า เมื่อ
สงฆ์อันภิกษุเหล่านั้น ปวารณาอยู่ ในวันเพ็ญที่ครบ 4 เดือน อย่างนั้น.

ปวารณาสงเคราะห์


สองบทว่า อญฺญตโร ผาสุวิหาโร ได้แก่ สมถะอย่างอ่อนหรือ
วิปัสสนาอย่างอ่อน.
ข้อว่า ปริพาหิรา ภวิสฺสาม มีความว่า เราทั้งหลาย เมื่อไม่
สามารถให้ภาวนานุโยคพร้อมมูลได้ เพราะความแตกแยกกันไปแห่งที่พักกลาง
คืนและที่พักกลางวันเป็นต้น ซึ่งไม่ประจำที่ จักเป็นผู้เหินห่าง จากธรรม
เครื่องอยู่สำราญนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการมอบฉันทะด้วยคำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย
ต้องประชุมในที่เดียวกันทั้งหมดทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า เตหิ เจ
ภิกฺขเว
เป็นอาทิ ก็เพื่อแสดงว่า จริงอยู่ การมอบฉันทะย่อมไม่ควรในฐานะ
เหล่านั้นคืน ในคราวที่ทำความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ผู้แตกกันหนึ่ง ในคราว
ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย 1 ในปวารณาสังคหะนี้ 1.
ก็ขึ้นชื่อว่าปวารณาสังคหะนี้ ไม่ควรให้แก่ภิกษุผู้ละทิ้งกัมมัฏฐานพวก
หนึ่ง ภิกษุผู้มีสมถะและวิปัสสนาแก่กล้าแล้วพวกหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอริยบุคคลมี
โสดาบันเป็นต้นพวกหนึ่ง ก็ภิกษุผู้ได้สมถะอย่างอ่อนและวิปัสสนาอย่างอ่อน
จะมีทั้งหมดหรือมีครึ่งจำนวนหรือมีบุคคลเดียวก็ตามที ปวารณาสังคหะนั้น