เมนู

วิหาร 46. เรื่องวันจำพรรษาต้น 47. เรื่องวันจำพรรษาหลัง 48. เรีองไม่มี
กิจจำเป็นหลีกไป 49่. เรื่องมีกิจจำเป็นหลีกไป 50. เรื่องพักอยู่ 2-3 วัน
51. เรื่องหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ 52. เรื่องยังอีก 7 วันจะถึงวันปวารณา
จะมาก็ตาม ไม่มาก็ตาม.
พึงพิจารณาแนวฉบับ ตามลำดับหัวข้อเรื่อง.
ในขันธกะนี้มี 5 เรื่อง

อรรถกถาอันตรายเป็นเหตุหลีกไป


บทว่า ปริปาเตนฺติปิ ความว่า พาลมฤดูทั้งหลายมาแล้วโดยรอบ
ย่อมให้หนีไปบ้าง ยังความกลัวให้เกิดขึ้นบ้าง ปลงเสียจากชีวิตบ้าง.
บทว่า อาวิสนฺติ คือปีศาจทั้งหลาย ย่อมเข้าสิงสรีระ.
วินิจฉัยในข้อว่า เยน คาโม เตน คนฺตุํ เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
ถ้าชาวบ้านเขาไปตั้งอยู่ไม่ไกล ภิกษุพึงเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนั้น
แล้ว กลับมายังวัด จำพรรษาเถิด. ถ้าชาวบ้านไปไกล ก็พึงรับอรุณในวัด
โดยวาระ 7 วัน ถ้าไม่สามารถเพื่อจะรับอรุณในวัดโดยวาระ 7 วันได้ ก็พึง
อยู่ในที่แห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกันในบ้านนั้นเถิด.
ถ้าว่ามนุษย์ทั้งหลาย ถวายสลากภัตเป็นต้นตามที่เคยมา พึงบอกกะ
เขาว่า เรามิได้อยู่ในวัดนั้น. แต่เมื่อเขาพากันกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย มิได้
ถวายแก่วัดหรือแก่ปราสาท พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งของพระผู้เป็นเจ้าก็
นิมนต์ฉันเถิด ดังนี้ ภิกษุพึงฉันได้ตามสบาย ภัตนั้นย่อมถึงพวกเธอแท้. ก็
เมื่อทายกเขากล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงแจกกันฉันในที่อยู่ของพระผู้

เป็นเจ้าเถิด ดังนี้ ภิกษุอยู่ ณ ที่ใด พึงนำไป ณ ที่นั้น แล้วพึงแจกกันตาม
ลำดับพรรษาฉันเถิด.
ถ้าพวกทายกถวายผ้าจำนำพรรษา ในเวลาที่ภิกษุปวารณาเสร็จแล้ว ผิ
ว่าภิกษุทั้งหลายรับอรุณโดยวาระ 7 วัน พึงรับ เถิด.. แด่ภิกษุผู้พรรษาขาด พึง
บอกว่า เราทั้งหลายมิได้จำพรรษาในวัดนั้น เราขาดพรรษา ถ้าเขากล่าวว่า
เสนาสนะของพวกข้าพเจ้า ท่านให้ถึงแก่พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใด พระผู้เป็นเจ้า
เหล่านั้น จงรับเถิด ดังนี้ ภิกษุควรรับ.
ส่วนของควรแจกกันได้ มีจีวรเป็นต้น ที่ภิกษุขนย้ายมาที่ในสถาน
ใหม่นี้ด้วยคิดว่า เก็บไว้ในวัดจะฉิบหายเสีย ควรไปอปโลกน์แจกกันในวัค
เติมนั้น.
นัยแม้ในของสงฆ์อันเกิดขึ้นในวัดนั้นเป็นต้นว่า นาและสวนที่ทายก
มอบให้ไว้แก่กัปปิยการกทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงถวายปัจจัย 4 แก่พระผู้
เป็นเจ้าทั้งหลายจากมูลค่าแห่งนาและสวนนี้. ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ก็ของสงฆ์ที่ควรแจกกันได้ จะอยู่ในภายในวัดหรือภายนอกสีมาก็ตาม
ที ของที่ควรแจกกันได้นั้น ไม่ควรอปโลกน์แจกแก่ภิกษุ ผู้ตั้งอยู่ภายนอกสีมา.
แต่ของสงฆ์ซึ่งเป็นของควรแจกกันได้ อันตั้งอยู่ในเขตทั้ง 2 สมควรแท้ที่จะ
อปโลกน์แจกแก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในภายในสีมา.
วินิจฉัยในข้อว่า สงฺโฆ ภินฺโน นี้ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว กิจที่ควรไปทำย่อมไม่มี แค่คำว่า แตกกัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาสงฆ์ที่ภิกษุระแวงว่า จะแตกกัน.
วินิจฉัยในข้อว่า สมฺพหุลาหิ ภิกฺขุนีหิ สงฺโฆ ภินฺโน นี้ พึง
ทราบดังนี้:-

บัณฑิตไม่พึงเห็นว่า สงฆ์อันภิกษุณีทั้งหลายทำลายแล้ว. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์หาได้ไม่.
ความระแวงอยู่ว่า อันภิกษุทั้งหลายพึงอาศัยภิกษุณีเหล่านั้น กระทำพวกเธอ
ให้เป็นกำลังอุดหนุนแล้ว พึงทำลายสงฆ์หมู่ใด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย
เอาสงฆ์หมู่นั้น ตรัสคำนี้ว่า สงฆ์อันภิกษุณีเป็นอันมากทำลายแล้ว.
สถานที่อยู่ของนายโคบาลทั้งหลาย ชื่อว่า พวกโคต่าง.
วินิจฉัยในข้อว่า เยน วโช นี้ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อภิกษุไปกับพวกโคต่างไม่เป็นอาบัติเพราะพรรษาขาด.
บทว่า อุปกฏฺฐาย คือใกล้เข้ามาแล้ว.
วินิจฉัยในข้อว่า สตฺเถ วสฺสํ อุปคนฺตุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ในวันเข้าพรรษา ภิกษุนั้นพึงบอกพวกอุบาสกว่า อาตมาได้กระท่อม
จึงจะควร
ถ้าอุบาสกทำถวาย พึงเข้าไปในกระท่อมนั้น แล้วกล่าวว่า อิธ วสฺสํ
อุเปมิ
เราเข้าพรรษาในที่นี้ ดังนี้ 3 ครั้ง.
ถ้าเขาไม่ทำถวายไซร้ พึงเข้าจำพรรษาในภายใต้เกวียน ที่ตั้งอยู่โดย
ท่วงทีอย่างศาลา. เมื่อไม่ได้แม้ซึ่งที่เช่นนั้น พึงทำความอาลัยเถิด. แต่จะเข้า
จำพรรษาในหมู่เกวียนไม่ควร. เพียงจิตตุปบาทที่คิดว่า เราจักจำพรรษาในที่
นี้ ก็จัดว่าอาลัย.
ถ้าว่าหมู่เกวียนยังเดินทางอยู่ ถึงวันปวารณาเข้า พึงปวารณาในหมู่
เกวียนนั้นนั่นแล.
ถ้าหมู่เกวียนถึงที่ที่ภิกษุปรารถนาแล้วในภายในพรรษาแล้วเลยไป ภิกษุ
พึงอยู่ในที่ที่คนปรารถนา แล้วปวารณากับภิกษุทั้งหลายในที่นั้นเถิด.

ถ้าแม้หมู่เกวียนหยุดอยู่ในบ้านแห่งหนึ่งก็ดี แยกกันไปก็ดี ในระหว่าง
ทางภายในพรรษานั้นเอง ก็พึงอยู่กับภิกษุทั้งหลายในบ้านนั้นแล แล้วปวารณา
เถิด. ยังไม่ได้ปวารณา จะไปต่อไปจากที่นั้นไม่ควร.
แม้เมื่อจะจำพรรษาในเรือ ก็ควรเข้าจำในประทุนเหมือนกัน เมื่อหา
ประทุนไม่ได้ พึงทำความอาลัยเถิด.
ถ้าเรืออยู่เฉพาะในทะเลตลอดภายใน 3 เดือน ก็พึงปวารณาในเรือนั้น
เถิด.
ลำดับนั้น ถ้าเรือถึงฝั่งเข้า ฝ่ายภิกษุนี้เป็นผู้ต้องการจะไปต่อไป จะไป
ไม่ควร พึงอยู่ในบ้านที่เรือจอดนั้นแล แล้วปวารณากับภิกษุทั้งหลายเถิด.
ถ้าแม้ว่าเรือจะไปในที่อื่นตามริมฝั่งเท่านั้น แต่ภิกษุอยากจะอยู่ในบ้าน
ที่เรือถึงเข้าก่อนนั้นแล เรือจงไปเถิด ภิกษุพึงอยู่ในบ้านนั้นแล แล้วปวารณา
กับภิกษุทั้งหลายเถิด.
ใน 3 สถาน คือ ในพวกโคต่าง ในหมู่เกวียน ในเรือ ไม่มีอาบัติ
เพราะขาดพรรษา ทั้งได้เพื่อปวารณาด้วยปวารณาฉะนั้นแล.
ส่วนในเรื่องทั้งหลาย มีเรื่องว่า ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เดือนร้อนด้วยสัตว์
ร้าย เป็นต้น มีสังฆเภทเป็นที่สุด ซึ่งมีมาแล้วในหนหลัง ไม่เป็นอาบัติอย่าง
เดียว แต่ภิกษุไม่ได้เพื่อปวารณา.
บทว่า ปีสาจิลฺลิกา คือปีศาจนั่นเอง ชื่อว่าปีศาจิลลิกา.
วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว รุกฺขสุสิเร นี้ พึงทราบดังนี้:-
จะจำพรรษาในโพรงไม้ล้วนเท่านั้นไม่ควร. แต่จะทำกุฎีมุงบังด้วย
แผ่นกระดานติดประตูสำหรับเข้าออกในภายในโรงโพรงไม้ใหญ่แล้ว จำพรรษา
ควรอยู่. แม้จะตัดต้นไม้ สับฟากปูเรียบไว้ ทำกระท่อมมีกระดานมุงบังบนตอ
ไม่แล้วจำพรรษาก็ควรเหมือนกัน .

วินิจฉัยแม้ในข้อว่า รุกฺขวิฏปิยา นี้ พึงทราบดังนี่ว่า:-
จะจำพรรษาสักว่าบนค่าคบไม้ล้วนไม่ควร. แต่ว่าพึงผูกเป็นร้านบน
ค่าคบไม้ที่ใหญ่ แล้วทำให้เป็นห้องมุงบังด้วยกระดานบนร้านนั้นแล้วจำพรรษา
เถิด.
บทว่า อเสนาสนเกน ความว่า เสนาสนะที่มุงแล้วด้วยเครื่อง
มุง 5 ชนิด1 ชนิดใดชนิดหนึ่ง ติดประตูสำหรับเปิดปิดได้ของภิกษุใดไม่มี
ภิกษุนั้นไม่ควรจำพรรษา.
วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ฉวกุฏิกาย นี้ พึงทราบดังนี้:-
กระท่อมต่างชนิด มีเตียงมีแม่แคร่เป็นต้น ชื่อกระท่อมผี. จะจำพรรษา
ในกระท่อมผีนั้นไม่ควร. ก็แค่ว่าจะทำกระท่อมชนิดอื่นในป่าช้า แล้วจำพรรษา
ควรอยู่.
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในข้อว่า น ภิกฺขเว ฉตฺเต นี้ ดังนี้ .
จะปักร่มไว้ใน 4 เสา ทำฝารอบ ติดตะปูไว้แล้ว จำพรรษาก็ควร.
กุฎีนั้นชื่อกุฎีร่ม.
วินิจฉัยแม้ในบทว่า จาฏิยา นี้ พึงทราบดังนี้:-
จะทำกุฎีด้วยกระเบื้องอย่างใหญ่ ตามัยที่กล่าวแล้วในเรื่องร่ม
จำพรรษาก็ควร.
เนื้อความแม้ในข้อว่า เอวรูปา กติกา นี้ มีดังนี้:-
กติกาแม้อื่นที่ไม่เป็นธรรมเช่นนี้อันใด กติกานั้นไม่ควรทำ. ลักษณะ
แห่งกติกานั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในมหาวิภังค์.

1. ฎีกาสารตฺถทีปนีว่า ปญฺจนฺนํ ฉทนานนฺติ ติณปณฺณอิฏฺ ฐกสิลาสุธาสงฺขาตานํ ปญฺจนฺนํ
ฉทนานํ.

