เมนู

บทว่า ปสุสํวาสํ คือการอยู่ร่วมกันดังการอยู่ร่วมของเหล่าปศุสัตว์.
จริงอยู่ แม้เหล่าปศุสัตว์ย่อมไม่บอกความสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ตนแก่กันและ
กัน ไม่ทำการปฏิสันถารฉันใด แม้ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ทำฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น
ความอยู่ร่วมกันของภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นการอยู่
ร่วมกันดังการอยู่ร่วมของเหล่าปศุสัตว์ นัยในบททั้งปวงเหมือนกัน.
ข้อว่า น ภิกฺขเว มูควตฺตํ ติตฺถิยสมาทานํ เป็นต้น มีความว่า
ภิกษุไม่พึงกระทำการสมาทานวัตรเช่นนี้ว่า เราทั้งหลายไม่พึงพูดกันตลอด
ไตรมาสนี้. เพราะว่า นั่นเป็นกติกาที่ไม่ชอบธรรม.
ข้อที่ภิกษุมาผ่อนผันพูดกะกันและกัน ชื่อว่า อญฺฌมญฺญานุโลมตา.
จริงอยู่ ภิกษุย่อมเป็นผู้อาจว่ากล่าวอะไร ๆ กะภิกษุผู้สั่งไว้ว่า ขอท่านผู้มีอายุ
จงว่ากล่าวข้าพเจ้าเถิด, แต่หาอาจว่ากล่าวภิกษุนอกจากนี้ไม่ ความยังกันและกัน
ให้ออกจากอาบัติทั้งหลาย ชื่ออาปัตติวุฏฐานตา, ความที่ภิกษุมาทั้งพระวินัยไว้
เป็นหลักประพฤติ ชื่อว่าวินยปุเรกขารตา.
จริงอยู่ ภิกษุผู้กล่าวอยู่ว่า ขอท่านผู้มีอายุจงว่ากล่าวข้าพเจ้าเถิด ดัง
นี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจักออกจากอาบัติ และเธอย่อมตั้ง
พระวินัยไว้เป็นหลักอยู่

ปวารณาวิธี


ญัตติอันได้นามว่า สัพพสังคาหิกานี้ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ,
อชฺช ปวารณา, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโข ปวาเรยฺย
แปลว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าว่า ความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ดังนี้ ก็เมื่อสวดประกาศอย่าง
นี้แล้ว สงฆ์จะปวารณา 3 ครั้ง 2 ครั้ง และครั้งเดียวก็ควร แต่จะปวารณาให้

ภิกษุมีพรรษาเท่ากัน ปวารณาพร้อมกันเท่านั้นไม่ควร. อนึ่ง เมื่อสวดประกาศ
ว่า เตวาจกํ ปวาเรยฺย แปลว่า สงฆ์พึงปวารณา 3 ครั้ง ดังนี้ ต้องปวารณา
3 ครั้งเท่านั้นจึงควร จะปวารณาอย่างอื่น หาควรไม่. เมื่อสวดประกาศว่า
เทฺววาจกํ ปวาเรยฺย แปลว่า สงฆ์พึงปวารณา 2 ครั้ง ดังนี้จะปวารณา
2 ครั้งหรือ 3 ครั้งก็ควร แต่จะปวารณาเพียงครั้งเดียว และปวารณา
มีพรรษาเท่ากันหาควรไม่. ก็เมื่อสวดประกาศว่า เอกวาจิกํ ปวาเชยฺย แปล
ว่า สงฆ์พึงปวารณาครั้งเดียว ดังนี้ จะปวารณาครั้งเดียว 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง
ก็ควร แต่จะปวารณามีพรรษาเท่ากันเท่านั้นหาควรไม่. เมื่อสวดประกาศว่า
สมานวสฺสกํ ปวาเรยฺย แปลว่า พึงปวารณามีพรรษาเท่ากัน ดังนี้ ย่อม
ควรทุกวิธี.
บทว่า อจฺฉนฺติ คือ เป็นผู้นั่งอยู่นั่นเอง หาลุกขึ้นไม่.
บทว่า ตทนนฺตรา คือตลอดกาลระหว่างปวารณานั้น
อธิบายว่า ตลอดกาลเท่าที่ตนจะปวารณานั้น.
วินิจฉัยในข้อว่า จาตุทฺทสิกา จ ปณฺณรสิกา จ นี้ พึงทราบ
ในดิถีที่ 14 พึงทำบุรพกิจอย่างนี้ว่า อชฺช ปวารณา จาตุทฺทสี
แปลว่า ปวารณาวันนี้ 14 ค่ำ ในดิถีที่ 15 พึงทำบุรพกิจอย่างนี้ว่า อชฺช
ปวารณา ปณฺณรสี แปลว่า ปวารณาวันนี้ 15 ค่ำ.

ปวารณากรรม


วินิจฉัยในปวารณากรรม พึงทราบดังนี้:-
ถ้าว่า เมื่อภิกษุ 5 รูปอยู่ในวัดเดียวกัน 4 รูปนำปวารณาของรูปหนึ่ง