เมนู

อรรถกถาอัชเฌสนา


บทว่า อนชฺฌิฏฺฐา ได้แก่ ไม่ได้รับบัญชา หรือไม่ได้รับเชิญ.
ก็ในอัชเฌสนาธิการนี้ การเชิญ เนื่องด้วยภิกษุผู้เชิญแสดงธรรมซึ่ง
สงฆ์สมมติก็มี เนื่องด้วยพระสังฆเถระก็มี. เมื่อภิกษุผู้เชิญแสดงธรรมนั้นไม่มี
ภิกษุเรียนพระสังฆเถระแล้ว หรืออันพระสังฆเถระอัญเชิญแล้ว ย่อมได้เพื่อ
กล่าวธรรม.
พระสังฆเถระเล่า ถ้าในวัดที่อยู่มีพระธรรมถึกมาก, พึงสั่งตามลำดับ
วาระ. ภิกษุผู้ซึ่งท่านสั่งว่าเธอจงสวดธรรม ก็ดี ว่า เธอจงแสดงธรรม ก็ดี ว่า
เธอจงให้ธรรมทาน กีดี พึงกล่าวธรรมได้ทั้ง 3 วิธี แต่ภิกษุผู้ได้รับคำสั่งว่า จง
สวด ย่อมได้เพื่อสวดเท่านั้น ผู้ได้รับคำสั่งว่า จงแสดง ย่อมได้เพื่อแสดง
เท่านั้น ผู้ได้รับคำสั่งว่า จงสวดสรภัญญะ ย่อมได้เพื่อสวดสรภัญญะเท่านั้น.
ฝ่ายพระเถระเล่า ผู้นั่งบนอาสนะสูงกว่า ย่อมไม่ได้เพื่ออัญเชิญ. ถ้า
พระสังฆเถระเป็นอุปัชฌาย์ และพระธรรมกถึกเป็นสัทธิวิหาริก และพระ-
อุปัชฌาย์นั่งบนอาสนะสูง สั่งสัทธิวิหาริกนั้นว่าเธอจงสวด. พึงตั้งใจสาธยาย.
แล้วสวดเถิด. แต่ถ้าในสำนักอุปัชฌาย์นี้ มีภิกษุหนุ่มมาก, พึงตั้งใจว่า เราสวด
แก่ภิกษุเหล่านั้น แล้วสวดเถิด.
ถ้าพระสังฆเถระในวัดที่อยู่ให้สวดแต่นิสิตของตนเท่านั้น ไม่อัญเชิญ
ภิกษุเหล่าอื่นที่สวดไพเราะบ้าง ภิกษุเหล่าอื่นพึงเรียนท่านว่า ท่านผู้เจริญ
พวกผมขอให้ภิกษุชื่อโน้นสวด. ถ้าท่านตอบ สวดเถิด หรือท่านนิ่งเสีย สมควร
ให้สวดได้. แต่ถ้าท่าห้าม ไม่ควรให้สวด.
หากว่า เริ่ม ธรรมสวนะ แต่เมื่อพระสังฆเถระยังมิได้มา. เมื่อท่าน
มากลางคัน กิจที่จะต้องหยุดขอโอกาส ไม่มี.