ข้อว่า วสฺสาวาโส ปฏิสฺสุโต โหติ ปุริมิกาย มีความว่าพระ
อุปนนทศากยบุตร ได้ทำปฏิญญาว่า เราจักจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น ณ
อาวาสของท่านทั้งหลาย.
ข้อว่า ปุริมิกา จ น ปฌฺญายติ ความว่า การจำพรรษาในอาวาส
ซึ่งได้ปฏิญญาไว้หาปรากฏไม่.
วินิจฉัยในข้อว่า ปฏิสฺสเว จ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบ
ดังนี้:-
ย่อมเป็นอาบัติเพราะรับคำนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงจำพรรษาในที่นี้ตลอด
3. เดือนนี้ ดังนี้อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ ย่อมเป็นอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ
นั้น ๆ แม้โดยนัยเป็นต้น อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงรับภิกษาตลอด 3 เดือนนี้
ข้าพเจ้าแม้ทั้ง 2 จักอยู่ในที่นี้ จักให้แสดงรวมกัน. ก็ปฏิสสวทุกกฏนั้นแล
ย่อมมีเพราะเหตุคือแกล้งกล่าวให้คลาดในภายหลัง ของภิกษุผู้มีจิตบริสุทธิ์ใน
ชั้นต้น. แต่สำหรับภิกษุผู้มีจิตไม่บริสุทธิ์ในชั้นเดิม ควรปรับทุกกฏกับปาจิตตีย์
คือทุกกฏเพราะรับคำ ปาจิตตีย์เพราะแกล้งกล่าวให้คลาด.
วินิจฉัยในข้อทั้งหลายมีข้อว่า โส ตทเหว อกรณีโย เป็นต้น พึง
ทราบดังนี้:-
ถ้าว่าภิกษุไม่เข้าจำพรรษา หลีกไปเสียก็ดี เข้าจำพรรษาแล้วยัง 7 วัน
ให้ล่วงไปภายนอกอาวาส ก็ดี วันเข้าพรรษาต้นของเธอไม่ปรากฏด้วย เธอ
ต้องอาบัติเพราะรับคำด้วย. แต่ว่าไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เข้าพรรษาแล้ว ไม่
ทันให้อรุณขึ้น แม้หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะในวันนั้นทีเดียว กลับมาภายใน
7 วัน ก็ถ้อยคำที่ควรกล่าวอะไร จะพึงมีแก่ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว 2-3 วัน
สัตตาหะไปเสียแล้วกลับมาภายใน 7 วัน.

วินิจฉัยแม้ในข้อว่า ทฺวหติหํ วสิตฺวา นี้ พึงทราบดังนี้:-
พึงทราบว่า ขาดพรรษาเพราะล่วงอุปจาระไป ด้วยทอดอาลัยไปเสีย
ไม่ติดกลับเท่านั้น. ถ้ายังมีความอาลัยว่า เราจักอยู่ ณ ที่นี่ แต่ไม่เข้าพรรษา
เพราะระลึกไม่ได้ เสนาสนะที่เธอถือเอาแล้ว ก็เป็นอันถือเอาด้วยดี เธอไม่
ขาดพรรษา ย่อมได้เพื่อปวารณาแท้.
วินิจฉัยในข้อว่า สตฺตาหํ อนาคตาย ปวารณาย นี้ พึงทราบ
ดังนี้:-
ย่อมควรเพื่อจะไป จำเดิมแต่วันขึ้น 9 ค่ำ จะกลับมาก็ตาม ไม่กลับ
มาก็ตาม ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือเป็นคำตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

อรรถกถาวัสสูปนายิกขันธก จบ

ปวารณาขันธกะ


เรื่องภิกษุหลายรูป


[224] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ
พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ
มากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง
ในโกศลชนบท ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษากันว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ พวกเรา
จึงพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และ
จะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต ครั้นแล้วได้ปรึกษากันต่อไปว่า หากพวกเรา
จะไม่พึงทักทาย จะไม่พึงปราศรัยซึ่งกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้าน
ก่อน รูปนั้นพึงปูอาสนะจัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็คเท้าไว้
ล้าภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ รูปใด
บิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้อง
การ พึงฉัน ถ้าไม่ต้องการ ก็พึงเททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของสีเขียวสด
หรือเทล้างเสียในน้ำที่ปราศจากตัวสัตว์ รูปนั้นพึงรื้ออาสนะ พึงเก็บน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำ
ฉัน น้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อน้ำชำระ
ว่างเปล่า รูปนั้นพึงจัดหาไว้ หากภิกษุนั้นไม่สามารถพึงกวักมือเรียกเพื่อนมา
ช่วยเหลือกัน แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล พวกเรา
จึงจะพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก. และ
จะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้น ไม่ทักทายไม่ปราศรัย