เมนู

ภิกษุมีพรรษาเท่ากัน ปวารณาพร้อมกันเท่านั้นไม่ควร. อนึ่ง เมื่อสวดประกาศ
ว่า เตวาจกํ ปวาเรยฺย แปลว่า สงฆ์พึงปวารณา 3 ครั้ง ดังนี้ ต้องปวารณา
3 ครั้งเท่านั้นจึงควร จะปวารณาอย่างอื่น หาควรไม่. เมื่อสวดประกาศว่า
เทฺววาจกํ ปวาเรยฺย แปลว่า สงฆ์พึงปวารณา 2 ครั้ง ดังนี้จะปวารณา
2 ครั้งหรือ 3 ครั้งก็ควร แต่จะปวารณาเพียงครั้งเดียว และปวารณา
มีพรรษาเท่ากันหาควรไม่. ก็เมื่อสวดประกาศว่า เอกวาจิกํ ปวาเชยฺย แปล
ว่า สงฆ์พึงปวารณาครั้งเดียว ดังนี้ จะปวารณาครั้งเดียว 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง
ก็ควร แต่จะปวารณามีพรรษาเท่ากันเท่านั้นหาควรไม่. เมื่อสวดประกาศว่า
สมานวสฺสกํ ปวาเรยฺย แปลว่า พึงปวารณามีพรรษาเท่ากัน ดังนี้ ย่อม
ควรทุกวิธี.
บทว่า อจฺฉนฺติ คือ เป็นผู้นั่งอยู่นั่นเอง หาลุกขึ้นไม่.
บทว่า ตทนนฺตรา คือตลอดกาลระหว่างปวารณานั้น
อธิบายว่า ตลอดกาลเท่าที่ตนจะปวารณานั้น.
วินิจฉัยในข้อว่า จาตุทฺทสิกา จ ปณฺณรสิกา จ นี้ พึงทราบ
ในดิถีที่ 14 พึงทำบุรพกิจอย่างนี้ว่า อชฺช ปวารณา จาตุทฺทสี
แปลว่า ปวารณาวันนี้ 14 ค่ำ ในดิถีที่ 15 พึงทำบุรพกิจอย่างนี้ว่า อชฺช
ปวารณา ปณฺณรสี แปลว่า ปวารณาวันนี้ 15 ค่ำ.

ปวารณากรรม


วินิจฉัยในปวารณากรรม พึงทราบดังนี้:-
ถ้าว่า เมื่อภิกษุ 5 รูปอยู่ในวัดเดียวกัน 4 รูปนำปวารณาของรูปหนึ่ง

มาแล้วทั้งคณญัตติ ปวารณา, เมื่อ 4 รูป หรือ 3 รูปอยู่ ในวัดเดียวกัน,
3 รูป หรือ 2 รูปนำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งสังฆญัตติแล้ว ปวารณา,
นี้จัด ว่าปวารณากรรมเป็นวรรคโดยอธรรมทั้งหมด. ก็ถ้าว่า ภิกษุ 5 รูปประชุม
พร้อมกันแม้ทั้งหมด ตั้งคณญัตติแล้ว ปวารณา; เมื่ออยู่ด้วยกัน 4 รูป หรือ 3
รูป หรือ 2 รูปประชุมพร้อมกันทั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา; นี้จัดว่าปวารณา
กรรมพร้อมเพรียงโดยอธรรมทั้งหมด. ถ้าว่า เมื่ออยู่ด้วยกัน 5 รูป 4 รูปนำ
ปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งสังฆญัตติแล้ว ปวารณา; เมื่ออยู่ด้วยกัน 4 รูป
หรือ 3 รูป, 3 รูป หรือ 2 รูปนำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งคณญัตติแล้ว
ปวารณา; นี้จัดว่าปวารณากรรมเป็นวรรคโดยธรรมทั้งหมด. แต่ถ้าว่า ภิกษุ 5
รูป ประชุมพร้อมกันแม้ทั้งหมด ตั้งสังฆญัตติแล้ว ปวารณา 4 รูป หรือ 3 รูป
ประชุมพร้อมกันทั้งคณญัตติแล้ว ปวารณา 2 รูปปวารณากะกันและกัน อยู่รูป
เดียว ทำอธิษฐานปวารณา นี้จัดว่าปวารณากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม
ทั้งหมด.

มอบปวารณา


วินิจฉัยในข้อว่า ทินฺนา โหติ ปวารณา นี้ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อภิกษุผู้อาพาธมอบปวารณาอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้นำปวารณามาพึงเข้า
ไปหาสงฆ์ปวารณาอย่างนี้ว่า ติสฺโส ภนฺเต ภิกฺขุ สงฺฆํ ปวาเรติ ทิฏฺเฐน
วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา, วทตุ ตํ ภนฺเต สงฺโฆ อนุกมฺปิ
อุปาทาย, ปสฺสน โต ปฏิกฺกริสฺสติ. ทุติยมฺปิ ภนฺเต เป ตติยมฺปิ
ภนฺเต ติสฺโส ภิกฺ สงฺฆํ ปวาเรติ ฯเปฯ ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสติ.

แปลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุชื่อติสสะปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี