เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน 3 รูป จะนำปาริสุทธิ.
ของภิกษุรูป 1 มา แล้ว 2 รูปทำปาริสุทธิอุโบสถไม่ได้ ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน 2 รูป จะนำปาริสุทธิ
ของภิกษุรูป 1 มา แล้วอีกรูป 1 จะอธิษฐานไม่ได้ ถ้าขืนอธิษฐาน ต้อง
อาบัติทุกกฏ.

อรรถกถาปาริสุทธิและฉันทะ


ข้อว่า กาเยน วิญฺญาเปติ มีความว่า ภิกษุผู้อาพาธย่อมให้รู้คือ
ย่อมให้ทราบการให้ปาริสุทธิ ด้วยอวัยวะใหญ่น้อยอันใดอันหนึ่งก็แลเมื่ออาจ
เปล่งวาจา ย่อมให้รู้ด้วยวาจา เมื่ออาจทั้ง 2 ประการ ย่อมให้รู้ทั้งกายวาจา.
ข้อว่า สงฺเฆม ตตฺถ คนฺตฺวา อุโปสโถ กาตพฺโพ มีความว่า
ถ้าภิกษุผู้อาพาธเช่นนั้นมีมาก สงฆ์พึงตั้งอยู่ตามลำดับกระทำภิกษุผู้อาพาธทั้ง
ปวงไว้ในหัตถบาส. ถ้าภิกษุผู้อาพาธมีในระยะไกล สงฆ์ไม่พอ วันนั้นไม่
ต้องทำอุโบสถ อันสงฆ์ผู้เป็นวรรคไม่พึงทำอุโบสถแท้.
ข้อว่า ตตฺเถว ปกฺกมติ มีความว่า ภิกษุผู้นำปาริสุทธิ ไม่มาสู่
ท่ามกลางสงฆ์ จะไปในที่บางแห่งจากที่นั้นที่เดียว.
ข้อว่า สามเณโร ปฏิชานาติ มีความว่า ภิกษุผู้นำปาริสุทธิ
ปฏิญญาอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเป็นสามเณร หรือบอกข้อที่ตนเป็นสามเณรจริง ๆ
หรือทั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณรในภายหลัง. ในบททั้งปวง ก็นัยนี้ .

ข้อว่า สงฺฆปฺปตฺโต ปกฺกมฺติ มีความว่า ภิกษุผู้นำปาริสุทธิถึง
หัตถบาสของภิกษุ รูปกำหนดอย่างต่ำที่สุด ผู้ประชุมกันเพื่อประโยชน์แก่
อุโบสถแล้ว หลีกไปเสีย. ในบททั้งปวงก็นัยนี้ .
ก็แล้ววินิจฉัยในการนำปาริสุทธินี้ พึงทราบดังนี้:-
ปาริสุทธิของภิกษุผู้มากรูป อันภิกษุรูป 1 นำมาแล้ว เป็นอันนำมา
แล้วแท้. แต่ถ้าภิกษุผู้นำนั้น พบภิกษุอื่นในกลางทาง จึงให้ปาริสุทธิของภิกษุ
ทั้งหลายที่ตนรับมาด้วย ปาริสุทธิของตนด้วยปาริสุทธิของภิกษุผู้นำนั้นเท่านั้น
ย่อมมา ส่วนปาริสุทธินอกจากนี้จัดเป็นปาริสุทธิดังใช่ล่ามแมว ปาริสุทธินั้น
ย่อมไม่มา.
ข้อว่า สุตฺโต น อาโรเจติ มีความว่า ภิกษุผู้นำปาริสุทธินั้นมาแล้ว
หลับเสีย ไม่บอกว่า ปาริสุทธิ อันภิกษุโน้นให้แล้วเจ้าข้า.
วินิจฉัยในข้อว่า ปาริสุทฺธิหารกสฺส อนาปตฺติ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิ แกล้งไม่บอก เธอต้องทุกกฏ ส่วนปาริสุทธิ
เป็นอันนำมาแล้วแท้. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่เธอ เพราะมิได้แกล้งไม่บอก และ
อุโบสถของเธอทั้ง 2 รูป เป็นอันทำแล้วเหมือนกัน.
วินิจฉัยในการให้ฉันทะเล่า ย่อมเป็นเช่นกับวินิจฉัยที่กล่าวแล้วในการ
ให้ปาริสุทธินั่นแล.
วินิจฉัยในข้อว่า ปาริสุทฺธึ เทนฺเตน ฉนฺทมฺปิ ทาตุํ นี้ พึงทราบ
ดังนี้:-
หากว่า ภิกษุผู้อาพาธให้ปาริสุทธิเท่านั้น ไม่ให้ฉันทะ อุโบสถย่อม
เป็นอันสงฆ์ทำแล้ว แต่สงฆ์ทำกรรมอันใด กรรมอื่นนั้นไม่เป็นอันสงฆ์ได้ทำ.
ภิกษุผู้อาพาธให้แต่ฉันทะเท่านั้น ไม่ให้ปาริสุทธิ ทั้งอุโบสถทั้งกรรมของภิกษุ

สงฆ์ เป็นอันสงฆ์ทำแล้วแท้ แต่อุโบสถของภิกษุผู้ให้ฉันทะ ไม่จัดว่าอันเธอ
ได้ทำเลย. ถ้าแม้ภิกษุบางรูป อธิษฐานอุโบสถในแม่น้ำ หรือในสีมาแล้ว จึง
มา เธอย่อมไม่ได้เพื่อจะอยู่เฉยด้วยคิดว่า เราทำอุโบสถแล้ว ต้องให้สามัคคี
หรือฉันทะ.
ข้อว่า สรติปิ อุโปสถํ นปิ สรติ มีความว่า บางคราวก็ระลึก
ได้ บางคราวก็ระลึกไม่ได้.
ข้อว่า อตฺถิ เนว สรติ มีความว่า ภิกษุบ้ารูปใด ระลึกไม่ได้เสีย
เลยโดยส่วนเดียว กิจที่จะต้องให้สมมติแก่ภิกษุบ้ารูปนั้น ย่อมไม่มี.
หลายบทว่า โส เทโส สมฺมชฺชิตฺวา ได้แก่ พึงกวาดประเทศนั้น.
สองบทว่า โส เทโส เป็นปฐมมาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.
คำว่า ปานียํ ปริโภชนียํ เป็นอาทิ มีเนื้อความชัดแล้ว. ก็เพราะ
เหตุไรเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสดำนั้นไว้ ? เพื่อแสดงกิจมีบุพพกรณ์เป็น
ต้นแห่งอุโบสถ. เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า:-
การปัดกวาด ตามประทีป ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ พร้อมทั้งปูลาดอาสนะ
เหล่านี้ เรียกว่า บุพพกรณ์ของอุโบสถ.
กรรม 4 อย่างนี้ ท่านเรียกว่า บุพพกรณ์ ด้วยประการฉะนี้.
นำฉันทะ ปาริสุทธิ บอกฤดู นับภิกษุ สอนนางภิกษุณี เหล่านี้
บุพพกิจแห่งอุโบสถ.
กรรม 5 อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า บุพพกิจ เพราะจะต้องทำภายหลัง
บุพพกรณ์.
วันอุโบสถ 1 ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร 1 สภาคาบัติไม่มี 1
บุคคลควรเว้นไม่มีในหัตถบาสสงฆ์นั้น 1 รวมเรียกว่า ปัตตกัสละ แปลว่า
ความพรั่งพร้อมถึงที่.

ลักษณะ 4 ประการนี้ ท่านเรียกว่า ปัตตกัสละ.
ข้อว่า เตหิ สทฺธึ มีความว่า พึงทำบุพพกรณ์เป็นต้นเหล่านี้ แล้ว
ทำอุโบสถกับภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้วเหล่านั้น.
วินิจฉัยในข้อว่า อชฺช เม อุโปสโถ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ถ้าเป็นวัน 15 ค่ำ จะอธิษฐานว่า อชฺช เม อุโปสโถ ปณฺณรโส
แปลว่า วันนี้อุโบสถวัน 15 ค่ำของเรา ดังนี้บ้าง ก็ควร. แม้ในอุโบสถวัน
14 ค่ำ ก็นัยนี้แล.
คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวไม่พึงทำ
อุโบสถ นี้ บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า ข้อนั้นเป็นอันพระองค์ทรงบัญญัติ
แล้ว ด้วยคำว่า ยสฺส สิยา อาปตฺติ เป็นอาทิ 1 ด้วยบัญญัติการให้ปาริสุทธิ
อุโบสถ 1.

อรรถกถาปาริสุทธิและฉันทะ จบ

แสดงอาบัติก่อนทำอุโบสถ


[186] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูป 1 ต้องอาบัติในวันอุโบสถ เธอ
ได้มีความปริวิตกในขณะนั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมี
อาบัติติดตัวไม่พึงทำอุโบสถ ดังนี้ ก็เราเป็นผู้ต้องอาบติแล้ว จะพึงปฏิบัติ
อย่างไรหนอ จึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ ต้องอาบัติในวันอุโบสถ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา
ภิกษุรูป 1 ห่มผ้าอุคราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า แน่ะเธอ ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น.
ภิกษุผู้รับพึงถามว่า ท่านเห็นหรือ ?
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า ครับ ผมเห็น.
ภิกษุผู้รับพึงบอกว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป.

สงสัยในอาบัติ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้มีความสงสัยในอาบัติ ในวัน
อุโบสถภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูป 1 ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง
ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเธอ ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้
จักหมดสงสัยเมื่อใด จักทำคืออาบัตินั้นเมื่อนั้น ครั้นแล้ว พึงทำอุโบสถ ฟัง
ปาติโมกข์แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่สงสัยนั้นเป็นปัจจัย.